ปณิธานข้อที่2


สวนโมกข์

ผมชอบอ่านวรรณกรรมของตอลสตอยตั้งแต่ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ช่วงอบรมที่สวนโมกข์นานาชาติทำให้ผมคิดถึงงานวรรณกรรม2เรื่องจากปณิธาน3ข้อที่ท่านอาจารย์พุทธทาสฝากไว้คือ1.การทำความเข้าใจศาสนาของตนให้ถึงที่สุด ภาษาสมัยนี้คือจัดการความรู้กับศาสนาของตน หมายถึงเข้าถึงแก่นและลิ้มรสผลการปฏิบัติ 2.ทำความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อช่วยกัน 3.ถอนตนออกจากวัตถุนิยม ปณิธานข้อที่2 ทำให้ผมนึกถึงวรรณกรรมที่มาจากการตีความศาสนาคริสต์ของปราชญ์ชาวคริสต์ที่ต่างออกไปจากที่ได้ยินได้ฟังกันทั่วไป ผมเห็นว่าทุกศาสนามีแก่นความรู้และตำนานหรือเรื่องเล่าที่มักจะใส่อิทธิปาฏิหารย์เข้าไป บางอย่างก็เป็นเรื่องเหนือจริงเพื่อการตีความ และก็มักจะมีมือดีตีความไปต่างๆนานา ศาสนาคริสต์ที่ผมเข้าใจตีความโดยตอลสตอยผ่านวรรณกรรม 2เรื่องของเขา(ที่จริงมีหลายเรื่อง แล้วจะนำมาเล่าแลกเปลี่ยนในตอนต่อไป)ที่ผมประทับใจและรู้สึกว่ามีความคล้ายคลึงกับพุทธศาสนามากคือ เรื่องบาปของนักบุญ แปลโดย พยับแดด และเรื่อง คนกับนาย แปลโดยสิทธิชัย แสงกระจ่าง

บาปของนักบุญ อ่านเผินๆมีแนวคล้ายกับเรื่องสิทธารถะของเฮอร์มาน เฮสเส แต่นำเสนอคนละระดับเลยทีเดียว(สำหรับผม)

คำสำคัญ (Tags): #ปณิธาน#สวนโมกข์
หมายเลขบันทึก: 94677เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท