คุณรู้หรือเปล่าบางครั้งคุณกำลังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง


มีอยู่เรื่องหนึ่งที่รู้สึกว่าเวลาผมอ่านแล้วมีความสุขและสนุกมาก เรื่องนั้นเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการตัดสินใจ ความคิด ความจำและกระบวนการการทำงานของสมองครับ

ดังนั้นก็เลยต้องขอแปะเรื่อง The Cash Nexus ไปก่อน เริ่มอ่านแล้วนะครับ แต่บังเอิญไปเจอหนังสืออีกเล่มที่เห็นแล้วมันยั่วยวนใจให้อ่านมากกว่าครับ

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Mistakes were made (but not by me) เขียนโดยอาจารย์ด้านจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) สองท่านครับ หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยกระบวนการ การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (self justification) ถ้าผมแปลเป็นภาษาไทยผิด ก็ต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ

ตัวเนื้อของหนังสือเล่มนี้นั้นบอกว่าคนเรานั้นมีส่วนหนึ่งในสมองที่เราอาจจะไม่รู้ตัว พยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองกับเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่เราทำลงไป

แล้วทำไมเราต้องหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองด้วย

ก็เพราะว่าความจริงมันโหดร้ายยังไงครับ เมื่อความจริงมันโหดร้าย ความจริงนั้นมันไม่ตรงกับที่เราคิดไว้ มันเหมือนกับมีอะไรมาท้าทายความเป็นตัวตนของเรา และนั่นทำให้เราพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่า ทำไมเราถึงต้องทำแบบนั้น

หนังสือนั้นยกสุดยอดของตัวอย่างมาครับ นั่นก็คือการตัดสินใจทำสงครามกับอิรักโดยประธานาธิบดีบุช โดยตอนแรกก็บอกว่าตัดสินใจทำสงครามเพราะว่าอิรักนั้นพยายามจะครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธชีวภาพ หรือว่า weapon of mass destruction

แต่พอผลออกมาแล้ว อิรักไม่มี ประธานาธิบดีบุช ก็หาเหตุผลมาใหม่บอกว่า เพราะต้องการสร้างเสรีภาพ ต้องการให้คนอิรักมีเสรีภาพ สร้างความปลอดภัยให้โลกเรามากขึ้น (นั่นแน่ หาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองชัดๆ ตัวเองทำผิดแล้วก็ไม่ยอมรับผิดอีก)

ดังนั้นกระบวนการความคิดทางสมองกับการยอมรับผิดนั้นมันยากมากนะครับ

ยกตัวอย่างที่ล่าสุด คือ ผู้จัดการทีมเชลซี โจเซ่ มูรินโญ่ ได้ออกมาพูดหลังจากทีมเชลซีพ่ายแพ้ต่อลิเวอร์พูลว่า "We were the best team today, even against a team only playing for the Champions League."  ก่อนที่จะต่อว่า "In extra-time we were the only team who tried to win" http://news.bbc.co.uk/sport1/hi/football/europe/6610157.stm

แปลออกมาก็ได้ความว่า เชลซีเป็นทีมที่ดีกว่า แม้ว่าจะเล่นกับทีมที่เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ Champions League. และในช่วงต่อเวลาเราก็เป็นทีมที่พยายามจะเอาชนะตลอดเวลา

โดยสรุป ในเวลา ต่อเวลาพิเศษ (ดีนะไม่รวมยิงจุดโทษด้วย) เชลซีนั่นเล่นดีกว่าลิเวอร์พูลครับ

สำหรับคนที่ได้มีโอกาสดูเกมส์นั้นก็ตามแต่จะตัดสินกันครับ แต่สำรหับคนที่ไม่ได้บ้าบอล และเป็นแฟนลิเวอร์พูลแบบผม เลยไม่มีโอกาสได้ดูโดยสรุปคือลิเวอร์พูลเสมอเชลซีในเวลา 90 นาที 1-1 (ผลรวมสองนัด) ก่อนที่จะต่อเวลาพิเศษ ออกไป 30 นาที ก็ยังเสมอกันอีก เลยต้องตัดสินใจกันด้วยจุดโทษ แล้วลิเวอร์พูลชนะจุดโทษไป 4-1

จริงแล้วในเกมส์โอกาสก็พอๆกันแหละครับ ไม่ได้มากมายไปกว่ากันเท่าไร เมื่อเชลซีมีโอกาสทำประตูแบบน่ากลัว 2 ครั้ง ส่วนลิเวอร์พูลมี 3 ครั้ง ในเวลา 90 นาที ส่วนต่อเวลาพิเศษ เชลซีไม่มีโอกาสครับ ส่วนลิเวอร์พูลนั้นมีโอกาสสองครั้ง ครั้งหนึ่งยิงเข้าประตูไปด้วย แต่ผู้ช่วยผู้ตัดสินนั้นบอกว่าล้ำหน้าไปก่อน

แต่ทุกท่านอาจจะบอกว่าผมเข้าข้างทีมรักลิเวอร์พูล แต่ไม่ใช่แค่ผมหรอกครับ Phil McNulty หัวหน้าข่าวฟุตบอลของบีบีซี ได้เขียนไว้ในคอลัมน์เรื่อง Mourinho the deluded one ว่า "

Chelsea, in the real world away from the place Mourinho appeared to be occupying, were brave, resilient, and only the hardest heart would not feel a tinge of sympathy for men like John Terry and Claude Makelele.

But they were pedestrian, unambitious, and seemed to have a simple plan A aimed at securing a goalless draw."

แปลก็ได้ความว่า แปลโดยสรุปก็คือทีมเชลซีในสายตาของมูรินโญ่นั้น นักเตะนั้นมีความกล้าหาญ กลับมาชนะได้ตลอดเวลา (ถ้าทีมแพ้ หรือตามอยู่) มีจิตใจนักสู้อยู่ทุกคน

แต่ย่อหน้าที่สองนั้นบอกว่า แต่สำหรับคนเดินดินทั่วไป กลับมองว่า เชลซีนั้นมาแค่เสมอแบบ 0-0 ในเกมส์นี้เท่านั้น (เกมส์แรกเชลซีชนะมา 1-0 ถ้าเสมอก็เข้ารอบครับ)

เอาล่ะมาดูความเห็นของนักข่าวกีฬาอีกคนครับ  คือ Richard Jolly ที่เขียนวิเคราะห์หลังเกมส์ไว้ใน www.soccernet.com ว่า "Effectively, after Agger's goal, they cancelled each other out though, contrary to Mourinho's analysis, the majority of the chances fell to Liverpool. Didier Drogba did have opportunities in both halves, but that apart Chelsea were content to contain." http://soccernet.espn.go.com/columns/story?id=426837&root=uefachampionsleague&lpos=spotlight&lid=tab1pos3&cc=5901

แปลได้ความว่า หลังจากประตูของแอกเกอร์แล้ว ผลสกอร์รวมก็เท่ากันที่ 1-1 ซึ่งแตกต่างจากที่มูรินโญ่ได้วิเคราะห์เอาไว้ โอกาสส่วนใหญ่นั้นเป็นของลิเวอร์พูล กองหน้าเชลซีที่ชื่อดิดิเย่ ดร็อกบ้านั้นถึงมีโอกาสทั้งครึ่งแรกและครึ่งหลัง แต่นอกนั้นเชลซีนั้นก็ทำอะไรลิเวอร์พูลไม่ค่อยได้เลย

นั่นหมายความว่า ผู้จัดการทีมเชลซี โจเซ่ มูรินโญ่ นั้นหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอีกแล้วใช่ไหมครับ ในเมื่อเขาต้องการที่จะคิดว่าเชลซีนั้นเล่นดีกว่าและสมควรที่จะเข้ารอบชิงชนะเลิศต่อไป แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่

แต่ในเมื่อเหตุการณ์จริงๆ มันไม่เป็นแบบนั้น แถมมันมีหลักฐานด้วย อีกอย่าง โจเซ่ มูรินโญ่เองนั้นก็มาพูดหลังจากจบเกมส์หมาดๆ ความจำมันก็น่าจะยังสดๆอยู่ แต่ทำไมสิ่งที่โจเซ่ มูรินโญ่พูด กับสิ่งที่นักข่าวเขียนนั้นช่างผิดกันนัก

คำตอบนี้อยู่ที่ความจำครับ ใช่ครับคุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ ความจำนี่แหละคือคำตอบ

ความจำนั้นไม่ใช่แบบที่เราคิดว่า พอเราจำอะไรแล้ว มันก็อยู่ในสมองนะครับ มันไม่มีการปรับเปลี่ยน แต่จริงๆแล้วมันปรับเปลี่ยนตลอดเวลาครับ เราไม่ได้จำในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดครับ แต่สมองเราเลือกจำในสิ่งที่เราอยากจะจำเท่านั้น มันเป็น confirmation bias ครับ

เหมือนกับกรณีของมูรินโญ่ครับ เขาจำได้แค่กรณีที่ลูกทีมของเขานั้นมีโอกาสครับ แต่โอกาสของทีมลิเวอร์พูลนั้นเขาจะไม่รู้สึกว่ามีโอกาสเท่าไรครับ ดังนั้นเมื่อเทียบกันแล้ว เชลซีก็เลยเล่นดีกว่า

และในการให้สัมภาษณ์ของผู้จัดการทีมฟุตบอลนั้นในหลายๆเกมส์ก็จะรู้สึกว่าลูกทีมตัวเองเล่นดี แต่ทีมกลับแพ้ ซึ่งก็มาจาก confirmation bias นี่แหละครับ หรือแม้แต่ผมด้วย ที่ชอบรู้สึกว่าลิเวอร์พูลเล่นดี แต่ไม่มีโชค :D (ออกนอกหน้าสุดๆ)

ในเมื่อคนเราเลือกที่จะจำ ดังนั้นสิ่งต่างๆที่เราจำได้อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ ในหนังสือนั้นยกตัวอย่างถึงนักเขียนท่านหนึ่ง ที่ได้เขียน Memoir (หนังสือบันทึกจากความจำ) เกี่ยวกับค่ายกักกันของนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หนังสือเล่มนั้นได้รับรางวัลมากมายครับ

แต่ช้าแต่ คนเขียนนั้นไม่ใช่คนยิวนะครับ ไม่เคยอยู่ในค่ายกักกันเลย

อ้าวววววววววววววววววววววว แล้วทำไมอยู่ๆมาเขียนเรื่องนี้

เพราะว่าคนเขียนหนังสือเล่มนี้นั้น rewire หรือเขียนความจำตัวเองขึ้นมาใหม่ครับ โดยความจำที่เขียนขึ้นมาใหม่นี้ เกิดจากการที่ตัวผู้เขียนนั้น จำไม่ได้ว่าชีวิตในวัยเด็กนั้นเป็นยังไง แต่ได้ไปอ่านหนังสือ ดูหนังเกี่ยวกับชีวิตในค่ายกักกันคนยิวเยอะมาก เลยมีความรู้สึกว่าเนี่ยแหละคือชีวิตวัยเด็กของตัวเอง

และก็ถึงจุดที่เขาเขียนหนังสือขึ้นครับ เมื่อเขาได้ไปเยือนค่ายกักกันแห่งหนึ่ง แล้วก็ถามนักประวัติศาสตร์ที่ไปด้วยกันว่านี่ถามจริงเหอะ นาซีนั้นทำอย่างไรกับเด็กยิว นักประวัติศาสตร์นั้นงงกับคำถามครับ แล้วก็บอกว่า ไม่ทำอะไรหรอก ก็แค่ปล่อยให้อยู่ไปตามมีตามเกิด หรือไม่ก็ฆ่าตามโอกาสครับ นาซีไม่มาเปิด nursery หรอก

ซึ่งนี่แหละครับที่ทำให้ผู้เขียนหนังสือนั้น รู้สึกว่านักประวัติศาสตร์นั้นผิด ก็เขาไง เขาคือเด็กที่อยู่ในค่ายกักกันของนาซีที่รอดมา แล้วก็มาเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำขึ้น 

ซึ่งเรื่องนี้ไม่แปลกนะครับ เกิดขึ้นบ่อยด้วย เหมือนกับคนที่บอกว่าตัวเองโดนมนุษย์ต่างดาวลักพาตัวไปทำการวิจัยนะครับ คล้ายกันเลยคืออาจจะเจอแสงสว่างประหลาดๆ หลังจากการขับรถมานานๆ หรือทำอะไรเหนื่อยๆ แล้วในช่วงนั้นนั้นหัวสมองนั้นเหนื่อยมาก แต่คุณจำไม่ได้นี่ครับว่า เหนื่อย คุณจำได้แต่แสงสว่างจ้าๆ จ้ามากๆ

แล้ว confirmation trap ก็บอกว่า มนุษย์ต่างดาว ถ้าคุณเชื่อในมนุษน์ต่างดาวนะครับ

สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆนะครับ บางคนอาจจะรู้แล้ว เพราะว่าก็เราอยู่กับความจำตลอดเวลา แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ แต่กระบวนการที่ก่อให้เกิดความจำ การทำงานของสมองนั้น มีผลต่อการตัดสินใจของเราทุกครั้ง 

ข้อจำกัดพวกนี้นี่แหละครับที่เราจำเป็นต้องรู้จัก เพื่อที่จะได้รู้ว่ากระบวนการการตัดสินใจของเรานั้นมีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง จะได้ไม่ก่อให้เกิด กระบวนการการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองต่อมาทีหลังครับ เพราะกระบวนการนี้มันเป็นวงจรครับ เมื่อเริ่มหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองได้แล้ว เราก็หาได้เรื่อยๆ แล้วก็ไม่รู้จักยอมรับความผิดและความจริงกันพอดี 

ที่มา Tavris, C. and Aronson, R. Mistake were made (but not by me) Harcourt Inc. Orlando. 2007 ISBN 978-0-15-101098-1

หมายเลขบันทึก: 93979เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ

กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้ามากครับที่ได้กรุณาเข้ามาเยี่ยม

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

ต้น

พี่ต้นครับ ชื่อหนังสือนี่ Mistakes were made (but bot by me) ในวงเล็บนี่ใช่ ( but not by me) หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช้พิมพ์ผิดผมก็ขอโทษครับ

   ขอกลับไปอ่านข้างบนก่อนนะครับ

สวัสดีครับคุณน้องเดอ

ขอบพระคุณมากครับที่ได้ช่วยบอกว่าพิมพ์ผิดครับ :D ตอนนี้กลับไปแก้เรียบร้อยแล้วครับ

ต้น

ตามมาอ่าน หลังจากเห็นข่าวบุชวีโต้การเอาทหารกลับบ้านพอดี

่ีjustify กันเข้าไปเนอะ

 

สวัสดีครับพี่มัท

เรื่องบุชวีโต้เอาทหารกลับบ้านนี่มันพูดยากนะครับ ถ้าถอนทหารออกตอนนี้ ต้นว่าอิรักก็สงครามกลางเมืองดีดีนี่เองครับ เหมือนเรื่อง Overthrown นะครับพี่ ถ้าอยู่ๆไปล้มรัฐบาลเขาแล้วออกมาเลย แต่ไม่มีการเตรียมรัฐบาลให้เขา มันก็สงครามกลางเมืองง่ายๆครับ แล้วอีกอย่าง หลังจากโค่นซัดดัมเสร็จ อิรักไม่มีทั้งทหารและตำรวจครับ เพราะโดนอเมริกาปลดประจำการกันหมด ก็ต้องอยู่ต่อไปหล่ะครับ ถ้าไม่อยากให้มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น

แต่เรื่องหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองนี่ คงจะเป็นกันเกือบทั้งรัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลของทุกประเทศด้วยมั้งครับ

ต้น

สวัสดีครับคุณP ไปอ่านหนังสือ

  • ผมมีประโยคติดปากไว้เรียกกรณีแบบนี้ว่า "เหตุผลมีไว้อ้าง"
  • คือความอยากมาก่อน เหตุผลตามมาทีหลัง
  • ตามทันมั่ง ไม่ทันมั่ง
  • ใครไม่มีสติ เหตุผลก็จะถูกทิ้งไว้ข้าง(ๆ)คู(ๆ)

 

 

สวัสดีครับอาจารย์wwibul

ผมเขียนเรื่องนี้ตอนที่ยังอ่านหนังสือไม่จบครับ แต่อ่านไปเรื่อยๆแล้ว คำว่า "เหตุผลมีไว้อ้าง" นั้น ดูจะน่ากลัวมากนะครับ

เพราะว่าในหนังสือนั้นพูดต่อไปว่า ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักยอมรับผิด และหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเนี่ยแหละที่ทำให้เรานั้นพยายามย้อนเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะอ้างได้ว่า ผมถูก

หนังสือยกตัวอย่าง เรื่องครอบครัว รวมไปถึงเรื่องการเมือง เช่นการปฏิวัติที่อิหร่าน และสงครามครูเสด ที่ไม่รู้ว่าต้องย้อนอดีตกันไปกี่ปี เพื่อหาว่าใครเริ่มก่อนจริงๆ จะได้ "อ้าง" เหตุผลของตัวเองได้ถูกครับ

เรื่องนี้ไม่ต้องยกหนังสือหรือผลงานวิจัยมาอ้างเลย เชื่อแน่นอนว่าเป็นเช่นนั้น ทุกคนเอียงเข้าข้างตัวเองเสมอ และสามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ทุกครั้งถ้าต้องการ

คุณ

P
  • "เหตุผลมีไว้อ้าง" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวครับ
  • แต่ละวัน มันจะเกิดกับตัวเราเองได้วันละหลาย ๆ ครั้ง เป็นเรื่องธรรมดา ลองสังเกตตัวเองดูนะครับ เราอาจไม่ทันฉุกคิดเท่านั้นเอง เพราะมักเห็นเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • ใครมีพื้นฐานดี รู้เท่าทัน ตั้งสติทัน ก็จะสามารถ "คิดต่อเนื่องให้หักเห" โดยไม่ขาดตอน เปลี่ยนให้เป็นเพียงความคิดไร้สาระชั่วแล่น แล้วผ่านไปได้
  • พื้นฐานที่ว่าคือการฝึกฝนสติ การได้รับการอบรมสั่งสอน การมุ่งประโยชน์คนอื่น
  • แต่ใครพื้นฐานไม่ดี ถูกเหตุผลที่ไร้เหตุผลของตัวเองลากไปเรื่อย ๆ ตามความอยาก ก็จะแสดงอาการออกมา...
  • ถ้ามีอำนาจด้วย ก็ go so big (ไปกันใหญ่)...

 

 

สวัสดีครับคุณคนเมืองนรา

ผมเห็นด้วยครับที่เรื่องนี้มันมีอยู่กับเราทุกคน แต่ถ้ามีจริง แล้วมันเป็นต้นเหตุหลายๆอย่าง เรามีมันทำไมครับ เพราะเราต้องการแค่เป็นคนที่ถูกเสมอ ผิดไม่ได้ใช่ไหม หรือเพราะอะไร

บางทีเรารู้ครับว่าเรากำลังเข้าข้างตัวเองอยู่ แต่เราตอบไม่ได้ว่า ตอนไหน เพราะอะไร หรือแม้กระทั่งว่าคนรอบข้างเรากำลังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่ เพราะถ้าคุณรู้ คุณจะเข้าใจสถานการณ์ได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมสถานการณ์การทะเลาะกันได้ดีขึ้นครับ  

สวัสดีครับอาจารย์ wwibul

ใช่ครับ "เหตุผลมีไว้อ้าง" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยครับ เกิดขึ้นทุกวัน แต่บางครั้งพอเราเริ่มรู้สึกตัวมันก็สายเสียแล้ว

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ว่า การฝึกสติและสมาธินั้นจะทำให้เราลดการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองลงไปได้อย่างมากครับ เพียงแต่มันยากที่จะทำครับ

หรือบางที บางคนต่อให้รู้ตัวว่าผิด การที่จะออกมายอมรับผิดต่อหน้าชาวบ้าน ก็ยิ่งยากมากขึ้นครับ แต่เรื่องนี้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับสภาพสังคมเหมือนกันนะครับ เช่นสังคมอเมริกัน ที่ใช้คำว่า I am sorry มากกว่า I appologize

นั่นก็อาจจะแสดงอย่างกลายๆ เหมือนกันนะครับว่า สังคมอเมริกันนั้นไม่นิยมยอมรับความผิดที่ตัวเองก่อขึ้น ก็ในเมื่อการใช้ภาษานั้นเป็นตัวสะท้อนที่สำคัญตัวหนึ่งของสภาพสังคม เราก็น่าจะตั้งสมมติฐานนี้ได้เหมือนกันใช่ไหมครับ

คุณ
P

ไปอ่านหนังสือ

  • เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจมากครับ
  • ไม่รู้ว่าบ้านเราเองจะต่างจากบ้านเขาไหม.. เท่านั้นเอง...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท