Discharge Planning : ตอน ฟื้นฟูสภาพปอด


คุณสุห้วงได้เล่าสู่ให้ฟังเรื่อง   การฟื้นฟูสภาพปอด   เนื่องจากสภาพคนไข้ของหอผู้ป่วยเธอจะมีสภาพที่ต้องฟื้นฟูปอดเป็นส่วนใหญ่     แต่เธอจะมีปัญหาเรื่อง ที่ดูด  Triflow  มีน้อย     (เรื่องเล่าตอนนี้พี่จุดจึงใส่ภาพประกอบมาให้ด้วย    เพื่อจะได้ดูเข้าใจมากขึ้น   แต่เป็นภาพตัวอย่างของคนไข้ใน รพ. มอ  นะคะ  ต้องขอขอบคุณพี่โอ๋ด้วยที่ช่วยพี่จุดในเรื่องการใส่ภาพในครั้งนี้ค่ะ) 

                      Triflow6           Triflow5             

 เธอเล่าว่า   การเบิก Triflow   ของ รพ.  ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์     จะเป็นการเบิกที่เบิกยากเบิกเย็นมาก ๆ  (ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด)   ด้วยจำนวนที่มีน้อย  คนไข้ดูดจนเป็นเชื้อรา แล้ว  แหม........บรรยายเสียจนพวกเราที่นั่งฟังเห็นภาพพจน์    แถมพี่ท่านมีการแซวพวกเราด้วยว่า       พี่รู้ว่าที่  มอ.  เองก็มีการใช้ Triflow  เยอะเหมือนกันใช่มั้ย  จะแบ่งไปให้พี่บ้างก็ได้นะ           ปรากฎว่า.......เธอแซวได้ผลแหะ   แต่ไม่ใช้แบ่งจาก รพ.มอ  ไปให้นะ  มีบางคนแบ่งเงินในกระเป๋าตัวเองให้เธอ   รวมทั้งพี่จุดด้วย       

สรุปแล้วเธอได้ไปหลายตัว   แต่พวกเราที่แบ่งเงินให้ได้มากกว่าเธอเยอะมาก   เพราะเธอได้  Triflow  จำนวน..........ตัว    สิ่งที่พวกเราได้คือความสุขที่วัดค่าออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้เลย    ใครที่อ่านถึงตรงนี้แล้วหากมีใจที่จะร่วมบริจาคด้วย     ก็ขอเชิญได้เลยนะคะ   อย่างน้อยที่สุด 

ให้คุณสุห้วงได้ลงแรง 

แต่พวกเราช่วยกันลงขัน  

ผลลัพธ์ออกมาเท่ากัน   

นั่นคืออิ่มบุญเหมือนกันเลย  

ฮิ.......ฮิ....... เขียนถึงตรงนี้แล้ว   พี่จุดต้องหยุดเขียน   หยิบร่างบันทึกท่อนนี้ขึ้นมาอ่าน   อ่านแล้ว.........อ่านอีก.......ไม่เบื่อ     นั่งคิดในใจว่า    ความสุขที่ได้ทันตาเห็นคือ   ทำให้อารมณ์เราลื่นไหลในความคิด         และลิขิตออกมาได้อย่างคล้องจอง       โดยไม่ต้องใช้เวลาคิดเลย   (สำหรับบันทึกท่อนนี้)    มันอาจจะดูไม่ดี   ไม่สละสลวย  ไม่สุนทรีย์   ไม่น่าอ่าน   ไม่เข้าท่าสำหรับบางคน   แต่สำหรับพี่จุด   กว่าจะเรียบเรียงได้แต่ละท่อน  แต่ละบันทึก  ใช้เวลาเป็นวันเลย

 เอาล่ะ.......เรามาฟังเรื่องฟื้นฟูสภาพปอดต่อนะคะ  คุณสุห้วงเล่าว่า  ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของการดูแล     ทำให้เธอคิดว่าคนไข้ในหอผู้ป่วยเธอ     ถ้ารายใดต้อง     off  tube     และถอดเครื่องช่วยหายใจ     ถ้าค่า   O2   sat  room air       (ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในบรรยากาศปกติ) ยังไม่ถึง  92 - 95  คุณสุห้วงจะไม่กล้าปล่อย / จำหน่ายออกไป     เพราะถ้าคนไข้ยัง  deep  breathing  (หายใจเข้า ออกลึก ๆ)  ไม่ดี   ฟื้นฟูปอดไม่ดี  เขาจะต้องกลับมาอยู่ใน รพ. ใหม่แน่นอน 

ปัญหา.........แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า    ปอด   ฟื้นฟูดีแล้วหรือยัง  ???  ด้วยปัญหานี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณสุห้วงต้องคิด.....เพื่อหาทางออก.....คุณสุห้วงได้ไปทบทวนเอกสารตำรา พบว่า

—        ปอดคนเรามันมี  5  lobe  ข้างขวา  3  ข้างซ้าย  2

—        มีถุงลมประมาณ  750

—        ปอดของคนเราโดยธรรมชาติแล้ว      ข้างบนจะมีถุงลมขนาดใหญ่   แต่บริเวณน้อยกว่า  ส่วนข้างล่างถุงลมจะมีจำนวนมากมายเลย   แต่ขนาดเล็กกว่า

—        และเมื่อไหร่ที่เรา  deep  breathing    เข้าไปมาก ๆ  เราจะได้ปริมาณอากาศเพิ่มจากปกติ  6  เท่า

—        เพราะฉะนั้นอันไหนที่ขนาดเล็กกว่าแต่ปริมาณมากกว่า   พื้นที่การแลกเปลี่ยนก๊าซ   ก็จะมากกว่า   ดังนั้นถ้าเรายกแขนขึ้น Chest cavity  ตรงนี้จะถูกถ่างออก   ก็น่าจะทำให้มีการดูดอากาศเข้ามาได้มากขึ้น        วิธีนี้น่าจะได้ผลแทนการให้คนไข้ดูดและเป่า  Triflow 

คุณสุห้วงคิดได้เช่นนั้นปุ๊บ   ก็เริ่มทดลองเลย  โดย         

 1.    เลือกคนไข้ที่จะมาเข้ากลุ่มทดลอง   โดยคนไข้กลุ่มนี้ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางปอด         

2.    การทดลองคือ                       

2.1  ให้คนไข้ deep breathing  แล้วก็ลองวัดค่าออกซิเจนดู                       

2.2  หลังจากนั้นให้คนไข้เค้ากางเขนออกแล้วก็วัดค่าออกซิเจนดู  วัดไปเรื่อยๆ   แล้วนำค่าที่วัดได้มาเปรียบเทียบผล 

ผลการทดลองในคนไข้  3 ราย

รายที่ 1        เป็นผู้หญิงอายุ  59 ปี    ในอุณหภูมิห้องปกติ   วัดค่าออกซิเจนได้     90    หลัง deep  breathing    วัดค่าออกซิเจนได้     93     หลังกางเขนทั้ง 2 ข้างออกด้วย    วัดค่าออกซิเจนได้     96 -97         

รายที่ 2        เป็นผู้ชายอายุ   17 ปี   ในอุณหภูมิห้องปกติ   วัดค่าออกซิเจนได้     95     หลัง deep  breathing   วัดค่าออกซิเจนได้     97     พอกางเขนสูงหลัง deep breathing วัดค่าออกซิเจนได้ 97           

รายที่ 3        เป็นคนไข้อายุ  40 ปี  เป็นโรคไตด้วย     ในอุณหภูมิห้องปกติ    วัดค่าออกซิเจนได้     92    หลัง deep  breathing   วัดค่าออกซิเจนได้     94     กางเขนสูงหลัง deep breathing  วัดค่าออกซิเจนได้     97 98 

จากการสุ่มทดลองในคนไข้   3 ราย    คุณสุห้วงเริ่มเรียนรู้ว่า   วิธีนี้น่าจะได้ผล แทนการให้คนไข้ดูด  Triflow   อันนี้ล่ะที่เราเรียกว่า  routein  to  research  (R2R) 

คุณสุห้วงจึงเขียน  proposal  ส่ง   โดยให้ชื่อหัวข้อว่า    ผลการเปรียบเทียบค่า     ความอิ่มตัวของออกซิเจน   ระหว่างการฟื้นฟูสภาพปอดอย่างง่าย    กับการดูด  Triflow  ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 

ฟังคุณสุห้วงเล่าในสิ่งที่ตัวเองได้ทำ       พี่จุดสุดจะภาคภูมิใจและอดที่จะหัวใจพองโตด้วยไม่ได้     เพราะความปิติในตัวเธอ   ซึ่งเป็นตัวแทนวิชาชีพพยาบาลที่ทำให้วิชาชีพมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

 ก่อนจบบันทึกครั้งนี้     พี่จุดขอสรุปเรื่องเล่าซึ่งบรรยายโดยคุณสุห้วงดังนี้ค่ะ                                                                                 

Story1   Story2   Story3

 

 Input   

%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a8%e0%b8%a3

       Process

%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a8%e0%b8%a3

 Output 

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e1 

 พยาบาลที่ทุ่มเทดูแลคนไข้ด้วย น้ำคิด  น้ำมือ  น้ำใจ 

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e2 

โดยใช้กระบวนการพยาบาลด้วยทีมสหวิชาชีพที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e3 

จะนำพาให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด นั่นคือ คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้   

หมายเลขบันทึก: 96895เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สนใจนำไปปฏิบัติต่อค่ะ  ขอบคุณมาก เพราะทำงานในที่ มีงบน้อยเหมือนกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท