ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

กรมส่งเสริมฯ ฟื้นฟูมหาจุฬาฯ เทิดพระเกียรติพ่อหลวง


     เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา กรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นำโดยนายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดี นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดี   รองอธิบดี และ นายสากล ฐินะกุล ผู้อำนวยการสำนักการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จำนวน ๒๐๐ กว่าคน  ได้จัดกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

     ในกิจกรรมดังกล่าวนั้น  กรมส่งเสริมฯ  และกรมอุทยานแห่งชาติ ได้ร่วมกันฟื้นฟูมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนที่ ๒ และการปฏิบัติธรรมประจำปีของนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอก  โดยได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมฟื้นฟู (๑) การฉีดน้ำ และทำความสะอาดถนนภายในมหาวิทยาลัยทุกเส้นทาง ตั้งแต่ปากทางเข้ามหาวิทยาลัยจนถึงอุโบสถกลางน้ำ รวมระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร (๒) เก็บกวาดขยะตกค้าง และเศษไม้ที่ชำรุดเสียหายจาการประสบอุทกภัย  และ (๓) การถอนต้นไม้ที่ยืนตายจากการถูกน้ำท่วม

     มหาจุฬาฯ ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ และน้ำในพื้นที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้เริ่มแห้งสนิทตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน เป็นต้นมา และมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการฟื้นฟูมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดกิจกรรมฟื้นฟูโดยการทำความสะอาดครั้งใหญ่อีกครั้งในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔  ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ เป็นต้นไป


     ในการนี้ จะมี องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถาบันพระปกเกล้า (ปปร. ๑๕)  ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่  ผู้พักพิง และอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑,๐๐๐ รูป/คน เข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูมหาวิทยาลัยโดยการทำความสะอาดร่วมกันในวันและเวลาดัง กล่าว

หมายเลขบันทึก: 470385เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2011 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขออนุโมทนาด้วยครับ
  • มีหลายหน่วยงานที่ช่วยกันได้นะครับ

“กฎหมายอาญาของไทยเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองประมุขของรัฐต่างประเทศและผู้แทนของรัฐต่างประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากมาตรา ๑๓๓ และ มาตรา ๑๓๔ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

มาตรา ๑๓๓ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๓๔ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น ถ้ายกเลิกมาตรา ๑๑๒ ผลตามกฎหมาย ก็คือ ประเทศไทยให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ แต่ไม่คุ้มครองประมุขของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัยของอารยประเทศอย่างยิ่ง และหากจะยกเลิกมาตรา ๑๓๓ และมาตรา ๑๓๔ ไปพร้อมกับมาตรา ๑๑๒ ผลก็คือ ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศป่าเถื่อนในสายตาสังคมโลก และไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดในโลกคบค้าสมาคมด้วย เพราะไม่ให้เกียรติแก่ประมุขของเขา ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศเหล่านั้น”

- “ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรก ก็คือ มาตรา ๑๑๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา ๓๒๖ เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ เจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้ เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง ดังนั้น หากยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิของประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้”

- “มาตรา ๒๘ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เสรีภาพของบุคคล ย่อมมีข้อจำกัดโดยเสรีภาพอีกคน ดังนั้น จะปล่อยให้คนผู้หนึ่งไปละเมิดเสรีภาพคนอื่นก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเสรีภาพมีขอบเขต ไม่ใช่ไม่มีข้อจำกัด เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน แค่อย่าใช้เสรีภาพไปก้าวล่วงเท่านั้น ก็จะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒”

- “การที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ โดยมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของตนนั้น อยากทำความเข้าใจให้ทราบว่า คนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพของตน แต่สิทธินั้นเป็นสิทธิที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม และจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่นด้วย และทุกคนไม่ควรมองถึงบทลงโทษของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรมองถึงประเด็นที่มีคนบางคน หรือบางกลุ่ม ที่พยายามจะกระทำผิดกฎหมาย โดยการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสถาบันฯ และมองว่าคนผู้นั้นกระทำผิดอย่างไร ได้รับโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้วหรือไม่ เพราะกฎหมายและบทลงโทษในทุกมาตราถูกกำหนดมาเพียงเพื่อป้องปรามการกระทำผิดเท่านั้น หากไม่มีผู้ใดกระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายก่อน บทลงโทษนั้นย่อมจะไม่มีผลแต่อย่างใด”

๒. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีคุณูปการต่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะแนวทางพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง”, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โครงการศิลปาชีพ, โครงการหลวง และโครงการอื่นๆ ที่ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท