ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 27


-นาม อู การานตฺ พยางค์เดียว

-นาม อูการานตฺเพศหญิง (หลายพยางค์)


1. นาม อู การานตฺ พยางค์เดียว

การแจกคล้ายกับที่ผ่านๆ มา ในที่นี่ยก ภู (เพศหญิง) แปลว่า แผ่นดิน

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   ภูสฺ

   ภูเวา

   ภุวสฺ

กรฺตฺฤ

   ภูสฺ

   ภูเวา

   ภุวสฺ

กรฺม

   ภุวมฺ

   ภูเวา

   ภุวสฺ

กรฺณ

   ภุวา

   ภูภฺยามฺ

   ภูภิสฺ

สมฺปฺรทาน

   ภุเว

   ภุไว

   ภูภฺยามฺ

   ภูภฺยสฺ

อปาทาน

   ภุวสฺ

   ภุวาสฺ

   ภูภฺยามฺ

   ภูภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

   ภุวสฺ

   ภุวาสฺ

   ภุโวสฺ

   ภุวามฺ

   ภูนามฺ

อธิกรณ

   ภุวิ

   ภุวามฺ

   ภุโวสฺ

   ภูษุ


2. คำนาม เพศหญิง อู การานฺต หลายพยางค์ แจกแบบ วธู (ผู้หญิง)

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   วธุ

   วธฺเวา

   วธฺวสฺ

กรฺตฺฤ

   วธูสฺ

   วธฺเวา

   วธฺวสฺ

กรฺม

   วธูสมฺ

   ภูเวา

   วธูสฺ

กรฺณ

   วธฺวา

   วธูภฺยามฺ

   วธูภิสฺ

สมฺปฺรทาน

   วธฺภไว

   วธูภฺยามฺ

   วธูภฺยสฺ

อปาทาน

   วธฺวาสฺ

   วธูภฺยามฺ

   วธูภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

   วธฺวาสฺ

   วธฺโวสฺ

   วธูนามฺ

อธิกรณ

   วธฺวามฺ

   วธฺโวสฺ

   วธูษุ


ศัพท์

นาม

  • อติถิ ปุ. แขก ผู้มาเยือน
  • อนฺฤต นปุ. ความเท็จ สิ่งที่ไม่จริง
  • อภฺยาส ปุ. การเรียน การท่อง
  • อาเทศ ปุ. คำสั่ง บทบัญญัติ
  • ชุหู ส. ช้อน (โดยเฉพาะในพิธีสังเวย)
  • ปาฐ ปุ. บทเรียน
  • ปฺรชา ส. สัตว์โลก ประชาชน ลูกหลาน
  • ภู ส. โลก พื้นดิน
  • ภูษณ นปุ. เคีรื่องประดับ
  • ภฺรู ส. คิ้ว (ในวรรณคดีพูดถึงบ่อย)
  • วธู สฺ สตรี ภรรยา
  • เวทิ ส. เวที แท่นบูชา ศาล
  • ศฺวศฺรู ส. แม่ย่าย แม่สามี
  • สฺตุติ ส. เพลงสรรเสริญ การสรรเสริญ 
  • สฺนุษา ส. ลูกสะใภ้

คุณศัพท์

  • อปร ปุ.นปุ.   อปรา ส. ต่ำกว่า อื่นๆ
  • ปร ปุ.นปุ.     อปรา สูงสุด อื่นๆ
  • วกฺร ปุ นป    วกฺรา ส. งอ โค้ง
  • สุนฺทร ปุนปุ  สุนฺทรี ส. สวยงาม

ศัพท์ไม่แจกรูป

  • อธสฺตาตฺ ด้านล่าง ใต้ (ใช้กับสัมพันธารก)
  • จิรมฺ        นาน
  • ธีรฺฆมฺ     ไกล
  • มา          อย่า
  • หรสฺวมฺ    ใกล้


แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

धर्मं चरत माधर्मं सत्यं वदत मानृतम्.

दीर्घं पश्यत मा ह्रस्वं परं पश्यत मापरम्  ॥1॥ 

  • जयतु महाराजश्चिरं च कृत्स्नां भुवमधितिष्ठतु ॥1॥
  • प्रयागं गच्छतं सुखेने च तत्र निवसतम् ॥2॥
  • सुन्दर्या (gen.) भ्रुवौ वक्रे दृश्येते ॥3॥
  • गुरव आसने निषीदन्तु भुवि शिष्याः ॥4॥
  • स्नुषाभिः सह श्वश्रूणां कलहः प्रावर्तत ॥5॥
  • हे क्षत्रियाः कुन्तान्क्षिपतेषून्मुञ्चत पापाञ्शत्रून्दण्डयतेति क्रोधान्नृपतिरभाषत ॥6॥
  • अतिथिं पृच्छतु रत्रौ कुत्र न्यवस इति ॥7॥
  • श्व्श्र्वाः कोपच्छोचतः स्नुषे॥8॥
  • वध्वाः स्निह्यत्यृषिः ॥9॥ 
  • पाठस्याभ्यासाय शिष्यावागच्छतामिति गुरोराज्ञा ॥10॥
  • जुह्वाग्नौ घृतं प्रास्यानि ॥11॥
  • हे वधु वाप्या जलमानय ॥12॥
  • जुह्वां घृतं तिष्ठति ॥13॥
  • भ्रुवोरधस्तान्नेत्रे वर्तेते ॥14॥
2. แปลไทยเป็นสันสกฤต
  1. บทสดุดีแห่งพระอินทราณีถูกขับโดยหญิงทั้งหลาย
  2. "ท่านจงท่องคัมภีร์ศรุติและศาสตร์ทั้งหลาย จงกล่าวความจริง จงบูชาครู" นี้คือ(อิติ)* บทบัญญัติแห่งศาสตร์ทั้งหลายเพื่อนักเรียนทั้งหลาย
  3. ธรรมะไม่ถูกละเมิด ด้วยว่า (อิติ) "ขอพระราชาจงปกป้องประชากร(พหุ.) และลงโทษคนชั่ว"
  4. ดูก่อน หญิงทั้งหลาย จงนับถือแม่สามีของเจ้า
  5. สารถีจงอย่าตีหรือทรมานม้าทั้งหลาย
  6. สาวใช้ทั้งสองถูกพระราชินีสั่งว่า "จงนำแก้วมณีทั้งหลายมา"
  7. เราจงเทน้ำด้วยทัพพีทั้งสองบนแท่นบูชา
  8. นักรบทั้งสองกล่าวแล้ว(กรรมวาจก) ว่า "เรามาเล่นสกาด้วยเงินเถิด"
  9. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องทำพิธีอุปนยนะบุตรทั้งสอง
  10. คนทั้งหลายจงขุดบ่อน้ำ
 * ข้อความในเครื่องหมายคำพูด จะอยู่หน้า "อิติ" ทุกข้อ

หมายเลขบันทึก: 514381เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2012 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)

มาสวัสดีปีใหม่ใกล้มาถึงนะครับ  มีความสุขมาก ๆ   อ่านแล้วนึกถึงครู  คือ  ท่านอาจารย์  ดร. จีรพัฒน์  แห่ง ม. ศิลปากร  ท่านพร่ำสอนวิชานี้ละ

ขอบพระคุณมากครับ สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ 

ผมก็เรียนกับท่านอาจารย์จิรพัฒน์เหมือนกันครับ ;)

หมอเปิ้น มาให้กำลังใจ ท่าน อาจารย์ค่ะ .... ชอบค่ะ แต่ยากไปกับหมอเปิ้นนะคะ ... ปีใหม่ ขอให้สิ่งใหม่ๆๆ สิ่งดีๆ  เกิดกับท่านนะคะ

 มสฺยคนฺธ = ผู้มีกลิ่นเหมือนดั่งคาวปลา

โยชนคนฺธ = ผู้มีกลิ่นหอมไปไกลหลายโยชน์

คนฺธวตี = ผู้มีกลิ่นหอม (เพศหญิง)

จากสามชื่อข้างบนของพระนางสัตยวตีในมหาภารตะนี้ เห็นแล้วก็เกิดความสงสัยใคร่รู้คะว่า ดูแล้วเป็นคำนามแต่ไม่เห็นว่าจะมีการแจกรูปหรือทำปฎิกริยาอะไรกันเลย คือเหมือนกับแค่เอาคำนามสองคำนั้นมาเรียงต่อกันเฉยๆก็ก่อเกิดเป็นความหมายแล้ว ถ้าเช่นนั้นหนูเรียงอย่างนี้ได้ไหมค่ะว่า ปทฺมคนฺธ = ผู้มีกลิ่นหอมเหมือนดอกบัว ?

ลักษณะคำแบบนี้ในสันสกฤตเห็นมาเยอะมากๆคะ ..

ขอบพระคุณมากครับ พี่ Dr. Ple

ขอสวัสดีปีใหม่ ด้วยเช่นกันครับ

 คำนามที่ยกมา เป็นสมาส ครับ คือการนำคำนามมาเรียงกันเป็นคำใหม่

คนฺธ(กลิ่น) วตฺ(ผู้มี) = คนฺธวตฺ ลง อี ทำเป็นเพศหญิง = คนฺธวตี

ปทุมคนฺธ ควรแปลว่า กลิ่นเหมือนดอกบัว แต่จะแปลว่า ผู้มี กลิ่นเหมือนดอกบัวก็ได้

ถ้าใช้ ปทุมคนฺธวตี แบบนี้ชัดกว่า

จริงๆ แล้ว สมาสเราจะเรียนตอนท้ายๆ แต่อาจจะนานไป ไว้ค่อยมาเล่าหลังปีใหม่ครับ


มาส่งความสุขปีใหม่ ๒๕๕๖ ค่ะ ขอให้คุณ ธ.วัชชัยมีพลังในการสร้างสรรค์เผยแพร่สิ่งดีดี มีประโยชน์ตลอดปีใหม่ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ คุณ ...ปริม ทัดบุปผา...

ขอให้มีความสุข สดชื่น แข็งแรงตลอดไปนะครับ


สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์ธ.วัชชัย ครับ

  • สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ...ขอให้อาจารย์.ธ.และครอบครัว มีความสุข ความสมหวังตลอดปีและตลอดไปครับ

แจกรูปคำนามใกล้จะหมดแล้ว พอหมดแล้วก็ไปแจกสรรพนามคล้ายๆกับการแจกคำนามเยอะแยะอย่างนี้เลยเหรอค่ะ

พอแจกสรรพนามเสร็จแล้วไปแจกอะไรต่อคะ ที่มันเยอะๆแบบนี้อีก อยากทราบไว้ก่อน 

อาจารย์อย่าเพิ่งแจกไม้เรียวนะค่ะ ..อิอิ

สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ คุณ แสงแห่งความดี และคุณ สามสัก(samsuk)

ขอบคุณมากครับ ขอให้มีความสุข สมหวัง และสุขภาพแข็งแรงทุกท่านนะครับ


คุณศรีฯ

ก็มีแจกนามไปอีกสักหน่อย อิๆๆ ที่นี้นามคำหนึ่งแปลงร่างเป็นสามรูป แล้วจึงแจก

ไม้เรียวยังไม่แจกครับ แต่ว่า การบ้านให้แปลสันสกฤตเป็นไทยก่อนนะครับ

เพราะประโยคสันสกฤตที่ให้ไว้นี้เป็นตัวอย่างสำหรับการแต่งประโยคในการแปลไทยเป็นสันสกฤตต่อไป



Happy New Year  2013

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก 

จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงประสบความสุขด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ 

คิดหวังสิ่งใดขอให้และสมปรารถนาทุกประการ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

नव वर्ष ....शुभमस्तु !

เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ในปี ๒๕๕๖ นี้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลจงอำนวยอวยพรให้ครูมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ  คิดหวังสิ่งใดๆก็ขอให้เป็นไปตามประสงค์ อย่าให้ต้องมีสิ่งขัดข้องหมองใจ อยู่ให้ความรู้ในศาสตร์ต่างๆแก่ผู้ที่ศึกษาและสนใจตลอดไปนานเท่านาน ..สวัสดีปีใหม่คะ

( ศรี ฯ.. )

สวัสดีปีใหม่ ขอส่งความสุขแด่ทุกๆ ท่าน

ขอขอบคุณ คุณ KRUDALA และคุณศรีฯ

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ท่าน

และบุคคลที่รัก จงมีความสุขความเจริญ ประสบความสำเร็จ และมีสุขภาพดีตลอดไปนะครับ

http://www.youtube.com/watch?v=j5AtnIUBlyg

ไปเจอวีดีสอนสันสกฤตเรื่องกริยามาคะ ดูท่าจะปวดหัวน่าดู อิอิ

สวสดีปีใหม่ ครับ

ขอให้พบพานกับสิ่งดีงาม
และเป็นที่รักของผู้คน นะครับ

 สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ขออวยพรให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

มีความสุขกับการทำงาน

ขอบคุณ และชื่นชมในความตั้งใจอนุรักษ์ และเผยแพร่ภาษาค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอก๊อปปี้คำอวยพรของอาจารย์เอื้องแซะคนสวยมอบให้ด้วย ตรงใจมากค่ะ

ท่าทางจะชอบแมวหรือคะ อยากได้ของขวัญปีใหม่เป็นแมวไหมคะ มีมาป้วนเปี้ยนกันที่บ้านพี่หลากสีเลยค่ะ ^____^

ไปเที่ยวมาคะ เลยส่งช้าไปหน่อย .. รบกวนอาจารย์แยกสนธิให้ดูด้วย ส่วนสุภาษิตจะส่งตามหลังมาอีกทีคะ

  • जयतु महाराजश्चिरं च कृत्स्नां भुवमधितिष्ठतु ॥1॥ ขอชัยชนะจงมีแด่พระมหาราชานานเท่านานและขอให้พระองค์ทรงขึ้นปกครองเหนือแผ่นดินทั้งหมด

  • प्रयागं गच्छतं सुखेने च तत्र निवसतम् ॥2॥ ท่านทั้งสองจงไปถึงซึ่งเมืองประยาคและจงอาศัยอยู่ที่นั่นด้วยความสุข

  • सुन्दर्या (gen.) भ्रुवौ वक्रे दुश्येते ॥3॥ คิ้วทั้งสองนั้นแลดูโค้งเว้าสวยงาม ข้อนี้งงตรง ภฺรุเวา

  • गुरव आसने निषीदन्तु भुवि शिष्याः ॥4॥ ครูและศิษย์ทั้งหลายจงนั่งลงที่บนอาสนบนพื้นแผ่นดินนี้

  • स्नुषाभिः सह स्वश्रूणां कलहः प्रावर्तत ॥5॥ เรื่องทะเลาะวิวาทจงเกิดขึ้น (ระหว่าง) แม่สามีกับลูกสะใภ้ทั้งหลาย
  • ข้อนี้เทวนาครีเขียนผิดหรือเปล่าไม่รู้ สฺวศฺรูณำ

  • हे क्षत्रियाः कुन्तान्क्षिपतेषून्मुञ्चत पापाञ्शत्रून्दण्डयतेति क्रोधान्नृपतिरभाषत ॥6॥ อันนี้ถอดสนธิได้แต่แปลแล้วงงๆมากคะ มันรู้จะเอาอันไหนขึ้นก่อนดี

  • अतिथिं पृच्छतु रत्रौ कुत्र न्यवस इति ॥7॥ จงถามแขกว่าจงพักที่ไหนในตอนกลางคืน

  • श्व्श्र्वाः कोपच्छोचतः स्नुषे॥8॥ -

  • वध्वाः स्निह्यत्यृषिः ॥9॥ ฤาษีได้หลงรักภรรยาหลายคน (ข้อนี้ งงคำกริยาคะ )
  •  
  • पाठस्याभ्यासाय शिष्यावागच्छतामिति गुरोराज्ञा ॥10॥ ศิษย์ทั้งหลายจงเข้าใจกาเรียนตามคำสั่งจากครู

  • जुह्वाग्नौ घृतं प्रास्यानि ॥11॥ ฉันจะใส่เนยใสนั้นลงไปในไฟด้วยช้อน

  • हे वधु वाप्या जलमानय ॥12॥ โอ้ แม่หญืง เจ้าจงไปนำน้ำมาจากแหล่งน้ำ

  • जुह्वां घृतं तिष्ठति ॥13॥ เนยใสนั้นอยู่ในช้อนสังเวย

  • भ्रुवोरधस्तान्नेत्रे वर्तेते ॥14॥ คิ้วทั้งสองดำรงอยู่ที่บนดวงตา
อย่างคำสาปอะไรทำนองนี้เข้าทำนองอาชญมาลาได้ไหมค่ะ


สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์แผ่นดิน อาจารย์เอื้องแซะ และคุณพี่นุช

ขอพรปีใหม่อันประเสริฐแด่ทุกท่านให้มีความสุขตลอดปีและตลอดไปนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ

อะ แปลได้แล้วทำไมยังงงอยู่, แยกสนธิให้เฉพาะข้อที่ติดกันมาก ถ้าตรงไหนต้องการให้แยกเพิ่มก็บอกด้วย

  • जयतु महाराजश्चिरं च कृत्स्नां भुवमधितिष्ठतु ॥1॥ ขอชัยชนะจงมีแด่พระมหาราชานานเท่านานและขอให้พระองค์ทรงขึ้นปกครองเหนือแผ่น ดินทั้งหมด
  • ชยตุ มหาราชสฺ จิรมฺ จ กฺฤตฺสนามฺ ภุวมฺ อธิติษฺฐตุ.
  • ควรแปลว่า ขอ(ให้)พระราชาจงมีชัยชนะ...  ถ้าขอชัยชนะจงมีแด่ จะเป็น "มหาราชาย ชโย ภวตุ."
  • प्रयागं गच्छतं सुखेने च तत्र निवसतम् ॥2॥ ท่านทั้งสองจงไปถึงซึ่งเมืองประยาคและจงอาศัยอยู่ที่นั่นด้วยความสุข. น่าจะเป็น ท่านทั้งสองจงไปถึงซึ่งเมืองประยาคด้วยความสุข (โดยสวัสดิภาพ)..  เพราะ จ คั่นอยู่. แต่ถ้าเป็นร้อยกรอง จะแปลอย่างไรก็ได้ให้เหมาะความ (คงไม่ต้องแยกสนธิแล้ว)
  • सुन्दर्या (gen.) भ्रुवौ वक्रे दृश्येते ॥3॥
  • ภฺรู > ภฺรุเวา ทวิพจน์ (อูการานต์พยางค์เดียว แจกแบบ ภู ส. แผ่นดิน). คิ้วทั้งสองของหญิงงามนั้นดูโค้ง. สุนฺทรฺยาสฺ (สนธิแล้ว สฺ หายไป) เป็นคำขยาย ภฺรุเวา จึงแปลว่า ดูโค้งและสวยงาม ไม่ได้. (แก้ ทุศฺเยเต เป็น ทฺฤศฺเยเต ด้วยครับ)  ทฺฤศฺ+ยะ + อิเต(อาตมเนบท ปัจจุบัน ทวิพจน์) 
  • गुरव आसने निषीदन्तु भुवि शिष्याः ॥4॥ ครูและศิษย์ทั้งหลายจงนั่งลงที่บนอาสนบนพื้นแผ่นดินนี้
  • ประโยคนี้ เขาตั้งใจจะสอนเราว่า กริยาในประโยคภาษาสันสกฤต บางครั้งใช้ซ้ำเป็นสองประโยค คือ
  • ครูทั้งหลายจง(โปรด)นั่งบนอาสนะ, ศิษย์ทั้งหลายจงนั่งบนพื้น. คือใช้กริยา นิษีทนฺตุ กับประธาน ศิษฺยาสฺ ด้วย
  • स्नुषाभिः सह श्वश्रूणां कलहः प्रावर्तत ॥5॥ เรื่องทะเลาะวิวาทจงเกิดขึ้น (ระหว่าง) แม่สามีกับลูกสะใภ้ทั้งหลาย
  • สฺวศฺรูณำ แก้เป็น ศฺวศฺรูณำ ครับ
  • ข้อนี้ต้องดูให้ดี คือกริยาอาจจะงงๆ ฉะนั้นดูประธาน กลหะ เป็นเอกพจน์ กริยาต้องเป็นเอกพจน์ ปรฺาวรฺตต ควรนึกถึงอดีตกาลธรรมดา ปฺรา ตรงนั้นก็คืออุปสรรค ปฺร , ปฺร+อะ+วฺฤตฺ (เกิดขึ้น) จึงต้องแปลว่า
  • การทะเลาะของแม่สามีทั้งหลายกับลูกสะใภ้ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว. คำบอกความเป็นเจ้าของอยู่ข้างหน้า เราจึงแปล श्वश्रूणां ต่อจาก कलहः
  • हे क्षत्रियाः  कुन्तान्क्षिपतेषून्मुञ्चत  पापाञ्शत्रून्दण्डयतेति क्रोधान्नृपतिरभाषत ॥6॥
  • "हे क्षत्रियाः / कुन्तान् क्षिपत / इषून् मुञ्चत / पापाञ् शत्रून् दण्डयत" / इति / क्रोधात् नृपतिरस् अभाषत
  • ถ้ามี हे ก็หาอาลปนะให้เจอ แล้วแยกออกต่างหาก, กริยา มุญฺจต เป็นบุรุษที่ 2 พหูพจน์ ก็ของ क्षत्रियाः นั่นแหละ แต่ตอนนี้กลายเป็น "ท่านทั้งหลาย" แล้ว, และอย่าลืม  กฺโรธาตฺ สนธิเป็น กฺโรธานฺ เมื่อมี น ตามมา
  • ประโยคนี้มี อิติ จึงต้องดูประโยคหลัก คือ ผู้พูดก่อน
  • พระราชาตรัสแล้วจากความโกรธ ว่า "ดูก่อน นักรบทั้งหลาย, จงซัดหอดทั้งหลาย จงยิงศรทั้งหลาย, จงลงโทษศัตรูผู้ชั่วร้ายทั้งหลาย"

  • अतिथिं पृच्छतु रत्रौ कुत्र न्यवस इति ॥7॥ จงถามแขกว่าจงพักที่ไหนในตอนกลางคืน
  • นฺยวส อิติ. มาจาก นฺยวสสฺ อิติ (นิ+อะ+วสฺ บุรุษที่ 2 เอกพจน์ อดีตกาลธรรมดา)
  • จงถามแขกว่า "ท่านได้พักแล้วที่ไหนในตอนกลางคืน"
  •  श्व्श्र्वाः कोपाच्छोचतः स्नुषे॥8॥ ศฺวศฺรฺวาสฺ โกปาตฺ โศจตสฺ สฺนุเ๋ษ. (แก้ที่ผิดด้วย)
  • ลูกสะใภ้ทั้งสองเศร้า จาก/เพราะความโกรธ(ของ)แม่สามี. คำที่เกี่ยวกับความรู้สึกบางคำ เช่น โกรธ, รัก มักใช้กับสัมพันธการก แต่แปลเป็นภาษาไทยถือว่าเป็นกรรมเลยก็ได้
  • वध्वाः स्निह्यत्यृषिः ॥9॥ ฤาษีได้หลงรักภรรยาหลายคน. วธฺวาสฺ(สัมพันธการก) สฺนิหฺยติ ฤษิสฺ.
  • ฤษี(ตนนั้น)หลงรักหญิงสาว(คนหนึ่ง). วธู กรรมการก พหุ. คือ วธูสฺ. ในที่นี้ วธฺวาสฺ เป็นสัมพันธการก อย่างที่บอกข้างบน ว่า ความรัก ใช้กับการกนี้. สฺนิหฺ กริยาหมวด 4 แจกปรัสไมบท ลง ยะ, sníhyati ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • पाठस्याभ्यासाय शिष्यावागच्छतामिति गुरोराज्ञा ॥10॥ ศิษย์ทั้งหลายจงเข้าใจกาเรียนตามคำสั่งจากครู
  • ข้อนี้มี อิติ เช่นกัน ดังนั้น ต้องแยกให้ดี
  • "पाठस्य अभ्यासाय शिष्यौ आगच्छताम्" इति गुरोस् आज्ञा |
  • คำสั่งของครู (มี)ว่า "ศิษย์ทั้งสอง จงมา เพื่อศึกษา/ท่องจำ(แห่ง)บทเรียน" (...จงมาเรียน)
  • पाठस्य เป็น สัมพันธการก แต่ในที่นี้ใช้ในความหมายเป็นกรรม เราจะพบการใช้แบบนี้มากในภาษาสันสกฤต ซึ่งก็คล้ายกับภาษาอังกฤษ of นั่นเอง
  • जुह्वाग्नौ घृतं प्रास्यानि ॥11॥ ฉันจะใส่เนยใสนั้นลงไปในไฟด้วยช้อน. ชุหฺวา อคฺเนา ฆฺฤตมฺ ปฺราสฺยานิ.
  • ฉันอยากจะใส่เนยใสนั้นลงไปในไฟด้วยช้อน. (ปัจจุบันกาล) อันที่จริง ปฺร+อสฺ แปลว่า ซัด ก็ได้ 
  • อาชฺญารถ สำหรับบุรุษที่ 1 แสดงความรำพึง จึงเป็น อยากจะ หรือปรารถนาจะ ถ้าใช้ "จะ" เฉยๆ จะเป็นอนาคตกาลไป
  • भ्रुवोरधस्तान्नेत्रे वर्तेते ॥14॥ คิ้วทั้งสองดำรงอยู่ที่บนดวงตา. ภฺรุโวสฺ อธสฺตาตฺ เนตฺเร วรฺเตเต.
  • ดวงตาทั้งสองดำรงอยู่ใต้(แห่ง)คิ้วทั้งสอง. อธสฺตาตฺ ใช้กับสัมพันธการก(ในที่นี้่คือ ภฺรุโวสฺ) 
  • ข้อนี้แปลคิ้วเป็นประธานไม่ได้ เพราะภฺรุโวส เป็นอธิกรณการก

 คำสาป ใช้อาชญะ ครับ, ไว้ค่อยเอา อาถรรพเวทมาอ่านกัน..

ขับ ใช้ธาตุ √คี ถูกหรือเปล่าค่ะ ?

กริยาขุดคือ √ขนฺ หมวดที่ 8 โจทย์ให้ทำเป็นประโยคคำสั่ง อาชญมาลา ทำตามอาชญมาลาคือนำกริยาไปทำตามขั้นตอนในหมวดนั้นให้ได้เค้ากริยาแล้วนำมาลงปัจจัยของอาชญมาลา แต่หมวดแปดเรายังไม่ได้เรียนแล้วจะทำยังไงค่ะ 

√ขนฺ หมวด 1 เรียนแล้่วนะ (http://www.gotoknow.org/posts/509375?) ปัจจุ. khánati เค้าคือ khána, คนทั้งหลา่ยขุด khánantu

เท ใช้ √สิจฺ (http://www.gotoknow.org/posts/502595) ปัจจุ. siñcáti เค้าคือ siñcá

งงกับโจทย์มากคะ

  1. บทสดุดีแห่งพระอินทราณีถูกขับโดยหญิงทั้งหลาย = สฺตุติรินฺทฺราณฺยำ วธูภิรฺคียเต
  2. "ท่านจงท่องคัมภีร์ศรุติและศาสตร์ทั้งหลาย จงกล่าวความจริง จงบูชา" นี้คือ(อิติ)* บทบัญญัติแห่งศาสตร์ทั้งหลายเพื่อนักเรียนทั้งหลาย = ศฺรุติํ ศาสฺตราณิ จ อภฺยสฺย วท สตยํ ปูชยิติ สฺมฺฤติะ ศาสฺเตฺรษุ ศิษฺเยภฺยะ
  3. ธรรมะไม่ถูกละเมิด ด้วยว่า (อิติ) "ขอพระราชาจงปกป้องประชากร(พหุ.) และลงโทษคนชั่ว" = ธรฺมะ น ปฺรติหนฺยเต ราโช รกฺษตุ ปฺรชา ฑณฺฑยตุ ปาปำสฺนรานฺ
  4. ดูก่อน หญิงทั้งหลาย จงนับถือแม่สามีของเจ้า = เห วธฺวะ ศฺวศฺรูสํ ปูชยนฺตุ
  5. สารถีจงอย่าตีหรือทรมานม้าทั้งหลาย = สูโต อศฺวานฺมา วิธฺยตุ
  6. สาวใช้ทั้งสองถูกพระราชินีสั่งว่า "จงนำแก้วมณีทั้งหลายมา" = ทาสฺเยา เทวฺยา อาทิศฺเยเต มณีนานยตามิติ
  7. เราจงเทน้ำด้วยทัพพีทั้งสองบนแท่นบูชา =  เวเทา ชุหูภฺยำ ชลํ สิญฺจานิ
  8. นักรบทั้งสองกล่าวแล้ว(กรรมวาจก) ว่า "เรามาเล่นสกาด้วยเงินเถิด" = กฺษตฺริยาวุทฺเยเต อกฺษํ ทีวฺยานิ ธเนนิติ
  9. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องทำพิธีอุปนยนะบุตรทั้งสอง = พฺราหฺมโณ ภาษเต ปุเตฺรา อุปนยานฺยิติ
  10. คนทั้งหลายจงขุดบ่อน้ำ = นรา วาปีํ ขนนฺตุ

  1. "ท่านจงท่องคัมภีร์ศรุติและศาสตร์ทั้งหลาย จงกล่าวความจริง จงบูชาครู" นี้คือ(อิติ)* บทบัญญัติแห่งศาสตร์ทั้งหลายเพื่อนักเรียนทั้งหลาย = ศฺรุติํศฺรุตึ ศาสฺตราณิ จ อภฺยสฺยอภฺยาสฺย(จาภฺยาสฺย) วท สตยํ(เรียงคำ "สตยํ วท" ดีกว่า) คุรูนฺ ปูชฺยิติปูชฺเยติ สฺมฺฤติะ ศาสฺเตฺรษุ/ศาสฺตฺราณำ ศิษฺเยภฺยะ.... โจทย์พิมพ์ตกคำหนึ่ง(บูชาครู) .. ที่เหลือดูสนธิ

    3.ธรรมะไม่ถูกละเมิด ด้วยว่า (อิติ) "ขอพระราชาจงปกป้องประชากร(พหุ.) และลงโทษคนชั่ว" = ธรฺมะธรฺโม น ปฺรติหนฺยเต ราโช รกฺษตุ ปฺรชา ฑณฺฑยตุ ปาปำสฺนรานฺ (ควรเรียงคำให้กรรมอยู่หน้ากริยา)

    4. ดูก่อน หญิงทั้งหลาย จงนับถือแม่สามีของเจ้า = เห วธฺวะ ศฺวศฺรูสํศฺวศฺรูะ/ศฺวศฺรูมฺ(ควรใช้พหูพจน์ เพราะหญิงหลายคน) ปูชยนฺตุ

    5. สารถีจงอย่าตีหรือทรมานม้าทั้งหลาย = สูโต'ศฺวานฺมา วิธฺยตุ วา มา ปีฑยตุ (แปลตก)

    6. สาวใช้ทั้งสองถูกพระราชินีสั่งว่า "จงนำแก้วมณีทั้งหลายมา" = ทาสฺเยา เทวฺยา อาทิศฺเยเต(เทวฺยาทิศฺเยเต สนธิ) มณีนานยตมิติ (มณีนานยตมิติ บุรุษที่ 2 ทวิพจน์, คนที่ถูกสั่งในเครื่องหมายคำพูด เป็นบุรุษที่ 2)

    7. เราจงเทน้ำด้วยทัพพีทั้งสองบนแท่นบูชา =  เวเทา ชุหูภฺยำ ชลํ สิญฺจานิสิญฺจาม (บุรุษที่ 1 พหูพจน์ อาม)

    8. นักรบทั้งสองกล่าวแล้ว(กรรมวาจก) ว่า "เรามาเล่นสกาด้วยเงินเถิด" = (กฺษตฺริยาวุทฺเยเต ควรวางหลัง อิติ) อกฺษํ ทีวฺยานิทีวฺยาว (บุรุษที่ 1 ทวิพจน์) ธเนนิติธเนเนติ (ธเนน อิติ) กฺษตฺริยาภฺยามุจฺยต (กฺษตฺริยาภฺยามฺ อุจฺยต(ธาตุ วจฺ) ) ... โจทย์ให้สร้างกรรมวาจก กฺษตฺริย จึงต้องเป็น ทวิพจน์ กรณการก, กริยา เป็นเอกพจน์.
    ประโยคแบบนี้ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า It was said by the two warriors that.. แต่แปลเป็นไทย เอาประธานขึ้นต้นอยู่ดี แต่ในภาษาสันสกฤตมีใช้ทั้งสองแบบ พยายามศึกษาประโยคแบบนี้ เพราะมีใช้มาก


    10.คนทั้งหลายจงขุดบ่อน้ำ = นรา วาปีํมฺ ขนนฺตุ

    ถือว่าเข้าใจแล้วล่ะ ประโยคที่เป็นคำพูด ให้แต่งประโยคคำพูดขึ้นก่อน ตามด้วยอิติ แล้วต่อด้วย ผู้พูด, โครสร้างทั่วไป กรรมมาก่อนกริยา ที่เหลือก็ดูสนธิ
    อีกอย่างหนึ่ง คือ ประธานบุรุษที่ 1 ดูให้ละเอียด. ฉัน(เอกพจน์) เรา(พหูพจน์). ถ้าสะดวก ให้เขียนเทวนาครีบ้าง

ปรีกฺษายํา สิธฺย  ขอให้เธอจงประสบความสำเร็จในการสอบ  พอได้ไหมค่ะ ?

แล้วจะบอกว่าขอให้โชคดีในการสอบว่าอย่างไรดีคะอาจารย์ โชคดีใช้กริยาตัวไหนดีเอ่ย

อาจารย์ขาหนูแปลสุภาษิตไม่ได้อีกแล้วคะ ฮือๆ งงอะคะ

ปรีกฺษายำ สิธฺย ก็ได้ครับ.   ขอให้โชคดีฯ... ปรีกฺษายำ ทิษฺฏะ เต ภวตุ. ก็ได้ (ทิษฺฏ แปลว่า โชค หรือโชคดี)

สุภาษิต.

  • धर्मं चरत , माधर्मं / सत्यं वदत, मानृतम्.
  • दीर्घं पश्यत , मा ह्रस्वं / परं पश्यत , मापरम्  ॥1॥ 

แยกเป็นท่อนๆ. จะเห็นว่าแต่ละท่อน มีคำว่า มา(อย่า) อยู่ด้วย

  • ธรฺมมฺ จรต, (บุคคล)จงประพฤติธรรม, มา อธรฺมมฺ, อย่า(ประพฤติ)อธรรม
  • สตฺยมฺ วทต, (บุคคล)จงพูดความจริง, มา อนฺฤตมฺ, อย่า(พูด)ความเท็จ
  • ทีรฺฆมฺ ปศฺยต, (บุคคล)จงมองไกล, มา หฺีรสฺวมฺ, อย่า(มอง)ใกล้
  • ปรมฺ ปศฺยต, (บุคคล)จงมองข้างบน, มา อปรมฺ อย่า(มอง)ข้างล่าง

(อย่าอ่านแต่คำแปลนะ พิจารณาความนัยด้วย)

แต่ละท่อน ใช้กริยาซ้ำเดิม กริยาเป็นเอกพจน์ บุรุษที่ 3 จึงไม่แปลว่า จงประพฤติธรรม เพราะถ้าแปลอย่างนั้น แสดงว่าประธานคือ บุรุษที่ 2 เอกพจน์ (ท่าน), ในที่นี้่ ประธานคือ บุคคลใดๆ

โศลกแบบนี้ถือว่ายังง่าย เพราะข้อความเรียงลำดับกันไป ไม่กระโดดข้ามไปมา, ต่อๆ ไปจะยากกว่านี้ ;)

จรต นี่ มาจากธาตุ √จร หมวดที่1หรือเปล่าค่ะ หนูมัวแต่ไปดูความเห็นตรง ไป เร่ร่อน เล็มหญ้า ลืมดูตรงความหมายที่เป็นสกรรมกริยา แปลว่าปฎิบัติ อิอิ

ใช่แล้ว จรฺ ถ้าลงปัจจัย -ต = จริต 

พุทธจริต คือ จริยวัตร หรือ ความเป็นไปของพระพุทธเจ้า

ศิวะ กฺฤตฺสฺไนรฺทาไส อิตฺยภาษตฺ ทกฺษสฺย ยชฺญมฺ วินศฺยต พระศิวะทรงตรัสกับเหล่าสาวกทั้งหมดแล้วว่า พวกเธอทั้งหลายจงไปทำลายพิธียัชญะของพระทักษะให้พินาศไป 


ได้ไหมค่ะอาจารย์ หรือว่าแลดูงงๆ ใช้ทั้งอดีตกาลและอาชญมาลาคะ

เด็กน้อยสองคนนี้กำลังพูดภาษาสันสกฤตทั้งคลิปเลยปะค่ะอาจารย์ หรือว่าแค่บางส่วนเท่านั้น

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ebBZexX4HRk#!

แอบได้ยินบางคำที่เราเคยเรียนมาด้วยละคะ ฮิๆ

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจคำตอบให้หน่อยคะ กับสองประโยคข้างล่างนี้ หนูลองไปนั่งแต่งมา..

ฤาษีได้เล่าว่าสงครามที่ทุ่งกุรุได้เริ่มขึ้นแล้ว = ฤษิสฺ อิติ อกถยตฺ ยุทฺธมฺ กุรุเกฺษเตฺร อารภต / ลองมาทำสนธิดูแต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือเปล่าเพราะมันดูอิรุงตุงนังไปหมดได้เป็น ฤษิริตฺยกถยตฺ ยุทฺธํ กุรุเกฺษตฺรยารภต

เธอทั้งสองจงแปลจารึกนี้สิ = มนฺตฺรปตฺตฺรํ อนุวทตมฺ !!

พวกจารึกที่สลักตามหินทั้งหลาย ปกติเขาใช้คำนี้กันไหมค่ะ มนฺตฺรปตฺตฺร (นปุงสกลิงค อะการานตะ)

แล้วก็ธาตุที่มีความหมายว่า ''แปล'' หนูไปหยิบ अनुवदति { अनु- वद् } คำนี้มา ปกติเขาใช้กันไหมค่ะ  เห็นในเวปพจนานุกรมรู้สึกจะเอาอุปสรรคไว้ข้างหน้าอีกละ งงเลย 



  • ทกฺษสฺย ยชฺญมฺ วินศฺยต อิติ ศิวะ กฺฤตฺสฺไนรฺ ทาไสรฺ ภาษตฺ
  • (ทกฺษสฺย ยชฺญํ วินศฺยเตติ ศิวะ กฺฤตฺสฺไนรฺทาไสรฺภาษตฺ)

ลำดับแบบนี้ครับ จะได้แยกชัดระหว่างเครื่องหมายคำพูด กับประโยคหลัก

อย่าลืม ประโยคคำพูด ตามด้วย อิติ ตามด้วยประธาน กริยา...

ประโยคคำพูด ใช้คนละเทนส์ได้ครับ


ฤาษีได้เล่าว่าสงครามที่ทุ่งกุรุได้เริ่มขึ้นแล้ว เขียนถูก แต่ต้องลำดับคำใหม่

"กุรุเกฺษเตฺร ยุทฺธมฺ อารภต" อิติ ฤษิสฺ อกถยตฺ. (กุรุเกฺษเตฺร ยุทฺธมารภเตติ ฤษิรกถยตฺ) 

ลำดับสถานที่ก่อน ที่เหลือก็ตามลักษณะประโยคคำพูด เอาประโยคหลักไว้หลัง

เฉพาะสนธิที่เขียนมา ข้างบน ถูกแล้ว


จารึก ไม่แน่ใจว่ามีศัพท์เฉพาะหรือเปล่า ใช้ว่า เลขิต(ถ้อยคำที่เขียนไว้แล้ว) ก็ได้

เฉพาะ ปตฺตฺร ก็ได้ หรือจำเพาะลงไป ศิลายามฺ ปตฺตฺร ก็ได้

แปล น่าจะใช้ว่า ปริ-วฺฤตฺ


เอาอุปสรรคไว้หน้าหรือหลัง อย่าไปซีเรียสครับ ให้รู้ว่าตัวไหนคือธาตุ ตัวไหนคืออุปสรรคก็พอ

ดูเด็กพูดสันสกฤต คล่องปรื๋อเลย อิๆๆ น่ารักดี เสียดายไม่มีตัวสันสกฤตขึ้นให้

มีศัพท์ไวยากรณ์ที่เรายังไม่ได้เรียนอยู่บ้าง ไว้เรียนสรรพนามแล้ว กลับมาฟังอีกทีจะเข้าใจมากขึ้นครับ

ดีแล้วครับ ฝึกหาอ่าน ฟังเรื่อยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท