พาหนะคู่กาย..


ผู้ใหญ่ใช้พาหนะที่ต้องเติมน้ำมันแต่ของเด็ก ๆ ซิ ไม่เสียอะไรเลย นอกจากเสียเหงื่อเท่านั้นเอง

    เมื่อเข้าฤดูฝนของทุกปี เมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ถูกหยอดลงบนผืนดิน ให้งอกเงยและเจริญเติบโตเพื่อเป็นอาหารประทังชีวิตให้กับชาวบ้าน แม้มันจะไม่ได้ถูกดูแลอย่างเต็มที่ ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง แต่ชาวบ้านรู้ว่า พืชแต่ละชนิดที่หยอดลงไปนั้นเมื่อมันโตขึ้น มันจะพึ่งพาซึ่งกันและกัน แมลงที่มาดมดอมหาใช่มาทำลายพืชพันธุ์ หากแต่มันมาช่วยให้พืชพันธุ์มีสีสันสดชื่นมากกว่า ...
    ทุก ๆ ฤดูฝน สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นระหว่างการเดินทางเข้าพื้นที่ คือ รถจักรยานยนต์พาหนะคู่กายของชาวบ้านในพื้นที่ รถยนต์เหรอ??? อย่าพูดถึงมันเลย ไม่ใช่เพราะชาวบ้านไม่มีเงินซื้อ แต่เป็นเพราะถนนและการเดินทางต่างหากละ ต่อให้มีรถยนต์ใช้ คงได้ใช้แค่ไม่กี่เดือน ส่วนฤดูฝน (เกือบ 6 เดือน) คงเก็บรถยนต์ไว้ในโรงจอด เจ้าของคงแค่แวะมาดูหรือติดเครื่องบ้างบางครั้งเท่านั้น...
  
    รถจักรยานยนต์หรือที่เรียกกันติดปากว่า "รถเครื่อง" เป็นยานพาหนะคู่กายคู่ใจที่มีเกือบทุกครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับเดินทางไปสวน ไร่ นา หาของป่าและเดินทางเข้าไปในเมือง เพื่อซื้อของใช้ หรือหาหมอ ฯลฯ สำหรับบุคคลภายนอกที่เดินทางเข้าพื้นที่ในหน้าฝนโดยพาหนะที่เรียกว่ารถเครื่องนั้น จำเป็นจะต้องพกโซ่ติดไว้เสมอ หากเจอถนนวิบากที่แสนมหาโหด ค่อยดึงมันออกมาพันรอบล้อ จึงจะสามารถเดินทางต่อไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย (หรือไม่ก็ไม่แน่ใจอยู่ที่คบขับขี่ด้วย) แต่สำหรับชาวบ้านแล้ว..พวกเขาไมาจำเป็นที่จะต้องใช้โซ่เลย เพราะมีบางสิ่งที่สามารถใช้แทนโซ่ได้ โดยไม่ต้องเสียเงินเลย...นั่นก็คือ ยางรถเครื่องนี่แหละ เป็นยางรถเครื่องวิบาก ที่หาได้ง่ายตามอู่ซ่อมรถ ชาวบ้านก็ขอมาแล้วเจาะยางให้มีัลักษณะคล้ายโซ่ (อธิบายไม่เป็น ดูจากภาพละกัน) มันสามารถพาเจ้าของเดินทางไปได้ทุกทิศ..หากน้ำมันไม่หมดเสียก่อน

 

     ยานพาหนะอีกอย่างหนึ่ง แม้มันอาจจะไม่ได้พาเจ้าของไปได้ทุกทิศ แต่มันทำให้เด็ก ๆ สนุกสนานตื่นเต้นเสมอ นั่นก็คือ รถเครื่องไม้ไผ่ มันเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ๆ ผู้ชายในป่าในเขา ซึ่งทำขึ้นง่าย ๆ ด้วยไม้ไผ่และไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เด็ก ๆ สามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องรบกวนพ่อแม่เลย เมื่อทำเสร็จแล้วจะเป็นความภูมิใจของพวกเขาหากรถเครื่องสามารถใช้งานได้ดี..แล้วเด็ก ๆ ก็แบ่งกันเล่นอย่างมีความสุข แม้ฝนจะตกหรือแดดจะออก เด็ก ๆ จะรู้สึกเหนื่อยหรือหมดพลังเมื่อท้องร้องจ๊อก ๆ  ๆ หิวข้าวแล้วครับ
   วิธีเล่นรถเครื่องไม้ไผ่ คือ ต้องเขนขึ้นไปให้ถึงยอดดอยก่อน แล้วขี่ลงมาด้วยความเร็วเท่าไหร่แล้วแต่ความสามารถของเด็ก ๆ แต่ละคน วิธีเบลคหรือหยุดรถเครื่องไม้ไผ่คันเก่งง่าย ๆ โดยการใช้เท้าเหยียบล้อ หรือหาที่เหมาะ ๆ หักรถหลบเลย..อาจจะบาดเจ็บบ้างเล็กน้อย แต่เด็ก ๆ แข็งแรงและสนุกมากมายค่ะ 
 

หมายเลขบันทึก: 446387เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มันเป็น "วิถีชีวิต" ที่เราคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ควรเข้าใจให้ได้มากที่สุด

ถือเป็นความเหลี่ยมล้ำที่รัฐไม่เคยเข้าถึงสักที ;(

ดีใจที่เห็นงานเขียนนะ ;)...

จะเริ่มเขียนละค่ะ รู้สึกว่ามีอีกหลายมุมที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยสัมผัส

ขอฝากบันทึกน้อย ๆ จากศิษย์ที่กำลังเริ่มเขียนบันทึกนะค่ะ

ยินดีอย่างมาก และนั่นแหละคือสิ่งที่ครูต้องการ

เพราะมุมมองและหน้าที่การงานของ ดอกหญ้าน้ำ 

เป็นสิ่งที่สมควรต้องบอกให้โลกภายนอกรู้บ้างว่าเป็นอย่างไร

ครู ... โปรโมชั่นเต็มที่ครับ ;)...

ขอบคุณค่ะ เพราะครูเป็นแรงผลักดันและแรงบันดาลใจ

หนูจึงได้ลงมือทำ แต่อาจจะช้าหน่อย ไม่เป็นไรใช่ไหมค่ะ

ไม่มีปัญหาจ้า ดอกหญ้าน้ำ ;)...

เมื่อใจพร้อม ทุกอย่างก็จะไปได้เร็วครับ

เพียงแค่เดินไปทีละก้าว ๆ ก็เพียงพอแล้วครับ

เรากำลังทำให้สังคมดีขึ้นนะครับ ;)...

"ดอกหญ้าน้ำท่านได้แต่ไดมา

มิสงกาแต่สนใจในชื่อนี้

"หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง"ติดตามมาหลายปี

ดอกหญ้าน้ำนามนี้ ขอชื่นชม"

"ดอกหญ้าน้ำท่านได้แต่ไดมา

มิสงกาแต่สนใจในชื่อนี้

"หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง"ติดตามมาหลายปี

ดอกหญ้าน้ำนามนี้ ขอชื่นชม"

ขอคุณมากค่ะ คุณวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

5555555555 เห็นภาพถนนแล้ว ที่เคยบอกว่า ถ้าตำแหน่งครูดอยว่าง ให้กระซิบบอกด้วยนั้น หากต้องไปเจอสภาพถนนเช่นนี้ ขอคิดดูอีกทีละกันนะ อิอิ สุดยอดอ่ะ อะไรมันจะขนาดนั้น ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่รุ่นพี่ที่เค้าเล่ากัน มันจะเป็นเรื่องจริง คิดว่าเค้าเล่าเพื่อให้เราขำเล่นซะอีก พอเห็นบันทึกคุณดอกหญ้าแล้ว มันเป็นเรื่องจริงนี่นา แต่ว่าได้ใจมากเลยบันทึกนี้กับรถไม้ที่เด็กๆขี่เล่นกัน มันเป็นอะไรที่ (น่ารักอ่ะ:-) 555555 อยากเห็น ของจริงเวลาที่น้องๆเล่น โดยเฉพาะเวลาน้องเบรก หักหลบ ตรงที่เหมาะๆ 555555555 อ่านบันทึกคุณ ดูอบอุ่น แล้วมีความสุขมาก เป็นอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจ ได้เห็นอะไรแปลกใหม่ ทำให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่ายังมีอีกหลายชีวิต ที่ยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ ยากลำบาก รึเปล่า แต่ดูเรียบง่ายดีค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครูNopparat Pongsuk ไม่แปลกหรอกค่ะที่คุณครูคิดจะถอย บางทีความสบายกับความทุกข์มันถูกกำหนดด้วยสภาพแวดล้อม แต่สำหรับที่นี่เขาก็มีความสุขดีกับการใช้ชีิวิตแบบนี้ หากจะให้เขาไปอยู่ในเมือง เขาก็รูปสึกแบบเดียวกับคุณครูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท