วิวาทะ"ระบบสวัสดิการชุมชน"


โดยแนวทางที่หวังให้คนอื่นทำให้นั้น มันคือลัทธิรอผลดลบันดาล ไม่ว่าจะมาจากคนด้วยกันเองหรืออำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ใช่แนวทางที่หวังพึ่งได้อย่างถาวร จึงเป็นรูปแบบหรือระบบที่คิดไปก็ป่วยการเพราะมาจากอำนาจภายนอกทั้งหมด

2)ความหมายของระบบสวัสดิการชุมชน

ผมเห็นว่าการสร้างสวัสดิการตามที่นิยามไว้ในblogที่แล้วสามารถทำได้หลายรูปแบบ สรุปได้เป็น 3 รูปแบบหลักคือ ทำเอง ร่วมกันทำ และคนอื่นทำให้

โดยแนวทางที่หวังให้คนอื่นทำให้นั้น มันคือลัทธิรอผลดลบันดาล   ไม่ว่าจะมาจากคนด้วยกันเองหรืออำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ใช่แนวทางที่หวังพึ่งได้อย่างถาวร จึงเป็นรูปแบบหรือระบบที่คิดไปก็ป่วยการเพราะมาจากอำนาจภายนอกทั้งหมด


สิ่งที่ผมสนใจคือ การสร้างสวัสดิการที่เรามีส่วนร่วมกำหนดด้วยไม่ว่าจะมาจากที่เราทำเองทั้งหมดหรือที่ร่วมกันทำ ซึ่งที่ร่วมกันทำนี้ก็อาจแยกได้เป็น3ประเภทคือ
1)สมาชิกร่วมกันทำเป็นกลุ่มก้อนเป็นชุมชน ทั้งในเชิงพื้นที่และที่มีเรื่องร่วมกัน เช่น พื้นที่ในหมู่บ้าน ตำบล หย่อมบ้าน ที่ทำงาน หรือชุมชนที่ใช้เกณฑ์อายุ/อาชีพร่วมกัน เช่นผู้สูงอายุ คนขับแท๊กซี่ เป็นต้น

2)สมาชิกร่วมกับ/มอบหมายให้รัฐดำเนินการทั้งรัฐส่วนกลางและท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน กองทุนประกันสังคม เป็นต้น

3)สมาชิกร่วมกับ/มอบหมายให้เอกชนดำเนินการ เช่น ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ  โรงเรียนเอกชน เป็นต้น

ระบบสวัสดิการชุมชนก็คือ ระบบที่ร่วมกันทำในประเภทที่ 1 นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 98087เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2007 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนถามอาจารย์ว่า ในตอนเริ่มต้นควรทำอย่างไร หากชุมชนหรือกลุ่มคนนั้นๆ ไม่เคยมีความคิดเรื่องนี้เลย คุ้นเคยอยู่แต่กับ แบบที่ ๒ หรือ ๓ ที่มีคนนอกคอยจัดการให้ หรือให้ฟรีๆ ประเภทรอผลดลบันดาลอย่างอาจารย์ว่าเลยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ภีมค่ะ สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ที่ดีงามที่อาจารย์กำลังทำอยู่ค่ะ

งานที่ผมกับคณะสนใจ(ส่วนหนึ่ง)คือ การสืบค้นว่าชุมชนหรือกลุ่มคนต่างๆในประเทศไทยมีแนวคิดและแบบแผนการปฏิบัติในเรื่องนี้อย่างไร? ผมคิดว่าชุมชนไทยน่าจะมีความคิดและรูปแบบดีๆอยู่มากทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ซึ่งผมพยายามให้นิยามคำว่า "สวัสดิการ" และ "ระบบสวัสดิการชุมชน"ให้ชัดเจนเพื่อจะได้ถอดปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเข้าข่ายตามที่ว่าหรือเปล่า? และเนื่องจากความเป็น"ชุมชน"มีการเคลื่อนตัว ทั้งปัจจัยจากรัฐและตลาด จึงต้องศึกษาเชิงสัมพัทธ์และพลวัต
นอกจากนี้ก็มีงานจัดการความรู้เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งนโยบายและภาคปฏิบัติในพื้นที่

เป้าหมายของงานคือ ดุลยภาพของระบบที่คำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อสวัสดิการทั้งทางวัตถุและจิตใจของทุกคนในสังคมไทย(ก่อนหน้านี้เคยเขียนว่า ของคนไทย เมื่ออ่านบันทึกของคุณpligrimแล้ว ต้องเปลี่ยนใหม่) โดยมีพื้นฐานความเชื่อว่า ระบบสวัสดิการชุมชน          เป็นระบบจัดการที่มีความสำคัญโดยตัวมันเองรวมทั้งการเป็นแกนเชื่อมร้อยระบบอื่นๆ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ ที่ร่วมตระหนักว่าในสังคมไทย ยังรวมเลือดเนื้อหลายชาติเชื้อไทย

ไม่ใช่เฉพาะทางภาคเหนือ แม้ในภาคใต้ของอาจารย์เอง ก็ยังมีทั้งชาติพันธุ์มอแกน ซาไก หรือแม้แต่กลุ่ม "คนไทยพลัดถิ่น" จำนวนมากที่ระนอง พังงา ประจวบฯ ซึ่งเป็นคนไทยที่ติดแผ่นดินมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ที่เสียให้กับพม่า สมัยต้นรัตนโกสินทร์

กลุ่มไทยพลัดถิ่นนี้น่าสนใจและน่าจะเกี่ยวข้องกับอาจารย์นะคะ เพราะเขามีการรวมเครือข่ายช่วยเหลือกันด้านสิทธิและสัญชาติไทย ผ่านกระบวนการ "กลุ่มออมทรัพย์" ด้วยค่ะ

อาจารย์อย่าลืมให้ความเห็นสำหรับคำถามแรกด้วยนะคะ ที่ว่า "ในตอนเริ่มต้นที่จะให้เกิดการรวมกลุ่ม ควรทำอย่างไร"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท