เรื่องเล่า จากการเล่าเรื่อง ที่ไม่ค่อยได้เรื่อง


รู้สึกเห็นคุณค่าการบันทึกใน G2K มากขึ้น

          เมื่อเย็นวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ผมไปประชุมที่กรุงเทพ ตอนเย็นๆจึงได้มีโอกาสนัดเจอกับ ดร.วัลลา ตันตโยทัย ที่ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดา เนื่องจากทางเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จะจัดทำวิดิทัศน์ เพื่อใช้ประกอบการจัด มหกรรม KM เบาหวาน ในเดือนกรกฏาคมนี้ จึงได้นัด บริษัทจัดทำเพื่อคุยรายละเอียด ชื่อ บริษัทจินตนาการ โดยมีคุณสงวนศรี และคุณอำพร เข้ามาคุยรายละเอียดด้วย พร้อมกับทีมโรงพยาบาลที่มีคุณวรณี หัวหน้าพยาบาล และคุณประเพ็ญศรีพยาบาลหอผู้ป่วยใน ร่วมให้ข้อมูลด้วย 

          การคุยใช้เวลานานพอสมควร ตั้งแต่ประมาณ 6 โมงเย็น จนถึงประมาณเกือบ 3 ทุ่ม  โดยเล่าย้อยหลังไปตั้งแต่ว่ารู้จัก KM ได้อย่างไร จนถึงลำดับการพัฒนา ระบบบริการเบาหวานในโรงพยาบาล โดยทุกครั้งจะถูกย้ำถามถึง เวลา สถานที่ คนที่เกี่ยวข้องด้วย ระหว่างคุยผมก็พยายามถามกลับถึงความเข้าใจ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างมาก เล่าแบบไม่มีการเตรียมตัว กลับไปย้อมมา โดยมีอาจารย์วัลลา คอยเสริมในประเด็นที่ลืมเล่าเป็นระยะๆ  ซึ่งผมว่ามันดูสับสน และไม่ค่อยได้เรื่องดั่งใจเท้าไหร่ และตอนสุดท้ายก่อนที่จะจบ และไปกินอาหารเย็นกัน( เนื่องจากเริ่มหิวจัด) ผมก็เลยแนะนำว่าน่าจะใช้การโทรคุยในประเด็นที่ยังไม่กระจ่าง รวมทั้งลองกลับมาอ่านบันทึกในblog ย้อนไปเรื่อยๆ อีกครั้ง เพื่อดูลำดับวิวัฒนาการการพัฒนางาน  ครับ

       1.รู้สึกเห็นคุณค่าการบันทึกใน G2K มากขึ้น  รวมทั้งมีความสุข ที่มีคนเข้ามาอ่านเพื่อศึกษาเรื่องราวของเรา

       2.กลับมาคิดด้วยว่า ทำไมเราไม่สรุป หรือเล่าเรื่องราว ลำดับการพัฒนา ให้เป็นเรื่องเป็นราว เอาไว้เวลามีการใช้งานจะได้ไม่ต้องลำบากสัมภาษณ์กันขนาดนี้ (ทั้งเราเองและคนสัมภาษณ์)

นะครับ

       

 

คำสำคัญ (Tags): #รพร.ธาตุพนม
หมายเลขบันทึก: 94673เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยกับคุณเอนกทั้ง 2 ข้อ

 คือ การบันทึกใน G2K มีประโยชน์  วันข้างหน้าจะมีประโยชน์ต่อตัวเรา และผู้อื่น

และควรบันทึกเรื่องราวในการทำงานเอาไว้ อีก ปี สองปี เราก็จะลืมเรื่อง shot สำคัญ   บันทึกไว้ใน G2K นี่แหละครับดีแล้ว ผมจะได้มาอ่านด้วย  ทางที่ดี เก็บเรื่องราวที่บันทึกไว้ใน HDD ตัวเองด้วยนะครับ

กันเหนียว

สมองความจำอัจฉริยะ  ยังสู้หมึกจางๆไม่ได้เลยครับ
เห็นด้วยว่ามีการบันทึกพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ควรทำอย่างน้อยทุก ๑ ปี ถือเป็นรายงานประจำปีไปด้วย

ขอบคุณครับ ที่ได้รับข้อคิดเห็นจากทั้งสามท่าน แล้วผมจะทำตามนั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท