ดอกไม้


ชุติมา ศิรินิภาวงศ์
เขียนเมื่อ

ขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานชีวิตรักสามเส้าที่ชาวกรุงศรีอยุธยานำมาเล่าขานในรูปของลำนำปากเปล่าประกอบการขยับกรับที่เรียกว่า “การขับเสภา” มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา นักขับเสภาจะร้องเฉพาะตอนสำคัญๆ ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์ เพิ่งจะมารวบรวมเรียบเรียงเป็นเรื่องเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ปี พ.ศ.๒๔๑๕ โดยโรงพิมพ์หมอสมิท ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ จึงได้มีการชำระต้นฉบับของหลวงและของชาวบ้าน จัดพิมพ์ขึ้นเป็นฉบับหอสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นต้นแบบของเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่รู้จักกันทั่วไป

k001นิทานขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องรักสามเส้าของหนุ่มสาวสองรุ่น รุ่นพ่อและรุ่นลูก โครงเรื่องรุ่นพ่อเป็นเรื่องของชายสองแย่งหญิงหนึ่ง คือเรื่องชิงรักหักสวาทของขุนแผน ขุนช้างและนางพิมพิลาไลย ชาวบ้านสุพรรณบุรี ส่วนโครงเรื่องรุ่นลูกเป็นเรื่องของหญิงสองแย่งชายหนึ่ง คือ เรื่องหึงหวงระหว่างเมียทั้งสองของพระไวยวรนาถ ขุนนางหนุ่มชาวกรุงศรีอยุธยา จนถึงขั้นนางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์เพื่อให้สามีรักตนเพียงคนเดียว

โครงเรื่องของนิทานเรื่องนี้ มีลักษณะเด่นคือ มีความคล้ายคลึงกับเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงโต้ตอบของหนุ่มสาวโครงเรื่องแบบชายสองแย่งหญิงหนึ่งตรงกับกลอนตับชิงชู้ และโครงเรื่องแบบเมียน้อยเมียหลวงตรงกับ กลอนตับตีหมากผัวของเพลงพื้นบ้าน โครงเรื่องดังกล่าวเป็นแบบที่ชาวบ้านนิยมมาก ดังพบในละครชาวบ้านหลายเรื่อง นอกจากนี้ นิทานเรื่องนี้ยังมีครบทุกรสชาติ ทั้งรัก รบ ตลก เศร้าโศก 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://ich.culture.go.th/index...

1
0
ชุติมา ศิรินิภาวงศ์
เขียนเมื่อ

คำพิพากษา

เมื่อ 30 ปี ก่อนที่หมู่บ้านธรรมะสว่าง หมู่บ้านเล็กๆ ในภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ที่ซึ่งศาสนา ประเพณี และวิถีชีวิตชาวบ้านผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น ฟักบวชเรียนตั้งแต่เด็กและตั้งใจปวารณาตัวทั้งชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา ชาวบ้านต่างหวังว่าเขาจะเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของวัด แต่เมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มกลับตัดสินใจขอลาศึกออกมา เพราะพ่อของเขาเริ่มไม่แข็งแรง จากนั้นเขาก็ถูกเกณฑ์ทหาร เมื่อเขากลับบ้านมาหลังปลดประจำการจากการเป็นทหาร เขาได้พบ สมทรง หญิงสาวแปลกหน้าโดยบังเอิญ และรู้สึกเหมือนรักแรกพบ แล้วโชคชะตาก็เล่นตลกกับฟัก เมื่อเขากลับบ้าน เขาพบว่าสมทรงเป็นสาวที่ไม่เต็มเต็ง และยิ่งไปกว่านั้น เธอยังเป็นเมียของพ่อเขาอีก และจู่ๆ พ่อของเขาก็ตายจากไป ทิ้งสมทรงให้เป็นภาระของฟักที่ต้องดูแล การใช้ชีวิตตามลำพังกับสมทรง ฟักต้องต่อสู้อย่างหนักกับความต้องการทั้งทางร่างกายและทางหัวใจที่เขามีต่อเธอ แม้จะยากแต่เขาก็รับเลี้ยงดูและอยู่ร่วมกันกับเธอต่อไป เพราะเขาคิดว่าเป็นหน้าที่ที่พึงมีต่อมนุษย์ผู้อ่อนแอกว่า และที่สำคัญ เขาเองก็มีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตกับเธอ ชาวบ้านเริ่มจับตาพฤติกรรมของหนุ่มสาวคู่นี้มาขึ้น ในที่สุดชาวบ้านก็เชื่อแน่ว่า ฟัก กระทำผิดอย่างร้ายกาจคือ เอาเมียพ่อเป็นเมีย ทั้งๆ ที่เขาไม่เคยล่วงเกินใดๆ ทางกายต่อสมทรง และเขาก็สาบานกับตัวเองว่า เขาไม่มีวันร่วมหลับนอนกับเธอเด็ดขาดพฤติกรรมแปลกๆ ของสมทรง เช่น แก้ผ้าอาบน้ำไม่เป็นที่เป็นทาง ร้อนก็ถอดเสื้อผ้ากลางสวน โกรธก็เปิดผ้านุ่งโชว์ ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ จนถึงขั้นจะขับไล่เธอออกจากหมู่บ้าน ฟักต่อสู้กับชาวบ้านอย่างหนักเพื่อรักษาสมทรงไว้ จนชาวบ้านหันมาเกลียดฟักและคิดว่าเขามัวเมาในกามจนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี นำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่บ้าน ท่ามกลางกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคม เส้นที่ขีดกั้นระหว่างดี ชั่น หรือ ถูก ผิด ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกที่ฟักมีต่อสมทรง การอยากปกป้องดูแลผู้หญิงไม่เต็มเต็งคนหนึ่งกลายเป็นความผิดด้วยหรือ คำพิพากษา เรื่องราวความรักอันบริสุทธิ์ ที่ถูกผลักดันให้กลับกลายเป็นเรื่องเศร้า สะเทือนใจของไอ้ฟัก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://positioningmag.com/156...

1
0
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ลูกอีสาน. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 290 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอีสานเล่าเรื่องราวขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของชาวอีสาน โดยผ่านเด็กชายคูน รวมไปถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อมและแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติด้วยความมานะบากบั่น ความเคารพในระบบอาวุโส และความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะของชาวอีสาน

2
1
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

สิงหไตรภพ เป็นกลอนนิทานเรื่องหนึ่ง ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ มักนิยมเรียกกันในชั้นหลังว่า สิงหไกรภพ เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์เมื่อครั้งถวายพระอักษร และในภายหลังได้แต่งต่อเพื่อถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

เนื้อเรื่องของสิงหไกรภพ เกี่ยวกับตัวละครเอก ชื่อ สิงหไตรภพ ที่พลัดบ้านเมืองแต่เล็ก ถูกลักพาตัวไปและเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมาในบ้านพราหมณ์จินดา สิงหไตรภพเรียกพราหมณ์ว่าพี่ชาย เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการผจญภัยของสองพี่น้องนี้ และมีมนตร์วิเศษน่าตื่นตาตื่นใจ เหมาะแก่การเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก จึงเป็นกลอนนิทานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง และมักใช้ชื่อเรื่องว่า "สิงหไกรภพ"

2
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท