ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

"กลาง" อย่างไร?? ถึงจะเรียกว่า "กลาง"



      เมื่อวิเคราะห์เกณฑ์เบื้องต้นที่สอดคล้องและเหมาะสมต่อการนำมาเป็นก รอบการอธิบาย และปฏิบัติร่วมกันในสังคม ทั้งในมิติของการสื่อสาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น "น่าจะ" ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังต่อไปนี้

      ๑. ความเป็นกลางต้องเป็นความถูกต้องเสมอ
      ๒. ความเป็นกลางต้องอยู่บนฐานของความยุติธรรมเสมอ
      ๓. ความเป็นกลางต้องไม่มีอคติเสมอ
      ๔. ความเป็นกลางต้องเป็นธรรมเสมอ
      ๕. ความเป็นกลางต้องอยู่บนหลักการของศีลธรรมเสมอ

      "ผู้พิพากษา" คือตัวอย่างของ "ความเป็นกลาง" ที่ดีของนำเสนอในประเด็นนี้ ความเป็นกลางจึงไม่ได้หมายถึง "ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ผู้พิพากษาจึงไม่ได้ยืนอยู่ตรงกลาง "ระหว่างถูกผิด" หรือ "ระหว่างดีชั่ว" หรือ "ระหว่างขาวกับดำ" (Neutral) แต่เป็นการเข้าข้าง หรือการยืนอยู่บนความถูกต้อง เที่ยงธรรม ยุติธรรม ไร้อคติ เป็นธรรม (Impartiality) โดยมีเกณฑ์ของศีลธรรมเป็นกรอบในการอ้างอิงสำหรับการประพฤติปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมจึงถือได้ว่า "กลางทั้งศีลและธรรม"

      ๑. ความเป็นกลางของศีล “ศีล” ที่เป็นกรอบในการประพฤติปฏิบัติร่วม กันของกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม ที่อาจจะแปรรูปไปเป็น “กฎหมาย” และ “กฎเกณฑ์ ข้อระเบียบ” ที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "วัฒนธรรมและค่านิยมเชิงบวก" ที่รับรู้ ปฏิบัติ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

      ๒. ความเป็นกลางของธรรม การออกแบบหลักการของศีล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันในสังคมนั้น จะต้องสอดรับกับ “ธรรม” ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ที่อิงอยู่กับกฎของ “ธรรมชาติ” สอดคล้องกับกระบวนการของธรรมชาติ สอดรับกับความเป็นไปของสรรพสิ่งในโลกของความเป็นจริง เป็นความจริงตามธรรมชาติที่ไม่มีใคร หรือสิ่งใดผูกขาดกฎเกณฑ์ดังกล่าวได้ ดังนั้น มนุษย์จะต้องเรียนรู้เข้าใจกระบวนการของธรรมชาติ แล้วปฏิบัติตามวิธีการของมนุษย์ให้เป็นไปตามความรู้ความเข้าใจนั้น

      จะเห็นว่า การที่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุขนั้น ตัวแปรสำคัญต้องเรียนรู้ และเข้าใจกระบวนการทางธรรมชาติ หรือกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เพราะจะทำให้มนุษย์ย่อมสามารถที่จะออกแบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เป็นข้อปฏิบัติร่วมกันได้อย่างครอบคลุม และทั่วถึง กล่าวคือ การเข้าใจความประสมกลมกลือนของธรรมชาติชาติตามหลักอิทัปปัจจยตา จึงมีค่าเท่ากับการอยู่รวมกันอย่างประสบกลมกลืนของหมู่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม
คำสำคัญ (Tags): #NVCR#impartiality
หมายเลขบันทึก: 486003เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2012 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมัสการครับ

I like the characteristics of "middle" but

"... ๑. ความเป็นกลางต้องเป็นความถูกต้องเสมอ

  ๒. ความเป็นกลางต้องอยู่บนฐานของความยุติธรรมเสมอ..."

ความถูกต้อง righteousness, ความยุติธรรม justice are both human-centric and individual in context.

What is the right thing for me to do here? Read and keep quiet? Read and write questions? Read and talk about it?... What is justice in this case? Can we find out the "exact"/approximate but agreeable/negotiated/compensated/delayed/religious/... point of justice?

I am under water now and may not see the light!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท