อนุทินล่าสุด


นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด

เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบททดสอบว่าที่ว่า “มารไม่มีบารมีไม่เกิด”

เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม “ในวิกฤตย่อมมีโอกาส”

เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต

เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง

เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง

เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม

เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี

เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง

เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง

เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย

เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ

เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ

เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

การปฏิบัติธรรมะ ก็ไม่แตกต่างกับทางโลกเขาฝึกหัด หรือหัดสานกระบุงตะกร้ากันเท่าใดนัก คือต้องพยายามสานกันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนิชำนาญ แม้จะไม่มีผู้ใดคอยพร่ำสอนแนะนำ ก็สามารถทำได้ดีและอาจดียิ่งกว่าคนอื่นๆ ที่เขาเคยทำมาแล้ว พร้อมทั้งคิดค้นหาวัสดุสิ่งต่างๆมาประดิษฐ์ ให้มีแบบลวดลายและทรวดทรงแปลกๆ จะได้เป็นจุดสนใจของผู้ซื้อ ด้วยฝีมืออย่างสวยงามประณีตบรรจง ทางธรรมะก็ดำเนินรอยดังนี้ หาได้มีข้อแตกต่างกันไม่

จะต่างกันก็ตรงที่ทางโลกเขาฝึกหัดกาย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับฝีมือ หรือความรู้ความชำนาญอย่างโลกๆที่คนในโลกจำต้องปฏิบัติ ส่วนทางธรรมะเป็นการฝึกหัดอบรมจิตใจให้เกิดความสงบระงับ กายต้องฝึกหัดอย่างไร ใจก็ต้องฝึกหัดอย่างนั้น คือต้องบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ ไม่ยอมให้มันซัดส่ายดิ้นรนไปตามความพอใจได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

 นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


* เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลัก
ษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด


* เริ่มสวด นโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

เวลาที่เราทำบุญแล้ว ทำไมมันมีแต่เรื่องซวยๆ ที่เคยเห็นคนดีๆมักตายไว แต่ทำไมคนชั่วช้าเต็มบ้านเต็มเมืองจึงไม่ได้รับผลกรรม ทำให้ท้อใจที่จะทำดี

ตอบ เรื่องบุญกุศลนั้นมีแน่ เพียงแต่จะให้ผลต่างกรรมต่างวาระไป ที่เราต้องใช้หนี้กรรมเพราะกรรมในอดีตมาตัดรอนปัจจุบัน ส่วนบุญปัจจุบันก็ยังไม่ให้ผลเพราะแรงไม่พอ อย่างเช่นมีหมาอึอยู่หน้าประตูบ้าน ถามว่าเราสามารถใช้น้ำเพียงแก้วเดียว ล้างอึหมาให้หมดไปจากหน้าได้หรือไม่ ต้องใช้น้ำเป็นตุ่มถึงจะล้างให้หมดไปได้ฉันใด บาปก็ฉันนั้น บาปแม้มีนิดเดียว ก็ต้องอาศัยแรงบุญมหาศาลถึงจะพอเจือจางบาปให้ไม่มีผลหรือให้ผลน้อยกว่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

อีกอย่างหนึ่งที่สงสัยว่า ทำไมคนทำดีไม่ได้ดี ทำไมคนทำไม่ดีกลับได้ดี อยากให้ลองฟังและนึกภาพตาม สมมติว่ามีคนสองคนไปยืมเงินเขามาจำนวนหนึ่งแสนบาท ลูกหนี้คนที่หนึ่งเป็นคนสำมะเลเทเมา หลังจากกู้เงินไปแล้วก็ไม่ได้เอาไปลงทุน ใช้จ่ายเงินอย่างสบายใจ ส่วนลูกหนี้อีกคนกู้เงินมาแล้วก็ใช้จ่ายลงทุนอย่างประหยัด และได้กำไรมา เมื่อครบเวลาหนึ่งเดือนเจ้าหนี้ก็มาทวงเงิน ถามว่าเจ้าหนี้จะเลือกทวงใครก่อน ทวงลูกหนี้คนแรกเขาบอกว่าไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย จึงไม่ได้ไปทวงอีก ส่วนลูกหนี้คนที่สอง ทำงานเก็บเงินพอมีเงินบ้าง เจ้าหนี้จึงไปทวงกับลูกหนี้คนที่สอง หลังจากนั้นเขาก็ทยอยใช้หนี้จนหมด ส่วนลูกหนี้คนแรกหลังจากไม่ยอมใช้หนี้เจ้าหนี้ก็ไปฟ้องศาล ถามว่าเขาต้องใช้เงินคืนหรือไม่ ก็ตอบว่า ต้องใช้พร้อมทั้งต้นทั้งดอก ฉันใด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

กรรมก็เฉกเช่นเจ้าหนี้ ตัวเราเฉกเช่นลูกหนี้ เราขยันสร้างบุญสร้างกุศลเป็นคนดี กรรมก็ย่อมจะเลือกมาลงที่เราในชาตินี้ เพื่อให้กรรมในอดีตได้หมดลงในชาติเดียว แล้วจะได้ไม่ต้องไปหมกไหม้ในชาติหน้าอีก ดังนั้นเราจึงรู้สึกว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ส่วนคนที่ทำบาปแล้วได้แต่ความเจริญ เพราะบุญเก่ายังคงให้ผล แต่ละจากภพนี้ไปแล้ว ถามว่ากรรมจะหายไปไหนหรือไม่ ก็เปล่า ตัวเขาก็ยังต้องใช้หนี้กรรมอีกหลายร้อยหลายพันชาติ และจะหนักกว่ากรรมที่ให้ผลในภพมนุษย์มากมายหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นหลายแสนเท่า เพราะฉะนั้นอย่าได้อิจฉาคนที่ทำชั่วแล้วได้รับความดีอยู่เลย เหมือนกับคนธรรมดาที่มีเงินสองพัน กับคนที่กู้เขามาสองล้าน คนธรรมดาอิจฉาคนที่กู้เขามาว่า มีเงินมากกว่าหลายเท่า ทั้งๆที่จริงแล้วเขามีเงินมากกว่าคนที่กู้เขามามากมายมหาศาลนัก เพราะกว่าเขาจะใช้หนี้สองล้านหมดและเก็บเงินได้ ก็คงต้องกินเวลาอีกนาน ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านที่ทำความดี ทั้งกาย วาจา และใจ สาธุ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิศรา
เขียนเมื่อ

ผลบุญของผู้ประกอบกุศลสาธารณะ

เมื่อสิ้นลมหายใจจากโลกไปแล้ว

ย่อมไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ดั่งเช่นนาย มฆมานพ ผู้สร้างสาธารณะกุศล

เช่น สร้างรมณีย์ สร้างศาลาริมทาง

ขุดสระอันประกอบไปด้วยดอกบัว

มหากุศลนี้ส่งผลให้เขาและคนงานของเขา

ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทั้งหมด

คนงานของเขาได้ไปเกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร

ส่วน มฆมานพผู้เป็นหัวหน้างานนั้น

ปัจจุบันนี้คือ "พระอินทร์" ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท