ความร่วมมือระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว


ถือว่าวันนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์ 2 สาขานี้ เพื่อส่งเสริมงานฟื้นฟูสภาพให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้น

วันนี้มีการประชุมวิชาการประจำปีของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งการประชุมทั้งวันในวันนี้จะเป็นเรื่องเวชศาสตร์ฟื้นฟูในระดับปฐมภูมิ มีกรณีศึกษาเรื่อง Spinal cord injury , Stroke และ Cerebral palsy รวมถึงการจดทะเบียนผู้พิการ สิทธฺประโยชน์ผู้พิการ แนวคิดเรื่อง Community-based rehabilitation และสุดท้ายจบลงด้วยการหาทางร่วมมือในการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยเรื้อรังระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว


ใน session สุดท้ายได้เปิดแนวคิดเรื่อง Subacute care rehab model ตั้งแต่ระดับ 2 ดาว ถึง ระดับ 5 ดาว ซึ่งจุดเชื่อมโยงอยู่ที่ระดับ 3 ดาว คือโรงพยาบาลอำเภอหรือโรงพยาบาลทั่วไปที่ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และระดับ 2 ดาวคือสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมตำบล ซึ่งทั้ง 2 ระดับนี้จะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลอยู่ เพียงแต่เพิ่มองค์ความรู้เรื่องการฟื้นฟูเข้าไปสำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาล และนักกายภาพบำบัด ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการฟื้นฟูสภาพมากขึ้น


ก่อนจบได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คน เพื่อตกผลึกแนวคิดและความเป็นไปได้ในการเริ่มต้นที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง มีข้อเสนอแนะจากกลุ่มย่อยดังนี้

 

1. ต้องเพิ่มองค์ความรู้ทางด้านการฟื้นฟู เพราะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวไม่มีความมั่นใจเลยเวลาไปเยี่ยมบ้านแล้วพบผู้พิการ ตนเองจึงอยากมีความรู้เบื้องต้นว่าจะมีการวางเป้าหมายดูแลผู้พิการอย่างไร การเรียนรู้ทำได้หลายรูปแบบเช่น    

 

         1.1 เพิ่มในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านให้เข้มข้นขึ้น

         1.2 ไปดูงานต้นแบบที่เป็นตัวอย่างดีๆ ที่มีอยู่แล้ว

         1.3 ทำหลักสูตร Intensive rehab short course 2-4 สัปดาห์

 

2. สนับสนุนทีมสหสาขาวิชาชีพให้มีความรู้ด้านการฟื้นฟู เช่นพยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

 

3. ส่งเสริมให้ผู้พิการหรือจิตอาสา มามีส่วนร่วมในดูแลผู้พิการกันเองด้วย

 

4. ทำระบบเครือข่ายและส่งต่อให้ดี รู้เป้าหมายชัดเจนในการฟื้นฟู

 

5. ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญถึงขับเคลื่อนไปได้ แต่ผู้ปฏิบัติต้องแสดงศักยภาพของตนเองด้วยเช่นกัน และมีความเป็นผู้นำ

 

ถือว่าวันนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์ 2 สาขานี้ เพื่อส่งเสริมงานฟื้นฟูสภาพให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้น


มีตัวอย่างดีๆ จะนำมาเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไป แล้วคุณหล่ะมาช่วยแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกันบ้างนะคะ

หมายเลขบันทึก: 483456เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์

เวชศาสตร์ฟื้นฟูคนพิการ เคยทำงานด้านคนพิการพัทลุง"โครงการเพิ่มพูนทวีพลังคนพิการ"

ล่าสุดได้ประชุมร่วมกับสปสช.ภาคใต้ที่สสจ.พัทลุง หาทางฟื้นฟูคนพิการ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/478593

สวัสดีค่ะคุณวอญ่า

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ อีกหน่อยคงต้องทำ COP งานคนพิการ ดีไหมคะ

ดีครับ เชื่อมโยงเครือข่าย ค้นหาทุนทางคนพิการ "ชวนคุย ร่วมคิด ค้นทุน" คงพบสิ่งดีๆจากการค้นสืบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท