อนุทินล่าสุด


Inthu-on Oninn_lt Lt
เขียนเมื่อ

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

1.  การพัฒนาหลักสูตรมี 2 ความหมาย

1.1  หมายถึงการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่

1.2  หมายถึงการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

2.  ขอบเขตการพัฒนาหลักสูตร

2.1  การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ

2.2  การพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น

2.3  การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียนหรือสถานศึกษา

3.  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมี 3 รูปแบบ

3.1  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Ralph W.Tyler)

มีกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

ขั้นที่ 2 เลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้

ขั้นที่ 3 ประเมินผลการเรียนการสอน

3.2  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Hilda Taba)

หลักสูตรมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ

1.  วัตถุประสงค์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งวัตุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรหรือวัตถุประสงค์เฉพาะรายวิชา

2.  เนื้อหาและจำนวนคาบการเรียนการสอนของแต่ละวิชา

3.  กระบวนการเรียนการสอนหรือกิจกรรม

4.  การประเมินผลตามวัตถุประสงค์

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมี 7 ขั้นตอน

1.  ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ

2.  กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.  เลือกเนื้อหาสาระ

4.  รวบรวมลำดับเนื้อหา

5.  คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้

6.  จัดประสบการณ์การเรียนรู้

7.  ประเมินผลการจัดประสบการณ์

3.3  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Sayler and Alexander)

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมี 4 ขั้นตอน

1.  กำหนดเป้าหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2.  ออกแบบหลักสูตร

3.  ใช้หลักสูตร

4.  การประเมินผลหลักสูตร

3.4  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเชิงระบบ(System approach)

การพัฒนาหลักสูตรมี 4 วิธี

1.  กำหนดปัญหา

2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ แบบ

3.  เลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะ

4.  ทดลองใช้ประเมินผล

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมี 5 ขั้นตอน

1.  กำหนดเป้าหมายจุดมุ่งหมาย

2.  กำหนดโครงสร้างเนื้อหาสาระหลักสูตร

3.  จัดลำดับการเรียนรู้ กำหนดหน่วยการเรียน

4.  นำหลักสูตรไปทดลองสอน

5.  นำผลจากการทดลองสอนมาปรับปรุงหลักสูตร




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Inthu-on Oninn_lt Lt
เขียนเมื่อ

รูปแบบของหลักสูตร (Curriculum Design)

รูปแบบหลักสูตรแต่ละรูปแบบได้รับบอิทธิพลมาจากปรัชญาการศึกษาจิตวิทยาการศึกษาดูความต้องการจากสังคม ทำให้มีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยได้พยายามจำแนกประเภทรูปแบบตามแนวคิดของแต่ละบุคคล สรุปรูปแบบที่สำคัญได้ดังนี้

1.  หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา (The Subject Matter Curriculum)
เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในการสอนศาสนา ละติน กรีก อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered-Curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอนของครูที่ใช้วิธีการ บรรยาย ปรัชญาการจัดการศึกษาแนวนี้จะยึดปรัชญาสารัตถนิยม(Essentialism)และสัจวิทยา(Perennialism)

2.  หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)หลักสูตรสหสัมพันธ์ คือ หลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาวิชาของวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกันวิธีการดังกล่าวอาศัยหลักความคิดของนักการศึกษาที่ว่า การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ดีผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นทีเกี่ยวข้องเพราะฉะนั้นหลักสูตรสหสัมพันธ์จะกำหนดเนื้อวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาที่สัมพันธ์กันมารวมไว้ด้วยกัน

3.  หลักสูตรแบบผสมผสาน (Fused Curriculum or Fusion Curriculum)หลักสูตรแบบผสมผสานเป็นหลักสูตรที่พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของหลักสูตรเนื้อหาวิชา เพราะฉะนั้นหลักสูตรแบบผสมผสานคือหลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการรวมเอาวิชาย่อย ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาผสมผสานกันในด้านเนื้อหาเข้าเป็นหมวดหมู่

4.  หลักสูตรแบบหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างหรือหลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่งขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น

5.  หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 
หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่ผ่านมาด้วยการรวบรวมความรู้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดกิจกรรมต่าง ๆ ของคนไทยเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ถูกคาดว่ามีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้เรียน การจัดหลักสูตรแบบนี้ได้ยึดเอาสังคมและชีวิตจริงของเด็กเป็นหลัก เพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับชีวิตจริงของผู้เรียนหรือภาวะทางสังคมที่ผู้เรียนกำลังประสบอยู่ หลักการจัดหลักสูตรประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของจอห์น ดิวอี้ กับปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม และปรัชญาการศึกษาสาขาปฏิรูปนิยม

หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum)หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแก้ไขการเรียนรู้แบบครูเป็นผู้สอนเพียงอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนซึ่งเป็นข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา หลักสูตรแบบนี้ยึดประสบการณ์ และกิจกรรมเป็นหลักมุ่งส่งเสริมการเรียนการสอนโดยวิธีการ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Inthu-on Oninn_lt Lt
เขียนเมื่อ

ทฤษฎีหลักสูตร

1.  ความหมายของทฤษฎี

 ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(อาภรณ์ ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)

2.  ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร

 ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน

 (รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)

3.  ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ

ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้

1.ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร

2.ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ

3.ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร

4.ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)

4.  ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Hilda Taba

 แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของ Taba มีบางอย่างคล้ายกับของTyler มาก แต่มีข้อรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันออกไป พอสรุปได้ 11 ประการดังนี้

1. ส่วนประกอบของหลักสูตร

2. การศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเป็นเครื่องกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร

3. วัตถุประสงค์

4. เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์

5. การเลือกเนื้อหาสาระและการรวบรวมพินิจ

6. เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ

7. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ

8. การจัดประสบการณ์การเรียน

9. ลำดับขั้นของการพัฒนาหลักสูตร

10. ยุทธวิธีการสอน

11. การประเมินผล (วิชัย วงษ์ใหญ่.พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่.2523:20)

สรุป ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba

ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบและส่วนประกอบด้านต่างๆ ที่สำคัญของหลักสูตร ที่หลอมรวมกันเป็นหลักสูตรคุณภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าต้องการให้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรนำแนวทางนั้นไปทดลองและปรับใช้ในการเรียนการเรียนการสอนให้เห็นจริง จึงจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นกลายเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

5.  หน้าที่ของทฤษฎี

1.  จุดมุงหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา นักปรัชญายังหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา ความรู้คืออะไร ความจริงคืออะไร อะไรคือคุณค่า

2.  ทฤษฎีมาจากคำในภาษากรีกว่า theoria connoting แปลว่า “การตื่นตัวของจิตใจ” มันเป็นชนิดของ “มุมมองที่บริสุทธิ์” ของความจริง ทฤษฎี อธิบายความเป็นจริง ทำให้ผู้คนตระหนักถึงโลกของพวกเขาและปฏิสัมพันธ์




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท