พระโรงงาน "เนื้อผง" ฝีมือจัด ที่พบบ่อยในตลาดพระ


พระโรงงานฝีมือจัดเหล่านี้จะพบบ่อย ที่ทำให้เราหยิบผิดได้ง่ายๆ

ในระยะนี้ผมบังเอิญโชคดีที่ได้มีโอกาสไปบุก "รังใหญ่" หลายแห่ง และในขณะเดียวกันก็มี "สายเดินพระ" ช่วยสนับสนุน การค้นหาพระสมเด็จ มาเรื่อยๆ

ทำให้ผมได้พระสมเด็จวัดต่างๆ มาเพิ่มเรื่อยๆ

  • ทั้งที่เป็นกลุ่ม ๓ วัด ของท่านพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี
  • รุ่นพระอาจารย์ของท่าน
  • กลุ่มรุ่นลูกศิษย์ของท่าน และ
  • พระร่วมสมัย
  • จนกระทั่งพระเนื้อผงรุ่นหลังๆ อายุ ประมาณ ๕๐ ปี ขึ้นไป 

เพื่อการศึกษาการวิวัฒนาการของผิวพระเนื้อผง 

โดยเริ่มพิจารณาจาก

  • ตามอายุของเนื้อ
  • สภาพการกร่อน การงอก
  • รูน้ำตา คราบเหงื่อปูน และธารน้ำตา 
  • ความนุ่ม และนวลแป้งของผิว
  • โดยไล่เลียงตามอายุ และวิวัฒนาการของปูนเปลือกหอย

แล้วจึงหันมาพิจารณา

  • พิมพ์ทรง ความอ่อนช้อยของศิลปะ
  • ความสอดคล้อง หรือเหมือนกัน ทั้ง ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง
  • ที่ช่างโรงงานทำพระส่วนใหญ่ ยังทำให้ "เนียน" ได้ไม่หมด

จึงได้พระกลุ่มเนื้อผง เพื่อการศึกษาและตัวอย่างในการสอน มาพอสมควร

ในระหว่างนี้ ระบบการหาพระของผมก็จะถูกรบกวนแบบ "มารผจญ" ด้วยพระโรงงานฝีมือจัด "เนื้อผง" ที่พบบ่อยในตลาดพระ

เรื่มตั้งแต่

  1. พระเก๊โบราณ
    • จะมีผิวและเนื้อสวยมาก
    • มีผิวครบทุกแบบ หลายชั้น
    • ทั้งบ่อน้ำตา ผิวหินอ่อนครบหมดแบบพระแท้
    • ที่ไปไม่ได้เลย ก็คือ "ผิดพิมพ์"
    • จะมีพิมพ์ที่ ทั้งผิดสัดส่วน ปะปนกันของแต่ละบล็อก หรือแม้กระทั่งข้ามกลุ่มของ "พิมพ์"
    • อย่างน้อยก็เพี้ยนจากพิมพ์มาตรฐาน ที่พวกเชียนนิยมใช้คำว่า "ผิดพิมพ์"
    • ต่างจาก "เก๊ใหม่" ที่พิมพ์ถูกต้องหมด แต่เนื้อไปไม่ได้
  2. พระเคลือบเรซิน
    • จะพบบ่อยในกลุ่มวัดระฆัง และอาจมีในรุ่นลูกศิษย์บ้างเล็กน้อย 
    • ผิวจะออกมัน ที่คนขายจะหลอกให้เราหลงทางว่า "พระล้าง"
    • มีการผสมเรซินกับมวลสารคล้ายพระสมเด็จ
    • อาจมีการฉาบแป้ง ให้ดูผิวนวล
    • หรือใช้เรซินสีขาวนวลโปะเป็นแถบๆ
    • ที่จะมีผิวกระด้าง ไม่นุ่มตา
    • อาจมีรอยแยกแบบขอบเป็นเหลี่มมุมคมชัด
    • มักไม่พบบ่อน้ำตา หรือธารน้ำตา
    • อย่างมากก็มีจุดดำๆ ที่ไม่เป็นรูโพรง ข้างๆโปะด้วยเรซินสีนวลกว่า แบบสีเดียวทั้งแถบ ไม่มีการไล่ระดับสี
  3. พระเรซินแต่งผิว
    • ฝีมือจะหยาบกว่าพระเคลือบเรซิน
    • เนื้อและผิวจะดูแข็งกระด้างไปทั้งหมด
    • อาจแต่งผิวให้ดูขาวนวล
    • หรือขัดให้ดูสีก
    • อาจมีการทาสีดำคล้ายรักบางส่วน
    • ผิวจะแข็งกระด้างแบบพลาสติด ไม่มีนวลแป้ง
    • สารต่างๆที่ทาจะติดผิวแนบแน่น ไม่เกาะหลวมๆ ไม่มีช่องว่าง
  4. พระเรซินทารักปิดทอง
    • พบมากในกลุ่มวัดระฆัง
    • ลักษณะแบบพลาติกทาสี แล้วปิดด้วยทอง
    • ผิวพระจะเรียบมัน ไม่มีบ่อน้ำตา ไม่มีคราบเหงื่อปูน
    • สีที่ทาจะติดแน่นสนิทแกะยาก
    • ทองที่ทาจะดูใหม่ๆ
  5. พระเรซิน ชุบกาวทอด ฝ้งดิน
    • พบมากในกลุ่มพระเลียนแบบ "บางขุนพรหม"
    • จะเป็นพระเรซิน ที่ทำให้มีผิวขรุขระ แบบคล้ายๆ "ผิวงอก"
    • แล้วนำไปชุบสารเหนียวๆแบบกาว ทอดน้ำมันให้เกือบไหม้ เป็นสีน้ำตาล คล้ายสีน้ำมันตังอิ๊ว
    • นำไปฝังดินให้มีลักษณะคล้ายคราบกรุ
    • นำมาขัดผิวนอกให้ดคล้ายๆกับมี "ผิวงอก" ขาวๆ

พระโรงงานฝีมือจัดเหล่านี้จะพบบ่อยมาก ที่ทำให้เราหยิบผิดได้ง่ายๆ

แต่ก็จะพบน้อยกว่าพระฝีมือหยาบ เพราะหายากกว่า ต้นทุนมาแพงกว่า

ราคาต้นทุนเท่าที่ทราบอยู่ที่องค์ละ ๕๐-๑๐๐ บาท แล้วแต่ระดับของตลาด

ทางแผงจะนำมาขายองค์ละ ๒๐๐๐- ๕๐๐๐ บาท ต่อรองได้

แต่ถ้าบังเอิญ เห็น "หมูสนาม" เดินมา จะโก่งเป็น หลักหมื่น หลักแสนทันที

ถ้าแลกกันเองจะว่ากันที่ ๓๐๐-๕๐๐ บาท แล้วแต่ระดับความใกล้เคียงกับของจริง

จึงขอเตือนท่านที่กำลังศึกษา อย่าไปหลงหยิบให้ช้ำใจ

ถ้าอยากลองวัดสายตา ก็ต้องตกลงล่วงหน้าว่าขายคืนได้ราคาเท่าเดิม ถ้าคิดหักลดอย่าเสี่ยง

แต่ อย่าลองเลยครับ

เสียเวลา เสียเงิน และเสียความรู้สึกเปล่าๆ

ดูผิวแป้งนวลเหงื่อปูน รูน้ำตา ธารน้ำตา ผิวปูนงอก คราบกรุ ให้ครบ ดูพิมพ์ใหถูกต้อง และสุดท้าย ความเหมือนกันทั้งหน้า ข้าง และหลัง

แล้วค่อยต่อรองแล้วหยิบดีกว่าครับ

ขอให้โชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 445754เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พระโรงงานไม่น่ากลัวเท่าสาวโรงงานนะครับ

การผลิตพระสมเด็จเทียมทำกันมานาน นานจนเล่นเก๊เป็นแท้ไปมาก จนเซียนเองก็ตกม้าตายได้ แต่เซียนเก่งๆจริงจะแยกแยะได้ถึง ร้อยละ 95ครับ

ความรู้รอบด้าน จริงๆครับอาจารย์ ผมขอฝากตัวเป็นศิษย์เลยนะครับแบบนี้

ถ้าอาจารย์ไม่รับผม ผมจะอดข้าวอดน้ำ จนกว่าอาจารย์จะยอมรับ 55555 (ผมจะตายก่อนใหมครับ) อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท