สำเนียงส่อภาษา


ดูเหมือนว่าปัญหาการออกเสียง ร ล จะเป็นปัญหาระดับชาติเลยก็ว่าได้เพราะการออกเสียงผิดความหมายของคำจะผิดทันทีรวมทั้งส่งผลให้เขียนภาษาไทยผิดอีก

                               การเป็นนักประชาสัมพันธ์ซึ่งมีหน้าที่ในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานไปสู่กลุ่มเป้าหมายโดยผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน  สังคม ซึ่งในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต้องมีความระมัดระวัง     ข่าวสารที่ไม่เหมาะสมในอันที่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบ  ดังนั้น  นอกจากความรู้ความสามารถในเรื่องของทักษะการอ่าน  การพูด  การคิด  การเขียนดังที่ป้าเม้าเคยเล่าให้ฟังแล้วนั้น  บุคลิกภาพก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อถือศรัทธาในตัวผู้พูดและเรื่องที่พูด  ฉะนั้น  จึงควรได้มีการฝึกฝนในเรื่องของการพูด

1.     การเปล่งเสียง  ให้ถ้อยคำออกมาชัดเจน  เปล่งเสียงให้เต็มเสียงแต่ไม่ใช่ตะโกน  ให้มีเสียงสูงต่ำมีชีวิตชีวาแบบธรรมชาติ

2.       จังหวะการพูด  ให้มีน้ำหนักคำน้ำหนักความ  ไม่เร็วหรือช้าเกินไป

3.     ฝึกอ่านคำหรือข้อความที่ยาว ๆ  ซึ่งในการอ่านบางครั้งจะมีคำหรือข้อความที่ยาว ๆ ติดกันที่ไม่สามารถเว้นวรรคได้   เช่น  การอ่านคำราชาศัพท์  ต้องฝึกการออกเสียงให้ถูกต้อง  ฝึกบ่อย ๆ ให้ชินลิ้นชินปากเพื่อที่จะได้ไม่เกิดการผิดพลาด 

  4.     การออกเสียง      และคำควบกล้ำ  (เสน่ห์และความไพเราะของภาษาไทยอยู่ตรงนี้)  และดูเหมือนว่าปัญหาการออกเสียง      จะเป็นปัญหาระดับชาติเลยก็ว่าได้เพราะการออกเสียงผิดความหมายของคำจะผิดทันทีรวมทั้งส่งผลให้เขียนภาษาไทยผิดอีกด้วย  เช่น  กราบ  ออกเสียงเป็น  กาบ  ครบ  ออกเสียงเป็น  คบ  หรือกระทั่งคำว่า      มหาวิทยาลัย  อ่านว่า  มะ หา วิด ทะ ยา ลัย 

                        มีหลายครั้งที่ป้าเม้ามักจะได้ยินหลายท่านที่ออกเสียงเป็น   มะ หา ทะ ลัย  หรือ  มะ หา วิด ทะ ลัย 

                       ในโอกาสหน้าป้าเม้าจะได้นำแบบฝึกนวดลิ้นสำหรับท่านที่มีปัญหาการออกเสียง      มาฝาก  ซึ่งป้าเม้าก็ได้รับความอนุเคราะห์จากครูบา  อาจารย์    ที่ท่านให้ความกรุณาบอกและสอนถึงเทคนิควิธีการออกเสียงจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบการออกใบอนุญาตผู้ประกาศ  กรมประชาสัมพันธ์  เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน

หมายเลขบันทึก: 97040เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

กรณีใบอนุญาติหมดอายุนานแล้ว...และยังไม่ได้ต่ออายุต้องสอบหรืออบรมใหม่หรือไม่ครับ...ของผมแบบใบอนุญาต " สื่อสารมวลชน... กรมประชาสัมพันธ์..หลายปีแล้วไม่ได้ต่อครับ

  • สวัสดีค่ะป้าเม้าที่ยังสาวและสวย  แถมเก่งอีกเสียด้วย
  • รอป้าเม้ามาสอนการนวดลิ้นค่ะ  เพราะเป็นคนที่ต้องพูดๆๆๆ  และพูด  (บรรยายหลักสูตรที่ทำงานน่ะค่ะ)...และบ่อยครั้งที่ลิ้นพันกันนุงนังซะงั้นน่ะค่ะ..
  • ขอบคุณค่ะ

 

ตอบ  คุณ  น.เมืองสรวง

อยากให้คุณ  น.เมืองสรวง  สอบถามรายละเอียดที่ฝ่ายออกใบรับรองผู้ประกาศและผู้จัดรายการ  กองงาน  กกช.  ชั้น  8  กรมประชาสัมพันธ์  เบอร์โทร  0  2618-2323  ต่อ  1816 , 1820  นะคะ  เพราะไม่ทราบว่าที่หมดอายุนานนั้นนานแค่ไหน  และอีกประการหนึ่งใบอนุญาตที่กล่าวถึงเป็นใบอนุญาตผู้ประกาศ  ซึ่งผู้ที่ประกอบอาชีพพิธีกร  ผู้ดำเนินรายการวิยุ  โทรทัศน์  ผู้ประกาศ  ผู้ประกาศข่าว  ฯลฯ  ต้องมี  แต่เนื่องจากในขณะนี้มีการออกระเบียบใหม่ ๆ เกี่ยวกับการสอบใบผู้ประกาศ  ถ้าคุณ  น.เมืองสรวง  สอบถามไปยังกรมประชาสัมพันธ์ตามที่ได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้จะได้ข้อมูลที่กระจ่างกว่าค่ะ 

ตอบ  คุณน่านฟ้าทะเลลม

ขอบคุณมากค่ะที่ติดตาม  เร็ว ๆ นี้ค่ะคงจะได้นำขึ้นให้อ่าน  แต่มีเทคนิคการพูดที่ขออนุญาตบอกต่อสักนิด  คือ  บางครั้งการที่เราพูดแล้วทำให้เกิดการเพี้ยนเสียงหรือลิ้นพันกันอาจมีสาเหตุมาจากการพูดที่ไม่ขยับปากและการออกเสียงไม่สุดเสียง

การออกเสียงไม่สุดเสียงหมายถึง  เช่น  หากท่านจะออกเสียงคำว่า  ห่าน  ท่านลองเทียบเสียงตามเสียงวรรณยุก เอก  โท  ตรี  จัตวา  ก็จะได้เสียง ฮาน   ฮ่าน  ฮ้าน  ฮ๊าน  หาน  ท่านลองลากเสียงตรงเสียงที่ออกห่านสุดแค่ไหน  นั่นคือการลากเสียงหรือออกเสียงที่สุดคำ  หากท่านออกเสียงสั้นกว่า  เสียงที่ออกก็จะเป็น  หั่น  หรือเสียงอื่น  แทนที่จะเป็น  ห่าน

อีกสาเหตุหนึ่ง  คือการไม่ขยับปาก  ทำให้อวัยวะในช่องปาก  ก็คือ  ลิ้น  ทำงานได้ไม่เต็มที่  ทำให้มีโอกาสมากที่จะทำให้ออกเสียงเพี้ยนหรือลิ้นพัน

ท่านลองพูดคำว่า   "ปลาวาฬ"  แล้วพูดแบบขยับปาก  ไม่ใช่ขยับแค่ริมฝีปาก  จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการเพี้ยนเสียงหรือว่าอาการลิ้นพันกันได้

หรืออีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะท่านเป็นคนที่พูดเร็วก็มีส่วน  ก็แก้ไขโดยการพูดในจังหวะจะโคนที่ช้าลงแต่กระชับ  ก็สามารถช่วยได้ 

บางท่านสาเหตุจากการวางลิ้นในตำแหน่งที่ผิด  เช่น  พูด  ส  แต่ตอนที่ออกคำว่า   สอ  ท่าใช้ลิ้นออกมาสัมผัสที่ฟันแน่นอนทำให้การออกเสียงเพียน  ถ้าใครมีปัญหาการออกเสียง  ส  ลองใช้เทคนิคนี้ค่ะ

ให้พูดคำว่า   สาว      สวย   ใส่   เสื้อ   สี    แสด  

ปัญหาการออกเสียงบางครั้งต้องดูที่แต่ละบุคคลด้วยว่าปัญหาเกิดจากการไม่ขยับปาก  หรือวางตำแหน่งลิ้นผิด  หรืออกเสียงไม่สุดเสียงแล้วค่อย ๆ แก้ให้ถูกจุด  ก็จะหายค่ะ 

ไม่มีใครที่ออกเสียงได้ถูกต้อง  ชัดเจน  เต็ม  100 %  แต่ก็ไม่ควรจะต่ำนัก  ก็ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา  เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์  ความงามและไพเราะของภาษาที่ไม่มีชนชาติใดเหมือนจริงไหมคะ

 

เพราะว่าเราไม่ค่อยได้ยินเสียงที่ถูกต้องมาตั้งแต่เด็ก การที่จะออกเสียงให้ถูกต้องเป็นเรื่องค่อนข้างยาก (เห็นน้อย พูดน้อย) คนส่วนใหญ่พูดออกเสียงผิด และการที่เราออกเสียงถูกต้องอาจเป็นเรื่องน่าอับอายในกลุ่มสังคมที่ออกเสียงผิดจนเป็นธรรมดา

เราอาจต้องแก้ปมตรงที่ สอนพ่อแม่ให้พูดกับเด็กให้ถูก มากกว่าสอนเด็กให้ออกเสียงให้ถูก (อ้อ แอ้ งับฮับ ป๋ม กิงข้าว) พ่อแม่ส่วนหนึ่งถูกลูกสอนโดยไม่รู้ตัวด้วยความภูมิใจที่ลูกเริ่มพูดได้แล้ว...  -_-"

ในชั้นเรียน ประถมศึกษา ครูก็สอนถูกต้องนะ ก.ไก่ ข. อา ขา เลิกเรียนกลับบ้าน เหมือนเดิม "คับ" คู สอน แต่ คู ที่บ้าน ไม่สานต่อ เฮ้อ...

ว่าแล้วก็ลืม มารยาทไทย ๆ ไปเลย สวัสดีครับป้าเม้า หุหุ -_-"

ตอบ คุณไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน

อย่างที่ "คุณไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน"  กล่าวมาก็ถูกต้อง  จะเห็นได้ว่าในช่วงยุคสมัยหนึ่งเด็กไทยจะนิยมออกเสียงภาษาไทยแบบที่เรียกว่าออกเสียง  ว  เป็น  วล  ผสมกัน  เนื่องจากได้รับอิธิพลจากการฟังที่อกเสียงผิดเพี้ยนไป  แต่ก้อยากให้ทุกท่าน  "รักษ์"  ภาษาไทยกันค่ะ  ก่อนจะลาก็ต้องขอขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ  สวัสดีค่ะ

ขอประทานอภัยเป็นอย่างสูง  พิมพ์คำบางคำผิด  เช่น  ก็  เป็น  ก้  แหม...ยอมรับค่ะว่าเริ่มมีปัญหาทางสายตา  หวังว่าจะอภัยให้กันนะคะ

ขอชี้แจงเพิ่มเติมค่ะ  เนื่องจากมีผู้โทรศัพท์เข้ามาถามการออกเสียง  ส  ที่นำลิ้นมาสัมผัสฟันคืออย่างไร  เพราะหากพูด  ส  ลิ้นก็ต้องสัมผัสฟันจึงจะออกเสียง  ส  ได้

เป็นเพราะว่าป้าเม้าอธิบายไว้ไม้ชัดเจน  การวางลิ้นในตำแหน่งที่ผิดในกรณีที่ออกเสียง  ส  หมายถึง  จะเห็นว่าบางท่านพูด  ส  โดยแลบลิ้นออกมาด้านอกจึงทำให้ออกเสียง  ส  เพี้ยนไปค่ะ  ดังนั้นลองฝึกการออกเสียง  ส  โดยพูดคำว่า  สาว  สวย  สวม  ใส่   เสื้อ  สี  แสด  (ลองดูนะคะ)

และขอขอบคุณท่านที่ได้เข้ามาอ่านและให้ความสนใจนำเทคนิคไปฝึกออกเสียงภาษาไทยทุกท่านเลยค่ะ

ดูเหมือนว่าปัญหาการออกเสียง ร ล จะเป็นปัญหาระดับชาติเลยก็ว่าได้เพราะการออกเสียงผิดความหมายของคำจะผิดทันท ีรวมทั้งส่งผลให้เขียนภาษาไทยผิดอีก

พบเด็กพูด ส.เสือไม่ได้

เด็กอายุประมาณ 8 ปี

จะพูด สงเสือ เป็น ต๋อเตื่อ

เด็กอายุประมาณนี้พูด ส.เสือไม่ได้

ผิดปกติไหม ต้องแก้ไขอย่างไร

แต่เด็กสามารถพูด ช.ช้าง ซ.โซ่ได้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท