ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ข้าราชการยุคใหม่กับการแก้ไขปัญหาความยากจน


การฝึกอบรมทางไกลสำหรับข้าราชการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นับเป็นโครงการที่ดีที่จะทำให้ข้าราชการรุ่นใหม่ได้มองเห็นมิติทางสังคมากขึ้นในการที่จะลงไปให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในอนาคต

ความยากจน เป็นหนึ่งในหลายปัญหาที่ประชาชนคนไทยต้องเผชิญ ไม่ว่าคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง หรือสังคมชนบทก็ตาม ซึ่งต่างก็เจอกับปัญหาความยากจนเช่นกันโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น รัฐบาลก็พยายามที่จะทำทุกวิถีทางในการที่จะหาทางช่วยเหลือเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่ายิ่งพัฒนามากเท่าไหร่ประชาชนคนไทยก็มีหนี้สินมากเป็นเงาตามตัวเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล สถิติ เกี่ยวกับสินค้าเกษตร การจัดทำแผนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดให้มีการอบรมทางไกลสำหรับข้าราชการใหม่ที่จะได้เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ณ มหาชีวาลัยอีสาน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจะได้เห็น และสัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งจริงๆ แล้วสำนักเศรษฐกิจการเกษตรก็มีความคาดหวังลึกๆ ว่าข้าราชการรุ่นนี้จะสามารถไปช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมจึงดีใจแทนพี่น้องเกษตรกรจริงจิ๊งๆ ที่เราจะได้พบกับข้าราชการสายพันธุ์ใหม่ ที่มีใจในการลงไปช่วยเหลือพี่น้องอย่างแท้จริง

ความหวังก็น่าจะเป็นจริง เพราะผมเห็นพี่น้องที่มาอบรมในครั้งนี้ให้ปฏิญญากันว่าเราจะเป็นข้าราชการที่ดี และการเป็นข้าราชการที่ดีนั้นจะต้องทำหน้าที่ 2 บทบาทอันประกอบด้วย 

1. ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีเต็มความสามารถ

2. ทำหน้าที่พัฒนาสังคม ดูแลสังคม ช่วยเหลือสังคม

จากนั้นจึงได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่บอกว่าเรามองความยากจนว่าอย่างไร ซึ่งเป็นโจทย์ที่เราต้องช่วยกันมองและต้องตีให้แตก ก่อนที่เราจะลงไปช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และแล้วก็ได้ข้อสรุปออกมาว่า

คนจนเป็นคนอย่างไร

1.คนจน เป็นคนที่ขาดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทุน หรือความรู้

2. คนจน พึ่งรัฐอย่างเดียว

3. คนจน ไม่พึ่งความรู้

4. คนจน ไม่ใช้วิชาการ

5. คนจน เข้าไม่ถึงข้อมูล

6. คนจน ไปใช้จตุคามรามเทพ 

แล้วเราจะแก้ไขความยากจนได้อย่างไร ทุกกลุ่มก็แสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ และสุดท้ายจึงได้ทางออกว่าเราจะต้อง 

1.     ให้คนรู้จักคิดเอง ในการที่จะพึ่งตนเอง ขอให้มีความรู้ มีศักยภาพ และมุ่งมั่น

2. ทำอะไรให้พออยู่พอกิน โดยทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ และการทำเกษตรประณีต

3. ภาครัฐฯ เป็นตัวกลางเชื่อมโยง ในการทำงาน

4. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เช่น มหาชีวาลัยอีสาน ศูนย์ฯ ฯลฯ

5. สร้างความเชื่อว่าความจนแก้ได้

6. สร้างเสริมเงื่อนไขความรู้ คู่กับ เงื่อนไขคุณธรรม

7. การจดบัญชีครัวเรือน

8. แก้ไขนโยบายสร้างหนี้ ของภาครัฐ

9. รัฐต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

 จากแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางจากการแสดงความคิดเห็นของข้าราชการในระดับผู้ปฏิบัติที่เริ่มต้นเข้าสู่ระบบราชการที่ยังมีความใส และสด แต่มีความมุ่งมั่นในการที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วประเทศ แล้วเราจะทำอย่างไรดีที่จะรักษาสภาพความสด และความบริสุทธิ์ใจของเขาเหล่านั้นให้มีความมุ่งมั่นในการที่จะทำงานให้เป็นไปตามความคาดหวังที่อยากให้เป็น 

ขอบคุณมากครับ

อุทัย   อันพิมพ์

20 พฤษภาคม 2550 

(มีต่อตอน 2 ครับ)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 97444เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท