อนุทิน 156748


ชุติมา ศิรินิภาวงศ์
เขียนเมื่อ

ขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานชีวิตรักสามเส้าที่ชาวกรุงศรีอยุธยานำมาเล่าขานในรูปของลำนำปากเปล่าประกอบการขยับกรับที่เรียกว่า “การขับเสภา” มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา นักขับเสภาจะร้องเฉพาะตอนสำคัญๆ ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์ เพิ่งจะมารวบรวมเรียบเรียงเป็นเรื่องเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ปี พ.ศ.๒๔๑๕ โดยโรงพิมพ์หมอสมิท ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ จึงได้มีการชำระต้นฉบับของหลวงและของชาวบ้าน จัดพิมพ์ขึ้นเป็นฉบับหอสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นต้นแบบของเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่รู้จักกันทั่วไป

k001นิทานขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องรักสามเส้าของหนุ่มสาวสองรุ่น รุ่นพ่อและรุ่นลูก โครงเรื่องรุ่นพ่อเป็นเรื่องของชายสองแย่งหญิงหนึ่ง คือเรื่องชิงรักหักสวาทของขุนแผน ขุนช้างและนางพิมพิลาไลย ชาวบ้านสุพรรณบุรี ส่วนโครงเรื่องรุ่นลูกเป็นเรื่องของหญิงสองแย่งชายหนึ่ง คือ เรื่องหึงหวงระหว่างเมียทั้งสองของพระไวยวรนาถ ขุนนางหนุ่มชาวกรุงศรีอยุธยา จนถึงขั้นนางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์เพื่อให้สามีรักตนเพียงคนเดียว

โครงเรื่องของนิทานเรื่องนี้ มีลักษณะเด่นคือ มีความคล้ายคลึงกับเพลงพื้นบ้านประเภทเพลงโต้ตอบของหนุ่มสาวโครงเรื่องแบบชายสองแย่งหญิงหนึ่งตรงกับกลอนตับชิงชู้ และโครงเรื่องแบบเมียน้อยเมียหลวงตรงกับ กลอนตับตีหมากผัวของเพลงพื้นบ้าน โครงเรื่องดังกล่าวเป็นแบบที่ชาวบ้านนิยมมาก ดังพบในละครชาวบ้านหลายเรื่อง นอกจากนี้ นิทานเรื่องนี้ยังมีครบทุกรสชาติ ทั้งรัก รบ ตลก เศร้าโศก 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://ich.culture.go.th/index...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท