ผ้าฝ้าย-ใยสังเคราะห์ แบบไหนดีกับสิ่งแวดล้อม


พวกเราที่แสนจะ “กรีน (green = ใส่ใจสิ่งแวดล้อม)” คงจะชื่นชอบผ้าแบบธรรมชาติสุดๆ เช่น ผ้าฝ้าย ฯลฯ ไม่มากก็น้อย วันนี้มีรายงานวิจัยชื่อ “แต่งตัวดีจริงหรือ?” จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มาฝากครับ...

Hiker

พวกเราที่แสนจะ กรีน (green = ใส่ใจสิ่งแวดล้อม)” คงจะชื่นชอบผ้าแบบธรรมชาติสุดๆ เช่น ผ้าฝ้าย ฯลฯ ไม่มากก็น้อย วันนี้มีรายงานวิจัยชื่อแต่งตัวดีจริงหรือ?” จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มาฝากครับ...

อาจารย์จูเลียน ออลวูด หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่า เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายมีแนวโน้มจะใช้พลังงานสิ้นเปลืองกว่าผ้าใยสังเคราะห์ เช่น เสื้อผ้าฝ้ายธรรมดาๆ ตัวหนึ่งใช้พลังงาน 60% มาจากการซัก 25 ครั้ง และปั่นแห้ง

ผ้าใยสังเคราะห์ใช้พลังงานมากกว่าผ้าฝ้ายในการผลิต ทว่า... การซัก ปั่นแห้ง และรีดใช้พลังงานน้อยกว่าดังตาราง (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: แสดงการบริโภคพลังงานตลอดอายุการใช้งานของผ้า (หน่วยล้านจูล)

เสื้อผ้า ฝ้าย ใยสังเคราะห์
วัตถุดิบ 16 33
การผลิต 24 11
การขนส่ง 7 3
ใช้งาน 65 7
รวม 112 54

อาจารย์ออลวูดกล่าวว่า ผ้าฝ้ายใช้พลังงานมากเป็น 207.41% ของผ้าใยสังเคราะห์ วิธีที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งส่งผลทางอ้อมทำให้โลกร้อนได้แก่ การซักผ้าในน้ำอุณหภูมิต่ำหน่อยแทนน้ำร้อน (ฝรั่งนิยมซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า และใช้น้ำร้อน)

การมีเสื้อผ้าน้อยชุดหน่อย การแต่งกายแบบสุภาพแทนการแต่งกายตามแฟชั่น ใช้ให้นานขึ้นหน่อย ซักผ้าด้วยมือหรือซักเครื่องด้วยน้ำเย็น(ไม่ใช้น้ำร้อน) การตากลมแทนการใช้เครื่องอบผ้าให้แห้ง และการใช้เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ หรือผ้าผสม(ผ้าในไทยส่วนใหญ่เป็นผ้า 65:35 หรือมีใยสังเคราะห์ปนอยู่ 35%)มีส่วนช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยชะลอภาวะโลกร้อนได้

ผู้เขียนเรียนถามอาจารย์วิน หม่อง(ออกเสียงแบบพม่าว่าหม่าว) นักรังสีเทคนิครังสีรักษาซึ่งได้รับไปฝึกที่โรงพยาบาลรามาธิบดีว่า ชาวพม่าส่วนใหญ่มีโสร่งกี่ผืน ท่านบอกว่า ส่วนใหญ่มีกันคนละ 3 ผืน

โสร่ง (longi / โลงจี) ในพม่าเกือบทั้งหมดเป็นผ้าฝ้ายบางสีเข้มลายคล้ายสก๊อต(ยกเว้นโสร่งมอญนิยมสีแดง) คนพม่านิยมนุ่งโสร่งโดยไม่สวมเข็มขัด ถ้าใช้โสร่งใยสังเคราะห์อาจจะลื่นหลุดได้

ภาพที่ 1: ภาพถ่ายป้ายรถเมล์ในเมืองย่างกุ้ง พม่า (มิถุนายน 2548 - ถ่ายจากหน้าต่างรถยนต์) น่าเสียดายที่คนพม่าในเมืองหลวงนุ่งโสร่งน้อยลง

โปรดสังเกตว่า การนุ่งโสร่งแบบพม่าให้เท่ต้องไม่ใส่เข็มขัด สวมรองเท้าแตะ และพกปิ่นโต

ภาพที่ 2: ภาพขยายจากภาพที่ 1 โปรดสังเกตโฆษณาบะหมี่สำเร็จรูป (ปี 2549 มีมาม่าขายแล้ว) สาวๆ พม่ายังคงทาแป้งตะนาคา (thanaka) ซึ่งช่วยป้องกันรังสี UV จากแสงแดดได้ดี

กล่าวกันว่า คนพม่าจะส่งสัญญาณ "หาคู่" ผ่านโสร่งและผ้าถุง ถ้าจีบกันจะนุ่งโสร่งยาวจรดตาตุ่ม... คนที่อายุมากขึ้นหน่อยนิยมนุ่งโสร่งสูงขึ้น และไม่ยาวแตะตาตุ่ม

ถ้าอายุมากและนุ่งโสร่งยาวจรดตาตุ่มอาจจะโดนคนพม่าติเตียนได้ว่า ส่งสัญญาณที่ไม่สมควร(กับอายุ) เพราะไปแต่งกายเลียนแบบวัยรุ่น

ภาพที่ 3: เด็กนักเรียนเดินบนสะพานอูเบง (U Bein bridge) เมืองอมรปุระ (เมืองหลวงเก่าพม่า ใกล้กับมัณฑเลย์ ซึ่งอยู่ตอนกลางของประเทศ)

เด็กนักเรียนพม่านุ่งโสร่งและผ้าถุงสีเขียว สะพายย่าม พกปิ่นโต... นี่เป็นวิถีชีวิตที่ดีกับสิ่งแวดล้อม การเดินมาก-ขี่จักรยานมากแบบนี้ป้องกันโรคอ้วนได้ด้วย

ถ้าอาจารย์ออลวูดนุ่งโสร่งแบบคนพม่า และซักผ้าด้วยมือได้คงจะ กรีน (green / หมายถึงใส่ใจสิ่งแวดล้อม)” ไม่เบาทีเดียว

    แหล่งที่มา:                                      

  •  ขอขอบพระคุณ > ‘เสื้อผ้าแฟชั่นแหล่งมลพิษขนาดใหญ่ของโลก. กรุงเทพธุรกิจ (ชีพจรธุรกิจโลก > [email protected]). 27 มกราคม 2550. หน้า 24.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + กองรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • แนะนำให้อ่าน "บ้านสุขภาพ" > [ Click - Click ] 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 26 พฤษภาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 98860เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ คุณหมอ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เวลารีดผ้าที่ทำจากฝ้าย หรือลินิน จะรีดยากเหงื่อตก ใช้เวลานานกว่าผ้าใยสังเคราะห์มากค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ :-)

ขอขอบคุณ... คุณ citrus...

  • ข่าวดีคือ ผ้าที่ใช้ในไทย ส่วนใหญ่เป็นผ้าผสมระหว่างฝ้าย + ใยสังเคราะห์ ทำให้ได้คุณสมบัติดีของทั้งสองอย่าง

ถ้าเมืองไทยพัฒนาชุดประจำชาติแบบ "บางเบา-แห้งง่าย-ใส่สบาย" น่าจะช่วยได้มากครับ

  • ยิ่งถ้ารัฐบาลออกระเบียบรับรองให้ใช้แทนเสื้อนอกได้ทุกงานยิ่งดีใหญ่เลย (พม่าก้าวไกลไปนานหลายปีแสงแล้ว)

ขอขอบคุณอาจารย์ TomNU

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน + ให้กำลังใจครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท