4 วัน กับ SCORM ได้อะไร (3) : ทำความรู้จัก SCO (Sharable Content Object)


"SCO (Sharable Content Object) เป็นบท ๆ หนึ่งของบทเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย Asset มารวมกัน เป็นระดับล่างสุดของเนื้อหา ของบทเรียน (Lower level of granularity) และ SCO ถือว่าเป็น Learning Object (LO) หนึ่ง..."

วันที่สอง...  ของการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  “การพัฒนาเนื้อหา  e-Leaning  ตามมาตรฐาน  SCORM”  (หยิบยกบางช่วง...  บางตอน...  ที่กระตุกความคิด  เพราะถ้าพูดไปคงจะจบยาก...)

วันนี้...  วิทยากรเป็น  อาจารย์กุลฑลี  ภาสอาจ  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร  โครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง  สวทช.    คุณอัญชลิกา  และคุณขัตติยะ  รัตนมณี 

เริ่มต้น...  ที่ความรู้จากท่านอาจารย์กุลฑลี  ที่มาบรรยายในเรื่องการออกแบบบทเรียน  แนวคิด  และการสร้าง  ในที่นี้ท่านอาจารย์ได้พูดถึง  SCO  (Sharable  Content  Object)  ว่าเป็นบท ๆ  หนึ่งของบทเรียน  ซึ่งประกอบไปด้วย  Asset  มารวมกัน  เป็นระดับล่างสุดของเนื้อหา  ของบทเรียน  (Lower  level  of  granularity)  และ  SCO  ถือว่าเป็น  Learning  Object  (LO)  หนึ่ง  ดังนั้นการออกแบบให้เล็กที่สุดก็มีโอกาสนำมาใช้ใหม่ได้มากที่สุด...  และในครั้งนี้เองที่ไขปัญหาที่ฝังตัวในหัวผมมาตลอดว่า  SCO  กับ  LO  มันต่างกันอย่างไรกันแน่  วันนี้ก็กระจ่างขึ้นมาอีกนิดหนึ่งแล้ว  อย่างน้อยก็ได้รู้ถึงความหมายในตัวของมัน...

และสิ่งที่ได้จากการทำความรู้จักกับ  SCO  ในครั้งนี้  ก็น่าจะเป็นแนวทางในการออกแบบ  SCO  นั่นก็คือ  การตรวจสอบดูว่า  LMS  มีกลไกในการลำดับ  SCO-to-SCO  หรือไม่  ระบุ  Lvel  of  Granularity  ที่ต้องการตรวจสอบความสามารถของผู้เรียน  ความต้องการในการใช้เนื้อหาวิชา  สามารถปรับเข้ากับบุคคล  หรือนำมาปรับใช้กับกลุ่มผู้เรียนอื่นได้  และการพิจารณาข้อแตกต่างในด้านเนื้อหา  การเปลี่ยนแปลง  (Volatility)  ความคงทน  (Durability)  ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจารย์ได้ให้บรรยายถึงแนวทางต่าง ๆ  ได้อย่างกระจ่างและพอใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้

หลังจากนั้น...  ก็เป็นหน้าที่ของคุณอัญชลิกา  และคุณขัตติยะ  ในการบรรยายในเรื่อง  การสร้างบทเรียนเป็น  SCO  และการสร้าง  SCO  ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  ในการปฏิบัติในครั้งนี้อาจดูเครื่องมือเป็นแบบกันเองไปสักนิดเพราะเครื่องมือที่ว่าได้พัฒนามาจากทีมวิทยากรหลาย ๆ  ท่านที่มาและไม่ได้มา  แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วถือว่าไม่  “ผิดกติกา”  เพราะว่ามีเครื่องมือในการสร้างหลายตัว  แต่ตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน...  อย่างน้อยทีมวิทยากรก็ไม่ลืมที่จะบอกชื่อโปรแกรมอื่นที่สามารถนำไปทำเป็น  SCO  ได้....

คำสำคัญ (Tags): #scorm
หมายเลขบันทึก: 99146เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อืม พอดีอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ SCORM ง่ะ เพราะว่าต้องทำรายงานที่เรียนและก้อเราไม่รู้จักมันเลย มันดูงง ๆๆๆๆๆ ถ้ามีเวลาว่าง ข้อคำแนะนำหรือไม่ก้อข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท