เก็บตกจาก HA1 : บูรณาการงานกับชีวิต ดั่งเมล็ดไทร อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์


เราจะส่งต่อแผ่นดินไทยให้คนรุ่นหลังอย่างไร

ได้มีโอกาสมางาน 13th HA National Forum  เป็นงานประชุมที่ผมได้มีโอกาสมาเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 ปีครับ

ตอนแรกตั้งใจจะเข้า workshop ของ อ.วิธาน  และ อ.สกล  เรื่องการเขียน แต่มีคนลงทะเบียนกับอาจารย์ทั้งสองท่านจนเต็มทั้งสองวันเลยต้องหาที่ในการ เพิ่มเติมความรู้และแรงบันดาลใจกันใหม่

ไม่ต้องคิดมาก  เข้าห้องใหญ่ Grand ballroom รี่แหละ  ที่นั่งเยอะ  พอที่จะเบียดนั่งได้บ้าง

คนแรกที่ได้เข้าฟัง  คือ  อาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์  ชื่อเรื่องตาม theme ของการประชุมครั้งนี้  คือ  บูรณาการงานกับชีวิต 

ดูตามชื่อเรื่องแล้ว  ไม่ค่อยอยากเข้าเท่าไหร่  เพราะรู้สึกเบื่อกับคำๆนี้ที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองใช้คำนี้  ประดิษฐ์ถ้อยคำให้สวยหรู  ใช้กันเกร่อจนเป็นคำโหลๆ  

แต่ดูที่วิทยากร  อาจารย์ชัยวัฒน์   ผมเคยเข้า World cafe สั้นๆสองครั้งในการประชุมจิตตปัญญาของม.มหิดล  รู้สึกประทับใจในกระบวนการของอาจารย์  เกิดข้อสงสัยว่า
แล้วทำไมต้องบูรณาการด้วยนะ  งานก็คืองาน  ชีวิตก็เป็นภาพใหญ่  แต่ความคิดของกระผม  ชีวิตจริงๆก็คือหลังเลิกงานกับตอนดื่ม Pepsi (เต็มที่กับชีวิต)


อาจารย์พูดว่าอย่างไรบ้าง 
-ผลงานที่ยิ่งใหญ่  เริ่มต้นจากคำถามที่ยิ่งใหญ่  ฉะนั้นเริ่มจากการตั้งคำถาม
-คำถามอะไร  "เป้าหมายของชีวิตที่แท้จริงคืออะไร"
-"เราจะส่งต่อแผ่นดินไทยให้คนรุ่นหลังอย่างไร"
-เริ่มจากตนเอง   แล้วนำไปสู่การพูดคุยแลกเปลี่ยนในกลุ่มคนเล็กๆก่อน
-คิดแล้วต้องทำด้วย
-อยากได้ Output ใหม่  ก็ต้องเปลี่ยน Input และ Process ใหม่
-เมื่อเลือกทำงานที่มีความหมายกับชีวิต เราก็มีราคาหรือต้นทุนที่ต้องสูญเสียไป


 และผมสรุปว่าอย่างไร  โดยขอเอาในสิ่งที่อาจารย์นำเสนอร่วมกับองค์ความรู้ที่ผ่านมา  ขอเอาแนวคิดอริยสัจ 4 มาจับ
สภาพปัญหาของคนทำงานในปัจจุบัน(ทุกข์) - คนทำงานไม่มีความสุข  ผลงานก็ออกมาไม่ดีหรือไม่มีประสิทธิภาพ

สาเหตุของปัญหา(สมุทัย) -
1)คนทำงานไม่มีเป้าหมายในการทำงาน  ใช้ชีวิตหรือทำงานเป็นวันๆ   ไม่เคยตั้งคำถามกับชีวิต
2)คนทำงานมีเป้าหมาย  แต่เป้าหมายไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายของชีวิต
3)คนทำงานมีเป้าหมายซึ่งตรงกับเป้าหมายของชีวิต  แต่เป้าหมายของชีวิตนั้นไม่ได้มีความหมายหรือคุณค่าอย่างแท้จริง

เป้าหมาย(นิโรธ) - คนทำงานมีความสุข  ทำงานโดยบูรณาการไปกับชีวิต  ชีวิตกับงานเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน

แนวทาง (มรรค)
1)หาเวลาให้กับตนเอง  เพื่อถามตนเองว่า  "เป้าหมายในชีวิตที่แท้จริงคืออะไร"
2)ได้เป้าหมายแล้ว  ลองหากลุ่มเล็กๆที่เราไว้วางใจ   เปิดวงพูดคุย  เพื่อหล่อเลี้ยงกันและกัน
3)คิดอย่างเดียวไม่พอ  ต้องทำด้วย
4)ทำแล้วต้องอดทน  และยอมรับกับต้นทุนหรือโอกาสที่สูญเสียไป  เช่นอาจารย์ที่มาทำงานภาคประชาสังคม  อาจารย์ก็ต้องยอมสูญเสียโอกาสในการทำงาน  ต้องทำงานกว่า 20 ปี  กว่าจะได้รับการยอมรับ

ข้อเสนอแนะสำหรับโรงพยาบาล
-ทางโรงพยาบาลต้องจัดพื้นที่และเวลาในการพูดคุยแลกเปลี่ยนของบุคลากรถึงเป้าหมายในชีวิต

หมายเลขบันทึก: 483007เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณหมอ การบูรณาการงานกับชีวิต ฟังด้วยกันในห้องนี้ และบันทึกไว้ที่นี้ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/482112

ในมุมมองมุมคิดของ พนักงานเปลบ้านนอก

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณเช่นกันครับ ผมได้ฟังก็คิดตามไปว่า แล้วเป้าหมายชีวิตคืออะไรหนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท