Kleptocracy


บันทึกนี้คงจะอ่านยาก เพราะใช้ภาษาต่างประเทศเป็นพรืด แต่เนื่องจากเป็นเรื่อง "ตามใจฉัน" ก็จะเขียนโดยไม่แปลให้เสียอรรถรสล่ะครับ

คำว่า Kleptocracy

Webster.com แปลว่า government by those who seek chiefly status and personal gain at the expense of the governed; also : a particular government of this kind

Wikipedia แปลว่า a government that extends the personal wealth and political power of government officials and the ruling class (collectively, kleptocrats) at the expense of the population.

Answers.com แปลว่า informal term for a government that is primarily designed to sustain the personal wealth and political power of government officials and their cronies (collectively, kleptocrats).

TheFreeDictionary.com แปลว่า a government characterized by rampant greed and corruption.

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ Kleptocracy จาก MIT : "Kleptocracy and Divide-and-Rule: A Model of Personal Rule"

Corporate Kleptocracy -- Investopedia.com แปลว่า Buzzword that describes the greed of corporate executives who use underhanded tactics to siphon off wealth at the expense of shareholders.

ไม่ว่าท่านอ่านแล้วจะนึกถึงอะไรก็ตาม จะระลึกไปในอดีตนานแค่ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะคิดเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ก็ตาม Kleptocracy มีอกุศลมูล ๓ เป็นเหตุ -- ถ้าถามว่าอกุศลมูล มองเห็นได้ไหม ผมคิดว่ามองเห็นได้โดยการสังเกตอาการครับ แต่ถ้ามองไม่เห็นก็ให้ลืมตาดู

อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ

๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน

๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

หมายเลขบันทึก: 96464เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เห็นโจทย์ครั้งแรกนึกถึงพวกลักเล็กขโมยน้อยก่อน (Kleptomania) พอมาอ่านถึงรู้ว่าเดี๋ยวนี้เขาใช้ศัพท์กันแบบนี้ด้วย เป็นความรู้ใหม่ค่ะ ...

พออ่านปุ๊บก็นึกหน้าใครบางคนออก ทั้งวงใหญ่ระดับประเทศ และวงเล็กในที่ทำงานเลย

ดิฉันว่าในบรรดาอกุศลมูล ๓ ดิฉันว่าคนกลุ่มนี้มีโมหะนำเด่นเลยค่ะ...

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณอาจารย์กมลวัลย์ครับ ผมแก้คำหลักในบันทึกให้ครอบคลุมมากขึ้น -- ถ้าอาจารย์จะลองคลิกคำหลักของบันทึกนี้ดู ก็จะพบว่าเกิดการเชื่อมโยงกับบันทึกของสมาชิกท่านอื่นที่ใช้คำหลักในบันทึกนั้นๆ เป็นคำเดียวกันครับ -- ตอนนี้การใส่คำหลักจะต้องระมัดระวังให้มากขึ้นแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท