อดุลย์
นาย ภัยชำนาญ อิสมาแอล อดุลย์

คุยกับเพื่อนรัก


การอ่าน และ การถาม

คืนก่อนมีโอกาศนอนคุยกับเพื่อนร่วมห้องพักที่อาศัยอยู่ถึงประเด็นการได้มาซึ่งความรู้ว่า  เพื่อนถามผมว่า "ความรู้ที่ได้มานั้นได้มาโดยช่องทางใด" ผมตอบว่าการอ่าน เพราะว่าการอ่านนั้นเป็นก้าวแรกแห่งการเริ่มต้นการเรียน การอ่านเป็นการจุดชนวนแห่งการคิดต่อยอด และก็การอ่านอีกนั้นแหละที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถเป็นคนที่ไม่ล้าหลังใคร  (มาเข้าเรื่องที่จะเล่าต่อ) เพื่อนของผมก็แย้งว่า "การถามต่างหากที่เป็นช่องทางแห่งการเรียนรู้" เพราะการถามจะทำให้คนที่ไม่รู้เป็นคนที่รู้ และจากคนที่รู้กระจ่างในประเด็นความรู้ต่าง ๆ   เออ  มันก็จริงเพราะถ้าหากปราศจากซึ่งการถามแล้วความรู้ก็มิได้เพิ่มพูนขึ้น (มิหนำซ้ำยังจะถดถ่อยด้วยซ้ำ) แต่หากเราจะพูดถึงสิ่งช่องทางที่ดีเลิศตามทัศนะอิสลามเพราะการอ่านยังเป็นอายะแรกที่พระองค์อัลลอฮฺ  ทรงประทานแก่มนุษยชาติให้มนุษย์เป็นผู้ที่ฉลาดและมีเกียติร  กว่าสัตว์โลกชนิดอื่น

          ฉนั้นผมและเพื่อนของผมคนนี้ก็เลยสรุปพร้อมกันว่าการอ่านเป็นการแสวงหาความรู้ที่ดีที่สุดแต่อย่างไรก็ตามเรามิอาจละทิ้งการแสวงหาความรู้ด้วยกับการถามเช่นเดียวกัน 

พอเสร็จจากการนอนคุยต่างคนก็อ่านดุอาฮฺ แล้วก็หลับไปพร้อมกับอิ่มเอิบ  พร้อมรอเวลารุ่งส้าง เพื่อเข้ามาทำงานในวันรุ่งขึ้น

 และท่านอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

คำสำคัญ (Tags): #นั่งเล่น
หมายเลขบันทึก: 97426เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ท่านนาบีอิบรอฮีม เห็นแล้วเกิดคำถามแล้วก็พิสุจน์ แล้วได้ความจริง

ดังนั้นเราจึงพบว่า ในอัลกุรอานจึงกระตุ้นให้เกิดข้อคำถาม ข้อสงสัย หรือข้อคิด แล้วทำให้เกิดกระบวนการของการหาคำตอบที่ถูกต้อง

แต่นั่นแหละครับ กระบวนการหาคำตอบ(หาความรู้)จากคำถาม(ข้อสงสัย หรือความไม่รู้) นั้นมีหลายวิธี และวิธีแรกที่ถูกนำเสนอในอัลกุรอานคือการอ่าน

(อ่านแล้วงงมัย)

 

ดีมากครับ อย่างที่ อาจารย์
P
ผมก็นึกการสอนแบบ PBL แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวิธีการสอนแบบนี้ แต่พอเข้าใจ เพราะในอัลกุรอานมีหลายกรณีที่อัลลอฮฺยกตัวอย่างการศึกษาโดยการพยายามหาคำตอบจากการสงสัย อย่างเช่น กรณีนบีอิบรอฮีม ค้นหาพระเจ้า หรือแม้แต่ อัศฮาบุลกะฮฺฟี Seven in the cave

ครับขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของอาจารย์ทั้งสองท่านมากครับ......และหากเราคิดต่อว่าถ้าหากเราจะนำการสอนแบบ PBL มาใช้กับการศึกษาในสถานศึกษาของเราก็จะเป็นการดี(โดยเฉพาะการสอนวิชาอิสลามศึกษา)อย่างมาก  เพราะว่าเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนตั้งคำถามขึ้นในใจแล้วค้นหาคำตอบเอง(โดยเฉพาะประเด็นคำถามที่เป็นปัญหา (คีลาฟียะฮฺ)เพราะอย่าลืมว่านักศึกษาของเรามาจากหลายสถาบันหลายพื้นที่สิ่งเหล่าย่อมจะมีอยู่แล้ว)

การสอนแบบนี้จะเป็นตัวช่วยนักศึกษาของเราได้มากทีเดียวนะครับผมว่า..........

 

 

 

ครับผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับการซึ่งได้มาความรู้นั้นด้วยการอ่าน เพราะการอ่านนี้เป็นโองการแรกเลยที่อัลลอฮทรงประทานให้มนุษยชาติ และมีสถาบันหนึ่งที่คงดำรงอยู่ระบบการเรียนการสอนด้วยการอ่านและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกด้วยนั่นก็คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (พอดีเคยเป็นศิษย์เก่าของมหาลัยนี้ด้วย)

ซัน น่าร๊าก!!!!!! ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ร๊ากกกกกก!!!!!!!!!!!!! น๊า ค๊า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท