ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

คำตอบ


พิันัยกรรมชีวิต vs. หนังสือแสดงเจตนา

ThaiLivingWill

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คำ ว่า “พินัยกรรมชีวิต” เป็นคำเรียกติดปากคนทั่วไป แปลมาจากภาษาอังกฤษคำว่า “living will”  ซึ่งก็คือ “หนังสือแสดงเจตนา” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 นั่นเอง 

แต่คำว่าพินัยกรรมชีวิต เป็นคำแปลที่ไม่ถูกต้องตามความหมายแท้จริง  คำว่า “will” ในที่นี้หมายถึง ความปรารถนา, ความต้องการ, ความมุ่งหมาย,

ทางเลือกของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาหรือผู้ป่วย ไม่ได้หมายถึงพินัยกรรม คำว่า “พินัยกรรม” หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อกำหนดเรื่องทรัพย์สินหรือเรื่องอื่นๆ ที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะเกิดผลทางกฎหมายภายหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมเสีย ชีวิต (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646)  

ดังนั้น หนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เงินทอง หรือการทำพินัยกรรมให้แก่ทายาทของผู้ป่วยแต่อย่างใด  และไม่ควรระบุเรื่องนี้ไว้ในหนังสือแสดงเจตนา  ผู้ป่วยที่ต้องการทำพินัยกรรมควรทำเป็นเอกสารต่างหาก หรือปรึกษากับผู้มีความรู้ในเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท