ห้องที่ 25 ครั้งที่ 3 ตอนที่ 2


แก่นของความรู้ ที่เก็บอยู่ในขุม

ห้องที่ 25 ครั้งที่ 3 (ตอนที่ 2)            

        หลังจากที่ผมได้กล่าวถึงความหมาย หลักการของการนิเทศภายในโรงเรียนมาแล้ว 1 ตอน พอสมควรแก่การทำความเข้าใจร่วมกันแล้ว ผมขอ วกกลับมาเข้าเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในห้องที่ 25 ต่อกันเลยนะครับ  คุณกิจ ท่านแรกที่เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ 1. ครูปารถนา ตันติกุลไพบูลย์  โรงเรียนรัตนไพศาล  จับประเด็นสำคัญได้ดังนี้     เป็นครูทำหน้าที่หัวหน้างานนิเทศ เทคนิคที่ใช้คือ การนิเทศกันเอง และและฝ่ายบริหารนิเทศ     มีสื่อทำความเข้าใจ และทำการบันทึกร่องรอยการนิเทศ2. นายประคอง  พลายมี  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อสำราญ อำเภอดอนเจดีย์ ท่านเล่าถึงงานด้าน    บริหารว่าทำงานมาไม่นาน งานนิเทศส่วนใหญ่จะเป็นการนิเทศในภาพรวมท่านถือว่างานทุกด้านมี    ความสำคัญ ตรวจสมุดกิจกรรมของนักเรียน ส่วนครูที่มีปัญหาจะขอเชิญเข้าพบเพื่อร่วมกันแก้ไข3. นางสุวณัฏฐ์ เจิมศิริ เจ้าหน้าที่ สพท.สท.เขต 2 (คุณลิขิต)ประสบการณ์เมื่อครั้งทำหน้าที่เป็นศึกษา     นิเทศก์อยู่ที่สปอ.ดอนเจดีย์ ระหว่างปีพ.ศ. 2538-2545 ไปนิเทศครูการเงิน-พัสดุโดยให้คำแนะนำ4. นายสมชาย  วงศ์สวัสดิสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ใช้วิธีการนิเทศแบบ      แนะนำครู แบ่งงานออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) งานนิเทศบริหาร การวางแผน  2) งานนิเทศครู การ     วิธีการประชุม ดูงาน เอกสาร และแยกไปประชุมย่อยตามกลุ่มสาระด้วย5. นางรัฐพร  รุ่งเรือง เจ้าหน้าที่ สพท.สพ. 2 ปฏิบัติงานนิเทศ โดยการตรวจเยี่ยมโรงเรียน และใช้    เอกสารประกอบการนิเทศ6. นายมงคล จินตนประเสริฐ  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านกรวด อำเภอดอนเจดีย์  ใช้วิธีการนิเทศ    แบบเพื่อนช่วยเพื่อน วิธีศึกษาดูงาน มีการนิเทศแบบจับคู่ที่มีประสบการณ์เดียวกัน จัดทำ       เครื่องมือนิเทศ (แบบเช็ค) นิเทศแบบมีขั้นตอน7. นายเมธี ทองคำ ครูโรงเรียนอู่ทอง  อำเภออู่ทอง เป็นวิธีการนิเทศตนเอง สอนนักเรียนแบบจัดกลุ่ม     ให้นักเรียนประเมินครูผู้สอน ครูนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน นำความรู้ไปแนะนำเพื่อนครู8. นายคนึง จินดาเวชช์  ครูโรงเรียนอู่ทอง  อำเภออู่ทอง ใช้วิธีสำรวจความต้องการของนักเรียนวิชา    ภาษาอังกฤษ (การอ่าน) โดยใช้ตารางเปรียบเทียบ9. นาวิรัตน์ เฉิดฉวีวรรณ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนอู่ทอง  มีคติประจำใจว่า บริการทุกระดับประทับใจ     ใช้วิธีนิเทศแบบไม่เป็นทางการ  ได้แบบประเมินมาจากโรงเรียนหนึ่ง และวิธีนิเทศแบบประชิดตัว10. นายสริ  ดวงแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองสานแตร  วิธีการนิเทศโดยการเยี่ยมห้องเรียนโดย     ไม่มีกำหนด (ไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า) เป็นผู้ให้บริการ แนะนะ และแก้ไข11. นายทนง  แก้วเขียว  ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญศรีสุวรรณราษฎร์สามัคคี เล่าถึงการนิเทศคนและการ     นิเทศงาน ใช้วิธีสังเกตการสอน เข้าไปตรวจสมุดของนักเรียน (มิได้ไปจับผิด) ดูแบบไม่เป็นทางการ     ถ้าใช้วิธีการนิเทศแบบตึงเกินไปครูก็ตำหนิ ส่วนนักการภารโรงใช้วิธีนิเทศแบบเทียบ12. นายอรุณ  ปิ่นแก้ว  ผู้อำนวยการโรงเรียน วัดทองประดิษฐ์ อำเภอสองพี่น้อง  ที่โรงเรียนขาดแคลนครู      ที่มีความรู้เฉพาะทาง  วิธีการให้ครูนิเทศกันเองโดยการจับคู่นิเทศ  ให้ครูหัวหน้าช่วงชั้นนิเทศแบบ       เยี่ยมชั้นเรียน  หัวหน้ากลุ่มสาระนิเทศการสอน  ผู้อำนวยการนิเทศทั่วไป แนะนำบอกขั้นตอน      กระบวนการแก่ครู บุคลากร 13. นางสุคนธ์ ตีรวัฒนประภา โรงเรียนวัดหนองยายทรัพย์  ใช้วิธีประชุมวางแผน ผอ.นิเทศครู และครู        นิเทศกันเองในช่วงชั้นเดียวกัน ใช้วิธีนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทางบวก14. นายวิโรจน์ ชัยภักดี (คุณลิขิต) รองผู้อำนวยการโรงเรียนอู่ทอง ผอ.และรองทุกฝ่ายผลัดเปลี่ยนกัน     นิเทศตามหน้าที่รับผิดชอบทุกวันมีตารางและบันทึกการนิเทศโดยวิธีการเยี่ยมชั้นเรียน หัวหน้ากลุ่ม      เดินเยี่ยมครูในกลุ่ม15. นางสาวพิกุล  เฉิดฉวีวรรณ  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขาดีสลัก  แบ่งงานให้ครูรับผิดชอบการนิเทศ      เน้นการนิเทศงานวิชาการ ใช้วิธีการนิเทศแบบจับคู่เพื่อนนิเทศเพื่อน  ทำงานนิเทศในทางบวก 16. นายสุเทพ  รามดี  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองจิก  เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เน้นคุณภาพ จัด      ให้ครูนำเอาผลงานสอนมาพิจารณาจัดนักเรียนแยกเป็น 3 กลุ่ม (เก่ง ปานกลาง อ่อน) ออกแบบ       สร้างเครื่องมือ 3 ชุด ให้นักเรียนใช้เรียนรู้ จัดสร้างและนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้ เด็ก 90% พัฒนา17. นายสุชิน  โภชฌงค์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทะเลบก  ผอ.มาโรงเรียนเป็นคนแรกและกลับทีหลัง      วิธีการนิเทศโดยการประชุม  (นอกเวลาเรียน) นิเทศแบบพบปะพูดคุยกับครู ไม่เป็นแบบแผน         นิเทศงาน ฝ่าย นำเอาธรรมเข้ามาใช้ และนำเอาส่วนที่ดีมาใช้18. นายชำเลือง มณีวงษ์ ครูชำนาญการพิเศษศิลปะ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 (คุณอำนวย) ทำ     หน้าที่หัวหน้างานนิเทศการสอนและติดตามประเมินผลโดยวิธีการเยี่ยมเยียน เสนอแนะในที่ประชุม      กลุ่ม แบบไม่เป็นทางการ  นิเทศแบบพูดคุย  และกำกับติดตามแผนการจัดการเรียนรู้ ตรวจ      เสนอแนะ ชื่นชมครู โดยดำเนินงานในทางบวก (แบบกัลยาณมิตร) ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมีการ     แบ่งวันกันทิเทศโรงเรียน และนิเทศห้องเรียนแบบเยี่ยมเยียนทุกวัน และนิเทศแบบประชุมแก้ปัญหาผมเป็นคนสุดท้ายที่เล่าเรื่องเทคนิคการนิเทศภายในโรงเรียนเวลาในตอนนั้นประมาณ 11.25 น. เราก็มาช่วยกันสรุปข้อมูลที่เป็นแก่นลงในกระดาษแก่นละ 1 แผ่น เขียนแก่นของตนเองและช่วยกันจนได้แก่นความรู้จากการเล่าเรื่องจำนวนมาก  ต่อจากนั้นเราก็มาจัดแก่นความรู้ที่คล้าย ๆ กันนำมารวมกันวางไว้ในกองเดียวกัน รวมเป็นชุด ๆ เรียกว่าขุมความรู้แล้วตั้งหัวข้อขุมความรู้ใหม่ให้ครอบคลุม หรือเป็นตัวแทนแก่นความรู้ทั้งกอง กลุ่มของเรารวมแล้วได้ 2 ขุมความรู้ และตั้งชื่อว่า ขุมความรู้รูปแบบการนิเทศ กับวิธีนิเทศโดยใช้เครื่องมือ

          เวลาผ่านมาถึง 12.10 น. พวกเรากำลังจะแยกย้ายกันไปพักรับ ประทานอาหารก็พอดีคณะของท่านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2  ท่าน ผอ.อนุสรณ์ ฟูเจริญ ท่านรอง ผอ. และศึกษานิเทศก์ มีหัวหน้าลำดวน ไกรคุณาศัย มีศน. ปวีณา ธิติวรนันท์ เดินทางมาเยี่ยมกลุ่มของเราที่ห้อง 512 อาคาร 5  ท่าน ผอ.อนุสรณ์ ได้ทักทาย ให้กำลังใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม และพวกเราได้ถ่ายภาพร่วมกับคณะของท่าน  ต่อจากนั้นพวกเราก็....(ติดตาม ตอนที่ 3)                                              

คำสำคัญ (Tags): #ภูมิปัญญา
หมายเลขบันทึก: 97685เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากติดต่อกับอาจารย์ชำเลือง นะครับ

สนใจอยากทำชำนาญการพิเศษด้านศิลปะนะครับ

ขอคำแนะนำด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

เลือกผลงานทางศิลปะที่จะทำชำนาญการพิเศษ  ช่วยส่งข้อความข้อคิดเบื้องต้นในการเริ่มทำผลงาน เพื่อส่ง

คุณอาคม เดชคุณมาก

  • จากข้อความเกี่ยวกับการทำผลงานทางวิชาการทางศิลปะเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งเป็นครูชำนาญการพิเศษ
  • ขอแนะนำให้อาจารย์เลือกแขนงงานศิลปะที่ถนัดที่สุดนำเสนอ
  • ผลงานทุก ๆ แบบตามที่กำหนดเอาไว้ให้ส่งได้ (มี 3 แบบ) ควรรายงานในรูปแบบของงานวิจัย และมี่ความชัดเจน เพราะบางทีเราทำไปดีมาก แต่ผู้อ่านมิใช่ผู้ที่เชี่ยวชาญตรงทางกับเราเลย ถือว่าโชคร้านครับ
  • ติดต่อผมได้ตามประวัติในบล็อก gotoknow.org. หรือที่  Email : [email protected]
  • หรือเข้าไปในหน้าประวัติจะมีรายละเอียด โดยพิมพ์ค้นหาที่เว็บ google โดยพิมพ์คำว่า ประวัติ- ชำเลือง เอ็นเทอร์เข้าไปได้ครับ 

คุณชนิตา

  • เลือกทำผลงานทางศิลปะ ดีครับจะได้มีครูชำนาญการทางศิลปะมาช่วยสร้างสรรค์ความสวยงามมาก ๆ กว่านี้
  • สิ่งแรกที่อาจารย์จะต้องคำนึงถึงก็คือ ผลงานนั้น ๆ จะต้องทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • หรือจัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่ระดับที่สูงขึ้น (ความเก่งในการสอนกับการทำผลงานเก่ง บางทีมันก็คนละทางกันนะครับ ต้องแยกให้ออก) บางคนสอนเด็กจนสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นอาชีพมีรายได้ยังไม่ผ่านเลย น่าเก็บเอามาคิดมาก
  • ขอให้อาจารย์โชคดี ครับ

ต้องการข้อมูลการนิทศเชิงพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ค้นหาจากหนังสือท่านใดได้บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท