ไปทบทวน KM ที่จังหวัดสมุทรสาคร (ครั้งที่ 2)


มีหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เราก็ต้องทดลองทำแล้วนำไปพัฒนาหรือปรับแก้ แล้วเราก็จะรู้เพิ่มขึ้น

     [อ่านผลสรุปการจัด KM ครั้งที่ 1]

     เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2550 ดิฉันและทีมงานที่เป้นผู้ประสานงาน KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร ก็ได้ไปร่วมจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร  ซึ่งเป็นการจัดเวทีครั้งที่ 2  โดยมีเป้าหมายคือ

          1)  เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและองค์ประกอบของการจัดการความรู้ (KM) 

          2)  เพื่อค้นหาองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรแล้วได้ผล  

          3)  เพื่อจัดทำแนวทางการทำงาน ส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่โดยนำ KM เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ

     ฉะนั้นดิฉันจึงได้ออกแบบการจัดกระบวนการ คือ

          ขั้นที่ 1  ทบทวนบทเรียนของครั้งที่ 1  ได้แก่  บทบาทหน้าที่และภารกิจงานส่งเสริมการเกษตร  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการความรู้   ผลงานส่งเสริมการเกษตรที่เกิดขึ้น (*  ค้นหา Best Practice โดยการ : แบ่งกลุ่ม และระดมความความคิด)  และ กรอบของเนื้อหา (*  เรื่องอาสาสมัครเกษตร  *  เรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  *  เรื่องวิสาหกิจชุมชน*  เรื่อง Food Safety  โดยการ : นำเสนอผลงานกลุ่ม และสรุปบทเรียน)         

         ขั้นที่ 2  ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของการจัดกระบวนการเรื่อง  การทำงานส่งเสริมการเกษตร โดยใช้  การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ            

          ขั้นที่ 3  ประเมินผลความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การจัดการความรู้ ได้แก่  ความหมาย  ประโยชน์  ปัญหาอุปสรรค และหลักการและองค์ประกอบของการจัดการความรู้          

          ขั้นที่ 4  จัดกระบวนการ ค้นหาองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่  การแลกเปลี่ยน  และประมวลสรุปผลที่เป็นองค์ความรู้ขององค์กร          

          ขั้นที่ 5  ประเมินความสำเร็จของการปฏิบัติงานใน 3 ภารกิจขององค์กร ได้แก่  วิสาหกิจชุมชน  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  และ Food Safety กับองค์ความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตรที่มีอยู่

           ขั้นที่ 6  สรุปและประเมินผล

     ส่วนผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดเวทีของเจ้าหน้าที่คือ

          ประเด็นที่ 1   การสรุปคำนิยาม ของการจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร ได้ว่า  การจัดการความรู้ (KM) นั้น เป็นการค้นหา แสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่เป็นจริงทำแล้วได้ผล แล้วนำมาเรียบเรียงและจัดระบบ แล้วนำมาใช้ในการพัฒนาคนและพัฒนางานให้ประสบผลสำเร็จ           

          ประเด็นที่ 2  ประโยชน์ของการจัดการความรู้ ที่เกิดขึ้นคือ 1)  ช่วยจัดการและพัฒนาคน/งาน/องค์กร  2)  ช่วยในการเปิดใจ/ยอมรับความคิดเห็น  และ 3)  เอาความรู้จริงมาใช้ปฏิบัติ/แก้ไขงานให้เกิดการยอมรับได้            

          ประเด็นที่ 3  ปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในการนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ ได้แก่  1)  งานไม่เป็นระบบ/ไม่ตรงกับคน  2)  เจ้าหน้าที่ขาดความรู้/ความเข้าใจ  3)  ขาดอุปกรณ์/เครื่องมือทำงาน  และ 4)  งบประมาณมีจำกัด            

           ประเด็นที่ 4  หลักการและองค์ประกอบ ของการจัดการความรู้ คือ 1)มีทิศทางการดำเนินงาน/เป้าหมาย  2)  มีแลกเปลี่ยน/ผลงาน/ความรู้/ข่าวสาร  3)  มีแหล่งเรียนรู้/เจ้าของ/เรื่องของความรู้/เชื่อมโยง/บันเทิง            

          ประเด็นที่ 5  ผลงานส่งเสริมการเกษตร ที่เกิดขึ้น  ได้แก่  1)  ด้านการลดต้นทุนการผลิต  2)  ด้านการผลิต  3)  ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  4)  ด้านส่งเสริมการเกษตร  และ 5)  ด้านการสนับสนุน            

          ระเด็นที่ 6  ตัวอย่างองค์ความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ที่ทำเป็น  ได้แก่  เรื่อง ไตรโคเดอร์มา  เรื่องการรวมกลุ่ม  เรื่ององค์กรเกษตร  เรื่องการจัดนิทรรศการ  เรื่องการเบิกจ่ายเงิน  เรื่องคอมพิวเตอร์  เรื่องการประสานงาน  เรื่องการประชาสัมพันธ์  และเรื่องอื่น ๆ            

          ประเด็นที่ 7  การตรวจสอบและประเมินความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติภารกิจงานใน 3 ภารกิจงานขององค์กรโดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM) 

เป้าหมายงาน

องค์ความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ แหล่งที่ได้มา/การจัดเก็บ วิธีการแลกเปลี่ยน  ผลการประเมิน
เรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง 

1) วิชาการเศรษฐกิจพอเพียง2) บัญชี 3) การจัดการฟาร์ม4) การถ่ายทอด 5) ตลาด 6) แปรรูป7) การรวมกลุ่ม

1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น2) ประสบการณ์จริง3) สื่อ 4) ปราชญ์ชาวบ้าน5) นักวิชาการ6) เอกสาร 1) ติดตามข้อมูล2) เวทีชุมชน3)  ฝึกอบรม4) ศึกษาดูงาน5) ผู้รู้ 6) วิจัย 7) ทำเอง/ทดลอง

1. มีระดับมากที่สุด(*** : 3 ดาว) ได้แก่1) การถ่ายทอดความรู้2) โรงเรียนเกษตรกร3) ปราญช์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น4) การรวมกลุ่ม 

2. มีระดับปานกลาง(** : 2  ดาว) ได้แก่1) การตลาด2) การจัดการฟาร์ม3) การจัดไปศึกษาดูงาน4) การจัดแลกเปลี่ยน/กระบวนการมีส่วนร่วม5) การวิจัย6) การแปรรูป 

3. มีระดับน้อย (* : 1  ดาว) ได้แก่1) การจัดฝึกอบรม/ฝึกปฏิบัติ2) เครือข่าย3) บัญชี4) เทคโนโลยีการผลิต5) การวางแผน6) การจัดทำสื่อ

เรื่องวิสาหกิจชุมชน* สินค้ามีคุณภาพ  1)ระเบียบ/ข้อบังคับ2) การถ่ายทอด3) จัดทำแผน/ 4) การตลาด5) ประชาสัมพันธ์6) พืช 7) บัญชี 8) เครือข่าย 9) ประเมินผล 1) เอกสาร2) บุคลากร3) ปราชญ์ชาวบ้าน4) ภูมิปัญญาชาวบ้าน5) ธกส./ อื่น ๆ 1) การชี้แจง2) การฝึกอบรม3) อื่น ๆ
เรื่อง Food Safety      1) เทคโนโลยีพืช 2) ตลาด 3) ตรวจวิเคราะห์4) ระบบการผลิต5) การจัดการฟาร์ม6) GAP 1) สถาบัน 2) เอกสาร3) ดูงาน4) ผู้รู้ 5) เจ้าหน้าที่ 1) ติดตามข้อมูล2) เวทีชุมชน3) ฝึกอบรม4) ศึกษาดูงาน5) ผู้รู้ 6) วิจัย 7) ทำเอง
 

          ประเด็นที่ 8  ผลการสังเกตการณ์และพฤติกรรมการเรียนรู้  สรุปได้ว่า

               1)  เป็นการจัดกระบวนการเพื่อให้ทุกคนคิดและจัดการตัวเอง

               2)  ในการเรียนรู้ยังไม่มีผู้นำกลุ่มที่ชัดเจนกับการการทำงานในกลุ่มย่อย

               3)  วิธีการทำงานของแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันแต่นำไปสู่เป้าหมาย

เดียวกัน

               4)  การประเมินเพื่อจัดเรียงลำดับและให้น้ำหนักข้อมูลและองค์ความรู้

จะต้องมาจากเหตุผล

               5)  เจ้าหน้าที่จะต้องรู้การทำงานและองค์ความรู้ที่มีอยู่

               6)  การทำงานควรจะมีการจัดเก็บความรู้/ผลที่เกิดขึ้น/ประเมินผล

               7)  ในการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่

               8)  ยังขาดการขมวดหรือจัดกลุ่มข้อมูลในกลุ่มย่อย

     ดังนั้น  จากเนื้อหาสาระและข้อสรุปที่เกิดขึ้นจึงเห็นว่า เจ้าหน้าที่เริ่มอยากรู้และยากเห็นของจริงเกี่ยวกับ KM  นั้นที่อื่นเขาทำกันอย่างไร และเริ่มถามหา KM สำเร็จรูป  ฉะนั้น  การจัดการความรู้เราต้องลงมือทำก่อนเราถึงจะรับรู้ และเราสามารถสร้างการจัดการความรู้ที่เป็น Version ของเราเองได้ เพราะการจัดการความรู้มีเพียว "ตัวแบบ" ให้ดูเท่านั้น เราต้องทำเองเราถึงจะพูดได้ว่า "เรารู้ประโยชน์ของมันแล้ว"

     ก็ต้องขออภัยชาว Gotoknow.org  ด้วยนะค่ะ ที่ไม่มีรูปภาพมาประกอบเพราะดิฉันถ่ายรูปมาแล้ว แต่มือไวไปหน่อยค่ะ ตั้งใจจะ Copy แต่ไป Cut ทุกอย่างเลยหายไปกับตา.....ค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 98196เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท