ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

อนุทินล่าสุด


ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

"ฉันเคยได้ยินบางคนเล่าว่า ในโลกนี้มีนกประเภทหนึ่งที่ 'ไม่มีขา' มันได้แต่โบยบินไป บินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ยามใดที่เหน็ดหนื่อยเมื่อยล้าก็จะทอดร่างล้มตัวลงนอนในนภากาศ นกประเภทนี้ ตลอดชีวิตจะดำดิ่งลงสู่พื้นดินเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นคือตอนที่มันตาย!!!"

จากเสี้ยวหนึ่งของความทรงจำใน Days of Being Wild...



ความเห็น (2)

Photobucket

นำภาพ อินทรีทะเลปากขาว (White-bellied Sea Eagle) ที่จับภาพได้แถบบ้านมาฝากค่ะ พระอาจารย์

โยมปริม

แนวคิดนี้ คล้ายคลึงกับแนวคิดที่ปรากฏใน นางนวล "โจนาทาน ลิฟวิงสตัน" มาก และจจำได้ว่าตัวเองเคยอ่านงานนี้เมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อน. และขอบใจมากสำหรับภาพที่ฝากมาถวาย

เจริญพร

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

"ในศตวรรษที่ ๒๑ จิตที่มีคุณค่ามากที่สุด คือจิตที่รู้จักสังเคราะห์ ซึ่งหมายถึงจิตที่รู้จักสำรวจข้อมูลอันหลากหมาย รู้ว่าสิ่งใดสำคัญ ควรค่าแก่การสนใจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประสานกันได้อย่างมีเหตุผลสำหรับตนเอง และผู้อื่น"

"การที่รู้จักสังเคราะห์ข้อมูลให้ตัวเองได้ดีจะกลายเป็นบุคลากรชั้นแนวหน้า ส่วนคนที่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายจะกลายเป็นครู นักสื่อสาร และผู้นำทรงคุณค่า"

เมอร์เรย์ เกลล์-แมนน์ (Murray Gell-Mann) นักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

การ "เรียน" เพื่อ "รู้" และ "มี" ธรรมะ

  • บางท่านอาจจะเข้าใจว่า การอ่านหนังสือถือว่า "เป็นเส้นทางหนึ่งของการเรียนรู้ธรรมะ"
  • การเรียนรู้ธรรมะที่ดีที่สุด คือ "การเรียนรู้จากภายในผ่านใจของเราเอง"
  • โดยการ "รู้เท่าทัน" สุข และทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะจิต
  • ตัวอย่างบุคคลที่เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้แบบนี้ คือ "พระพุทธเจ้า"
  • หลักธรรม "อริจสัจ ๔" : ทุกข์ บ่อเกิดแห่งทุกข์ การหมดทุกข์ และทางออกจากทุกข์ คือ ผลผลิตของการเรียนรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบจากใจของพระองค์เอง


ความเห็น (4)

กราบนมัสการค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะว่าการอ่านเป็นเพียงเส้นทางหนึ่งของการเรียนรู้ธรรมะ เพราะหากเพียงรู้แต่ไม่เข้าใจด้วยหัวใจก็คงไม่มีความหมายลึกซึ้งนัก

มีประโยคหนึ่งที่ชอบมากจากหนังสือ The Monk Who Sold His Ferrari ของ Robin Sharma ค่ะ

"It's not what you will get out of the books that is so enriching — it is what the books will get out of you that will ultimately change your life"

ขอให้วันนี้เป็นวันแห่งการเรียนรู้ที่มีความสุขค่ะ

โยมปริม...

  • โรบินนำเสนอได้น่าสนใจยิ่งนัก และเขาเป็นนักเขียนและนักพูดคนหนึ่งที่อาตมาติดตามอยู่เสมอ
  • วันหนึ่ง อาตมาอาจจะมีบุญบารมีได้อ่านงานเขียนของโยมปริมบ้าง
  • การเรียนและทำงานอยู่ต่างแดน ท้าทายจิตวิญญาณของเราอย่างยิ่ง ซึ่งตัวเองประสบได้จากการเรียนที่อังกฤษ
  • หวังว่า วังหนึ่ง จะได้อ่านประสบการณ์ดีๆ ที่ผ่านการตกผลึกจากการทำงานของโยม ณ ต่างแดน เป็นหนังสือที่วางอยู่บนชั้นหนังสือในประเทศไทย
  • นานเพียงใดก็จะ "รออ่าน" น่ะโยมปริม
  • เจริญพร

- เรียนรู้ ... ที่ไม่มีวันหมดไป...จาก.... การเรียนรู้ 

- กราบนมัสการ....พระอจ.





กราบนมัสการเจ้าค่ะ

การเรียนและทำงานอยู่ต่างแดน ท้าทายจิตวิญญาณของเราอย่างยิ่ง ซึ่งตัวเองประสบได้จากการเรียนที่อังกฤษ

...


อยากอ่านตรงส่วนนี้บ้างเจ้าคะ

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

คานธี กล่าวว่า

  • The weak can never forgive. Forgiveness is the attribute of the strong.
  • ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยได้นั้นนับเป็นความเข้มแข็งแท้จริง

พระพุทธศาสนา ย้ำเตือนว่า

  • "อภัยทาน" เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ และยากยิ่งที่มนุษยชาติจะให้แก่กันได้
  • เพราะเหตุใดจึงยาก??? เพราะท้าทายต่อจิตวิญญาณของมนุษย์
  • น้ำมักจะไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่า แต่จิตใจจำเป็นต้องไหลจากที่ต่ำสู่ที่สูง...

ง่ายที่จะเรียนรู้ แต่ไม่อยากเกินไปที่จะปฏิบัติใช่ไหม???



ความเห็น (2)

กราบนมัสการค่ะพระคุณเจ้า,

กราบขอบพระคุณที่เมตตามาฝากข้อคิดที่ดีไว้ให้คิดค่ะ

ชอบมากกับประโยคที่ว่า

"น้ำมักจะไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่า แต่จิตใจจำเป็นต้องไหลจากที่ต่ำสู่ที่สูง..."

ครั้งแรกที่เริ่มอ่านพระไตรปิฎก เล่มแรกคือ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ พอเริ่มอ่านไปสักพักก็เกิดความคิดที่ว่า ผ่านมาเกือบๆ สองพันหกร้อยกว่าปี วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปได้สุดไกลจนคนสามารถไปเหยียบดาวดวงอื่นได้ โลกที่กว้างใหญ่ดูเหมือนจะแคบลงไปมากทีเดียว แต่ทว่าจิตใจของคนเรามิได้พัฒนาไปให้ดีขึ้นมากกว่าเดิมเลย มิหนำซ้ำจะแย่ลงกว่าคนเมื่อ 2600 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ

สิ่งที่เกิดขึ้น (ปัญหา) เมื่อ 2600 ปีที่แล้ว วันนี้ก็ยังคงเกิดขึ้น มิน่าล่ะคำสอนของพระพุทธองค์จะยังคงเป็นอมตะเสมอ ด้วยเหตุนี้ เพราะว่าจิตใจก็เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่ที่ต่ำได้ง่ายดายเหลือเกิน

และการปฏิบัตินั้นทำได้ไม่ง่ายเลยค่ะพระอาจารย์ แต่อย่างน้อยในชีวิตนี้ก็เริ่มเข้าใกล้คำสอนของพระพุทธองค์มานิ๊ดหนึ่งค่ะ...

นักการเมืองที่ทำได้อย่างท่านคานธีและคู่ควรแก่การนับถือน่าจะมีเนลสัน แมนเดลลา กับอองซาน ซูจี รวมอยู่ด้วย... กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าครับ

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

"ความชั่วต้องหลีกหนี ความดีต้องเกลือกกลั้ว ใจตัวต้องพัฒนา" เหล่านี้คือ "มรรคาแห่งสันติสุข"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

มีความสุขกับสิ่งที่ "มี" และ "เป็น"

...มนุษย์เรานี่ก็แปลก... เราพยายามและขวนขวายอย่างหนักหน่วงที่จะ "มี" และ "เป็น" แต่พอเรา "มี" และ "เป็น" ตามที่เราวาดหวัง เรามักจะไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งที่เรา "มี" และ "เป็น"

...เพราะเหตุนี้ เราจึงพยายามที่จะตะเกียกตะกายแสวงสิ่งที่เราอยากจะ "มี" และ "เป็น" ตลอดชีวิต คำถามคือ "แล้วเืมื่อไรเราจะเจอ???" หยุดอยาก!!! หยุดยุ่ง!!! แล้วเราจะ "อยู่เย็น!!!"



ความเห็น (2)

บางคนค้นหาสิ่งที่ขาด จนทำใหพลาดสิ่งที่มี

บางคนค้นหาสิ่งที่ดี จนทำให้สิ่งที่มีหายไป

สาธุค่ะ

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

น้ำลด... สุขผุด...

เรามักจะได้ยินคำว่า "น้ำลด ตอผุด" อยู่เนืองนิตย์  แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน เราอาจจะต้องเปลี่ยนชุดคำดังกล่าวให้เป็น "น้ำลด... สุขผุด!!!" 

๑. "น้ำลด" ทำให้เราได้ "ลดตัวตน" เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะขัดขวางธรรมชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถเอาชนะธรรมชา่ติได้  ด้วยเหตุนี้  เห็นสมควรที่มนุษย์จะต้องอยู่ให้ประสมกลมกลืนกับธรรมชาติประดุจกัลยาณมิตรที่จำเป็นจะต้องพึ่งอาศัยกันและกัน

๒. "น้ำลด" เปิดโอกาสให้เราได้มีโอกาส "เก็บกวาดขยะและสิ่งโสโครกต่างๆ" ทั้งเราสร้างเอง และลอยมากับสายน้ำ  เราอาจจะกำจัด "ขยะภายนอก" ได้อย่างง่ายๆ โดยใช้วัน "Big Cleaning Day" มาร่วมแรงใจกัน แต่ปัญหาคือ "ขยะภายใน" เราจะจัดการอย่างไร จึงจะไ่ม่ทำให้เกิดอาการหมักหมมและเน่าเสียภายในอย่างยาวนาน จนยากแก่การกำจัดและทุเลาเบาบางเพื่อให้เกิดสุขภาวะภายใน สรุป เราถนัด และชอบที่จะกำจัดขยะภายนอก แต่หลงลืมขยะภายในที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจของเรา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ใส่ถ่าน!!!!!

นาฬิกาตาย  ใส่ถ่านยังเดินต่อไปได้

คนตาย  ใส่ถ่านแล้วมอดไหม้

สรุปคือ "เราจะใส่ถ่านเพื่อให้เดินต่อไปได้ หรือเพื่อให้เผ่าไหม้ตัวเอง"  ถ้าจะให้เดินต่อไปได้ก็ควรเ็ป็นถ่านแห่งความดีความงาม ความรัด ความหวัง และแรงบันดาลใจ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

วันแรกของการจัดประชุมเตรียมการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก อาจจะเป็นเพราะอาการของเบาหวานหรือความเหนื่อยสะสมจากการเตรียมงาน  คณะกรรมการนานาชาติคุย และใช้เวลากันมากเหลือเกินกับโค้วต้าว่า ประเทศใดจะได้มีที่นั่งจำนวนเท่าใด  บางครั้งทำให้นึกไปว่า "เราเน้นพิธีการมากกว่าวิชาการ" ที่จะได้จากการจัดงานมากเกินไปหรือเปล่า 

ถึงกระนั้น คืนนี้กลับมาดึกแม้จะเหนื่อยมาทั้งวัน เพราะต้องเตรียมสถานที่เพื่อรองรับ "พิธีเปิดสถาบันภาษามหาจุฬา" ซึ่งจะมีในวันพรุ่งนี้ (๒๔) ช่วงเข้า โดยมีอธิการบดีเป็นประธาน และมีคุณหญิงสมปองเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์

บ่ายๆ ก็ต้องประชุมนานาชาติต่ออีกครึ่งวัน แปลกน่ะ มีโยมหลายท่านบอกว่า "การเป็นพระนี่สบายมาก" แต่ขอเถียงเลยว่า "ในชีวิตของตัวเองที่เป็นพระและทำงานรับใช้พระศาสนาไม่เคยสบายเลย" อย่างไรก็ดี แม้กายจะเหนื่อยเพราะเคลื่อนไหว แต่ใจไม่เคยหวั่นไหวกับปัญหาและอุปสรรค คิดเสียว่า "คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

วันนี้คณะทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มงานฝ่ายเลขานุการการประชุมเตรียมการจัดงานวิสาขบูชาโลกปี 2553 ดีใจเ็ป็นการใหญ่ เพราะได้ "นิสิตชั้นปีที่ 4 ของจุฬาลงกรณราชมหาวิทยาลัย" มาร่วมเป็นทีมงาน 

"น้องแพง" คือ เป็นนิสิตเรียน "คณะเศรษฐศาสตร์หลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ"  ที่น่าดีใจคือ คุณแม่พามาสมัครด้วยตัวเองที่มหาจุฬาฯ วังน้อย โดยเดินทางมาจากกรุงเทพฯ

นิสิตรุ่นใหม่ๆ แม้ว่าหลายท่านจะบอกว่า "ห่างไกลศาสนา" แต่จากประสบการณ์็ที่พบในชีวิตของความเป็นพระภิกษุเกือบ "28 ปี" กลับมีมุมมองที่ต่างจากข้อสังเกตเหล่านั้น  โชคดีว่า หลายๆ กิจกรรม หลายๆ โอกาสในการทำงาน "ด้านสังคม" พบว่า มีเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมากให้ความใส่ใจกับ "กิจกรรมทางสังคม แม้กระทั้งกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา"

ขออนุโมทนา "น้องแพง" และครอบครัวโดยเฉพาะ "คุณแม่" ที่ได้ตระหนักรู้ถึงความสำเร็จและนำ "น้องแพง" มาพร้อมช่วยงานการเตรียมประชุมวิสาขบูชาโลกในครั้งนี้ โดยเฉพาะการเข้ามาช่วยทีมงาน "ฝ่ายเลขานุการซึ่งเป็นหัวใจหลักของการจัดประชุมครั้งนี้"

ด้วยธรรมะ พระ และเมตตา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ
  • กายยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งมีกำลัง
  • จิตยิ่งนิ่่ง ยิ่งทรงพลัง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ศิษย์สัมพันธ์วันพี่พบน้อง

เพิ่งกลับจากการเดินทางไปร่วมงาน "ศิษย์สัมพันธ์วันพี่พบน้อง" ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  พบพี่ๆ น้องๆ ตั้งแต่ปริญญาเอก และโท ในสาขาต่างๆ เช่น ชีวิตและความตาย พระพุทธศาสนา ภาษาศาสตร์  บริหารการศึกษา และรัฐประศาสนศาสตร์

พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ได้ให้พรปีใหม่ว่า "รักษาใจอย่างเดียว ทุกอย่างดีหมด"  ทำให้นึกถึงภิกษุรูปหนึ่งที่ถามพระพุทธเจ้าว่า "หลักธรรมของพระพุทธเ้จ้ามากหมายเหลือเกิน จะรักษาอย่างไรไหว" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ขอให้รักษาข้อเดียวพอคือ รักษาใจของเราเอง"

มนุษย์ก็แปลก เราชอบรักษาสิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น รักษาหน้า รักษาเกียรติ รักษาบ้าน รักษารถ และรักษาร่างกายยามเจ็บไข้  แต่กลับ "หลงลืมรักษาใจยามเปลี่ยวเหงาและเศร้าโศก"

การรักษาใจ คือ มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ ที่ชอบ ไ่ม่ชอบ ไม่เกลียด เกลียด ลุ่มหลง และโลภ  การรู้จะทำให้เรากระทบแล้วไม่กระเืทือนจากสิ่งกระทบ เพราะวางใจของตัวเองถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ และความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ผู้พูดสำคัญกว่าคำพูด?

บางคนบอกว่า "ไม่สำคัญหรอกว่าผู้พูดจะเป็นใคร  สำคัญที่เขาพูดอะไร" แต่บางคนกลับแย้งว่า  "ไม่สำคัญว่าคำพูดนั้นจะเป็นอย่างไร แต่สำคัญอยู่ที่ผู้พูดเป็นใคร" สรุป "ผู้พูด" กับ "คำพูด" สิ่งใหนสำคัญกว่ากัน

ดูประหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญทั้ง "ผู้พูด" กับ "คำพูด"  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้พูดนั้นเป็น "บัณฑิต" ด้วยแล้ว ย่อมสามารถเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่า "คำพูด" ของบัณฑิตย่อมเป็นไปเพื่อ "ความสุข และความเจริญ" 

"บัณฑิต" ในพระพุทธศาสนาหมายถึง "บุคคลที่คิดดี พูดดี และทำดี" หรือรวมไปถึง "บุคคลที่รู้จักเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล"

"คำพูด" ที่พึ่งประสงค์ คือ "วาจาสุภาษิต" ที่พร้อบด้วย "คำจริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ และประกอบด้วยเมตตา"

คำถามคือ "คนไม่ได้เข้าเกณฑ์ว่าเป็นบัณฑิต จะสามารถพูดในสิ่งที่เป็นไปเพื่อความสุขและความเจริญของคนในสิ่งคมได้หรือไม่"  หรือว่า "หากต้นไม้มีพิษแล้ว  ผลไม้ย่อมมีพิษ" ไปด้วย  นี้คือประเด็นที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

สังคมไทย: สังคมแห่งอวิชชา (ไ่ม่รู้)

  • ไม่รู้ว่า  อะไรดี       อะไรชั่ว
  • ไม่รู้ว่า  อะไรถูก     อะไรผิด
  • ไม่รู้ว่า  อะไรจริง    อะไรเท็จ
  • ไม่รู้ว่า  อะไรควร    อะไรไม่ควร
  • ไม่รู้ว่า  อะไรสูง     อะไรต่ำ
  • ไม่รู้ว่า  อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

หากมองนอกตัวไกลๆ ในปัจจุบันนี้ จริงหรือไม่ทุกคนย่อมประจักษ์ชัด และอธิบายได้  แต่หากมองย้อนเข้ามาใกล้ตัว "รู้กับไม่รู้" เส้นแบ่งใกล้กันมาก มี "สติเมื่อใด" เราก็ "รู้เมื่อนั้น" ขาดสติเมื่อใด เราก็ไม่รู้เมื่อนั้น   รู้กับไม่รู้จึงมี "สติเป็นคู่มือคอยวัด"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ทำงานกับกิเลสของคน อย่าหวังผลอะไรมากนัก

  "คน" ประกอบด้วยคำสองคำ คือ "ค.ควาย+น.หนู" คือ มีสัตว์สองประเภทอยู่ใน "คน" "คน" ในลักษณะ "กิริยา" แปลว่า "กวน" นำไปสู่ "ความยุ่ง" ฉะนั้น มีบางเวลาที่คน "กวนอารมณ์" "กวนสังคม" และ เมื่อกวนหนักๆ เข้าก็กลายเป็น "ความยุ่ง" และตัวแปรที่ทำให้ยุ่งก็คือ  "กิเลสของคน" บางครั้งคนนั้นก็จะเอาแบบนี้ คนนี้ก็จะเอาแบบนั้น        

  ในขณะที่ "ทำงาน" จะต้องไปสัมพันธ์กับ "คนมากๆที่มีกิเลส"   จำเป็นที่เราจะต้องซื้อว่า "ทัมใจ" มารับประทาน ในยามที่เรา "ปวดหัว" ทุกครั้งที่เจอกิเลสของคน เราก็กินยา "ทัมใจ" ทุกคราว แล้วส่วนผสมที่อยู่ในยา "ทัมใจ" คือ "ธรรมะ" หรือ "สติ" รู้เท่าทัันอารมณ์ของตัวเองในขณะอยู่กับคน และเจออารมณ์ต่างๆ เข้ามากระทบ "ทุกครั้งที่รู้ตัว เวลาถูกกระทบ เราจะไม่กระเืืทือน" 

   ฉะนั้น ในขณะที่ทำงาน ย่อมเป็นธรรมดาที่เราต้องเจอกับคนซึ่งมีกิเลส ด้วยต้องบอกกับตัวอยู่ทุกวันว่า "งานจะได้ผลหรือไม่ได้ผล คนทำต้องเป็นสุข"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

จากห้องขังสู่ห้องธรรม

  • ขออนุโมทนาท่านรักเกียรติที่ได้ตระหนักรู้ ตึกผลึก และนำถอดบทเรียนชีวิตมาฝากพวกเราเพื่อให้มี "สติ" ในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น
  • ห้องขัง คือ สถานที่ขังความทุกข์อย่างเดียวหรือ? ความจริงแล้ว ห้องขังไม่สามารถขัง "ความสุข" ของเราได้
  • ฉะนั้น ห้องขังในภาษาธรรมคือห้องที่ขังความทุกข์เอาไว้ในใจเรา เราเขาห้องขังทุกวัน และวันและหลายๆ รอบ 
  • เราเข้าห้องขังจนชินชา และไม่รู้่ว่า ทุกข์จากการเข้าห้องขังแบบนี้ในระยะยาวแล้วมันเจ็บปวด และทรมานมากเพียงใด
  • ออกมาจาก "ห้องขัง" ได้แล้ว โดยย้ายเข้ามาสู่ "ห้องธรรม" ซึ่งเป็น "ห้องแห่งสติ" ที่อุดม และอบอวนไปด้วยการ "รู้ ตื่น และเบิกบานด้วยสายธารแห่งธรรม"


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

คำขวัญวันเด็ก

  • คิดสร้างสรรค์         คิดแล้วเราเป็นสุข      ไม่ทุกข์เพราะความคิด
  • ขยันใฝ่รู้               รู้แล้วเราเป็นสุข         ไม่ทุกข์เพราะความรู้
  • เชิดชูคุณธรรม        คุณธรรมนำเราเป็นสุข ไม่ทุกข์เพราะ "คุณนะทำ"


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

วันไหนๆ ก็วันพระ

  • พระ มาจาก "วร" แปลว่า "ประเสริฐ คือ คิด พูด และทำในสิ่งที่ประเสริฐ"
  • มีทั้ง "พระนอก" และ "พระใน"
  • พระนอกเตือนใจ พระในเตือนจิต
  • ปกติเราก็อยู่กับ "พระทุกวัน" คิดประเสริฐ พูดประเสริฐ และทำในสิ่งที่ประเสริฐ
  • คนที่จะเรียกได้ว่า "เป็นพระ" ต้องทำสิ่งเหล่านี้ แม้จะไม่ได้ "บวชเป็นพระนอก"
  • วันพระในภาษาธรรมจึงมีทุกวัน วันไหนคิด พูด ทำประเสริฐ วันนั้น คือ "วันพระ"
  • เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึง "บวชพระ" ก่อนบวช  หรือบวชพระโดยไม่ต้องบวช
  • บวช แปลว่า เว้นจากอกุศลธรรม เว้นจากความไม่ดี
  • บวช "พระนอกหรือใน" ก็ล้วนแต่ต้อง "เว้น" ด้วยกันทั้งสิ้น
  • เรามา "บวช" เป็น "พระ" กันเถอะ เพื่อเราจะได้ "เว้น" "วาง" และ "ว่าง" ต่อไป


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ธรรมเจดีย์

    ระยะนี้ค่อนข้างจะเหนื่อยกายสังขาร และเป็นบ่อยๆ โดยเฉพาะในทุกวันของช่วงเย็น หลังจากทำงาน  บางวันหมดแรงจดลุัก หรือเดินแทบไม่ได้ เพราะความเหนื่อย  นึกถึงพุทธพจน์ "สังขารไม่เที่ยง" แล้ว ทำให้ได้สติ  เราใช้ประโยชน์จากสังขารมาอย่างหนักหน่วง จำวัตรดึกตอนทำวิทยานิพนธ์โทและเอก จนมาถึงช่วงวัยของการทำงาน บางท่านเตือนว่า "อกตัญญูต่อสังขาร" 

    อย่างไรก็ดี ได้สัจธรรมข้อหนึ่งว่า "ร่างกายเป็นรังของโรค" ไม่่ช้าก็ไวเราก็ต้องสละร่างกายของเราไปสู่ภพภูมิอื่นๆ  ถึงกระนั้น  ก่อนถึงเวลานั้น เราคงได้มีโอกาสใช้ร่างกายให้คุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะการสร้าง "ธรรมเจดีย์" เอาไว้ให้คนรุ่นหลังดูต่างหน้า

   บอกเพื่อนรอบข้าง บอกญาติๆ ว่า ขอเพียงอายุ ๕๐ ปีก็เพียงพอแล้ว ประเด็นคือ ก่อนถึง ๕๐ ปี คงได้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่ตัวเอง ญาติๆ และสังคมโลกใบที่เราอยู่ หากวันหนึ่งจะต้องจากไปคงไม่ต้องด่าตัวเองว่า "ทำไมฉันจึงไม่ได้สิ่งดีที่ฉันใฝ่ที่จะทำ"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

บรรยายนิสิตปริญญาเอก

         วันนี้  ไปบรรยายและนำนิสิตปริญญาเอก มหาจุฬาฯ สาขาพระพุทธศาสนา จำนวน  ๒๐ รูป/คน มีทั้งพระภิกษุและคฤหัสถ์หญิง/ชาย สัมมนาประเด็นพระพุทธศาสนากับสันติิวิธีว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เติมเต็มกันและกันอย่างไร  เมื่อเดือนกันยายนหลายคนยังตาลอย ไม่เข้าใจ และสงสัยว่า  "แก่น" ของสันติวิธีืคืออะไร และบางคนมีัทัศนคติในเชิงลบต่อสันติวิธีว่า "สันติิวิธีใช้ได้กับสังคมไทยจริงหรือ" และ "ถ้าใช้ได้ ทำไมสังคมไทยจึงมีชาตากรรมแบบนี้"

        มาวันนี้ ได้เห็นรอยยิ้มแล้วแววตาแล้ว สามารถสรุปได้เลยว่า "สังคมและประเทศชาติ" กำลังจะได้กลุ่มคนที่เรียนรู้ เข้าใจสันติิวิธี และกำลังนำสันติวิธีไปปรับใช้กับชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เข้าไปทำหน้าที่เป็น "ธรรมทูต" เพื่อหวาน "เมล็ดพันธุ์แห่งสันติ คือความสะอาด สงบ และสว่าง" แก่ชาวโลกต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ปิดทองหลังพระ

การปิดทองหลัง "พระ" ใน "ภาษาคน" คือ การปิดทอง "พระ" ที่เป็นวัตถุดังที่เรามักจะพูดถึงกันอยู่เสมอๆ แต่เมื่อกล่าวถึงการปิดทองหลัง "พระ" ใน "ภาษาธรรม"  พระมาจากคำว่า "วระ" คือ "ประเสริฐ" หมายถึง "กาย วาจา และใจประเสริฐ" ฉะนั้น ใครก็ตามที่กาย วาจา และใจที่ประเสริฐ เราสามารถเรียกผู้นั้นว่า "พระ" เช่น "พ่อแม่คือพระในบ้าน" เพราะท่านมีกายวาจา และใจที่ประเสริฐ  "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ก็เพราะพระองค์มีพระคุณอันประเสริฐ

ฉะนั้น การปิดทอง ไม่ว่าจะ "หน้าพระ" หรือ "หลังพระ" แต่ถ้า "กาย วาจา และใจไม่ประเสริฐ"  การปิดทองจะก่อให้เกิด "คุณค่าแท้" ได้อย่างไร  ด้วยเหตุนี้ อยากจะเชิญชวนพวกเรามาร่วมกันปิด "ทองแท้" เพื่อที่จะได้มอบ "คุณค่าแท้" ให้แก่ชีวิตของเราเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

"วินัยคือหัวใจแห่งความสำเร็จ" นี่คือ "Motto" ที่ใครก็ตามซึ่งกำลังแสวงหา "ความสำเร็จ" จำเป็นต้องสร้าง และรักษาให้อยู่กับชีวิตของในทุกลมหายใจ  วีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่หรือศาสดาของทุกๆ ศาสนาได้อาศัยกฎวิเศษข้อนี้ เป็นเครื่องมือในการพิชิตความสำเร็จ หรือพิชิตความทุกข์เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน  เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้ตัดสินใจเลือกที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ขอจงมี "วินัย" กับตัวเองโดยการมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย อย่าให้ใครหรือสิ่งใดมาทำลายความฝันอันสวยงามที่เราได้วาดหวังไว้ หากวันหนึ่งเราเหน็ดเหนื่อยและท้อถอยต่อปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านเข้ามา และไม่เหลือใครหรือสิ่งใดให้ยึดถือเป็นแบบอย่าง และแรงบันดาลใจแล้ว ได้โปรดนึกถึง "ศาสดา" ที่ตัวเองเคารพ นับถือและยึดเหนี่ยว  เมื่อนั้นท่านจะพบว่า "วินัยมีค่าเพียงใดในยามวิกฤติ" เพราะท่านเหล่านั้น ได้พิสูจน์ทราบคำนี้ให้เราได้ประจักษ์มาแล้ว แล้วท่านหล่ะ ได้พิสูจน์ และทดลองชิงลางคำว่า "วินัย" แล้วหรือยัง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

ในขณะที่เฝ้ามองเพื่อนพ้องน้องพี่ในสังคมไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ของความขัดแย้ง ถามว่าพระพุทธศาสนามองสถานการณ์นี้อย่างไร พระพุทธศาสนายอมรับว่า “ความขัดแย้ง” จัดได้ว่าเป็น “ทุกข์ของบุคคลและสังคม” ถึงกระนั้น ก็ยอมรับว่าความขัดแย้งเป็น “ธรรมชาติ” หรือ “สิ่งจำเป็น”ของมนุษย์และสังคม เพราะ "ความขัดแย้ง" จะเกิดขึ้นทันทีที่คนสองคนต้องการสิ่งเดียวกัน และในเวลาเดียวกันคน ภายหลังที่สองคนหรือสองกลุ่มไม่สามารถเจรจา หรือแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดได้ให้แก่กันและกันได้ โดยยึดจุดยืน และผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง คำถามที่เราต้องถามไม่ใช่คำว่า "ทำไมเราจึงขัดแย้งกัน" แต่เราควรถามกันและกันว่า "วันนี้ พรุ่งนี้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขได้อย่างไร" หรือ "ลูกหลายเราจะอยู่อย่างไรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า"

ท่านใดสนใจเรื่องพุทธสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง กรุณาดูเพิ่มเติมโดยละเอียดในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้เขียนได้ที่ http://www.mcu.ac.th/thesis_file/254818.pdf



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการบรรยายสรุปวิชา "การคิดและการใช้เหตุผล" หลังจากใช้เวลา ๑ เทอม สอนนักศึกษาพยาบาล ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ นี่เป็นครั้งแรกที่ตัดสินใจรับบรรยายในหลักสูตรปริญญาตรี เพราะจะสอนเฉพาะหลักสูตรปริญญาโท และเอกของมจร. จะเห็นว่าผู้ที่ผลักดันให้เกิด "แรงบันดาลใจ" ของนักศึกษาเหล่านี้คือ "ไนติงเกล" ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น ๒ ประการหลัก คือ "เมตตา" ความรักที่มีให้มนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน และ "กรุณา" คือ ความสงสารเพื่อนมนุษย์และทนไม่ได้เมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์มีความทุกข์ และพร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทั้งร่างกายและจิตใจ  ในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่ง เชื่อมั่นเหลือเกินว่า นักศึกษาเหล่านี้จะเป็นพยาบาลที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ผู้ซึ่งจะคอยหยิบยื่นความรัก ความฝัน และแรงบันใจ" ให้แก่คนไข้ผู้กำลังเฝ้ารอสองมือน้อยๆ ของเธอ ผู้เปรียบประดุจดัง "ไนติงเกล"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธรรมหรรษา
เขียนเมื่อ

"รูปปั้นเอ๋ย ท่านชื่ออะไร"

"ฉันชื่อโอกาส"

"ใครเป็นคนแกะสลักท่านขึ้นมา"

"ช่างแกะสลักชื่อ ลีซีปัส"

"ทำไมท่านจึงยืนเขย่งเท้า?"

"เพื่อบ่งบอกว่าฉันอยู่เพียงชั่วครู่ชั่วยาม"

"แล้วทำไมที่เท้าของท่านจึงมีปีก"

"เพื่อแสดงให้เห็นว่าฉันจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว"

"แต่ทำไมผมด้านหน้าของท่านจึงยาวอย่างนี้"

"ก็เพื่อให้คนที่พบฉัน จะได้จับฉวยไว้ได้ง่าย"

"แล้วทำไมหัวด้านหลังของท่านจึงล้าน ไม่มีผมแม้แต่เส้นเดียว"

"ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า เมื่อฉันผ่านไปแล้ว ก็ยากที่จะจับฉันได้ใหม่"
จริงด้วย ทางด้านหน้าของ "โอกาส" มีผมยาวแต่ด้านหลังล้านเกลี้ยง เพราะเมื่อปล่อยให้ "โอกาส" ผ่านไปแล้ว ก็ยากที่จะจับยึดมันกลับมาได้อีก

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท