วางแผนการรับราชการ...อย่าให้เงินเดือนเต็มขั้นกันดีไหม?


ขอเชิญชวนมิตร..สหาย เพื่อนข้าราชการสาย ข และ ค ทุกท่านวางแผนการรับราชการอย่าให้เงินเดือนเต็มขั้นกันเถอะครับ..
  • เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้นำ จ. 18 มาให้ลงนามรับทราบว่าได้เงินเดือนขึ้นตั้ง ครึ่งขั้น
  • กวาดตาดูรายการเงินเดือนเพื่อนเก่า...ที่เก่งๆ...และเคยเป็นบุคลากรหลักของมหาวิทยาลัยมา...ไม่มีชื่อใน จ.18 หลายท่าน...ใจหายคิดว่าย้ายไปไหนแล้ว..(ทำไมไม่ให้เราเลี้ยงส่ง)
  • แต่มาทราบภายหลังว่าที่ชื่อไม่มีใน จ.18 เพราะเงินเดือนไม่ขึ้นเนื่องจากเงินเดือนชนเพดานขั้นเงินเดือน...เต็มขั้นแล้ว
  • ขณะที่เขี่ยกอล์ฟที่สนาม...ก็ให้คิดถึงว่า...ข้าราชการเราในยุคปัจจุบันนี้งานหนัก...ทำงานเป็นบ้าเป็นหลัง..แล้วเงินเดือนไม่ขึ้นแม้แต่ครึ่งขั้นแล้วจะเอาแรงจูงใจในการพัฒนางานมาจากไหนกัน....น่าเสียดายความรู้ ความสามารถ.....
  • ฉะนั้นผมจึงใคร่ขอเชิญชวนมิตร..สหาย เพื่อนข้าราชการสาย ข และ ค ทุกท่านวางแผนการรับราชการอย่าให้เงินเดือนเต็มขั้นกันเถอะครับ...
  • ช่องทางหนึ่งที่ทางราชการ เปิดให้สำหรับข้าราชการในมหาวิทยาลัยคือ การรวบรวมเอกสาร ต่าง ๆที่ได้จากการปฏิบัติงานของท่าน เพื่อเสนอขอตำแหน่ง ชำนาญการ ..เชี่ยวชาญ...หรือเชี่ยวชาญพิเศษ
  • วิธีการรวบรวมเอกสารเพื่อเสนอขอ ปรับเป็นตำแหน่ง ชำนาญการนั้น  กองการเจ้าหน้าที่ มมส. มีระเบียบ... และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ แนะนำท่านได้ (เคยจัดอบรมแล้วหลายครั้ง)
  • หรือใน มมส. ก็มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ ที่จะแนะนำได้หลายท่านและหลากหลายตำแหน่ง
  • และ หรือในสำนักวิทยบริการ มมส. ก็มีตัวอย่างเอกสาร...และบรรณารักษ์ที่จะแนะแนวการสืบค้น...อีกทั้งมีบุคลากรหลายท่านที่มีประสบการณ์ในการเขียนเอกสารขอผลงาน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญการ และเชี่ยวชาญ ...พร้อมที่จะช่วยท่าน
  • ส่วนผมเองในฐานะที่พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง จะพยายามเสนอแนะใน Blog นี้ในโอกาสต่อไป ....หรือถ้าท่านสนใจและตั้งใจจริง...ก็พร้อมที่จะพูดคุยกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับทุกท่านที่สนใจและตั้งใจจริง
  • ขอเชิญชวนท่านสำรวจตัวท่านเองว่าจะเลือกแนวทางใดไม่ให้เงินเดือนเต็มขั้น ....เลือกเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้บริหาร...เปลี่ยนวิถีชีวิตจากราชการไปทำกิจการส่วนตัว...เปลี่ยนงานไปเป็นลูกจ้างเอกชน...หรือเลือกการพัฒนางานในหน้าที่ให้ดีขึ้นแล้ว..ทำเอกสารเสนอขอปรับตำแหน่งเป็นชำนาญการซึ่งนอกจากเงินเดือนไม่เต็มขั้นแล้วแต่ละเดือนมีเงินประจำตำแหน่ง(ไม่น้อย)ด้วยนะ...
หมายเลขบันทึก: 93893เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2007 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เอ่อ  ไม่ใช่ข้าราชการค่ะ เลยไม่ค่อยทราบระเบียบในการขึ้นค่าตอบแทนเท่าไหร่ ?
เข้าใจว่าตามร่าง พรบ ของมหาวิทยาลัย กลุ่มของพนักงานปฏิบัติการจะไม่มีตำแหน่งทางวิชาการใช่หรือเปล่าครับ

การขอเป็นชำนาญการ และเชี่ยวชาญ ต่าง  ๆ ของสาย ข และ ค รวมถึงผลงานทางวิชาการของสาย ก ต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการดำเนินงานเป็นเวลานานมาก ส่วนใหญ่ 1 ปี ขึ้นไป เพราะฉนั้น  ท่านใดที่จะขอและอยู่ในเกณฑ์ที่ขอได้ อย่ารอช้าค่ะ...รีบทำให้สำเร็จ รีบส่งนะคะ...มหาวิทยาลัยเราจะได้มีบุคลากรที่มีตำแหน่งพ่วงท้ายเยอะ ๆ และมหาวิทยาลัยจะได้มีความน่าเชื่อถือ และมีคนเข้ามาศึกษามาก ๆ

และเงินเดือนจะได้ไม่เต็มขั้น แถมเงินประจำตำแหน่งอีกต่างหากค่ะ...

ขออนุญาตท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ ในข้อคิดเห็นนี้นะครับ ถึงแม้ผมจะเป็นเพียงพนักงานปฏิบัติการ ไม่ใช่ข้าราชการก็ตาม

เรื่องมีว่า ตอนไป ukm10 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 26-29 พค 50 ในขณะนั่งรถ ได้มีโอกาสคุยกับผอ.กองท่านหนึ่งเรื่อง "กรอบชำนาญการ" ซึ่งประเด็นมีอยู่ว่า

การกำหนดกรอบชำนาญการนี้มีผลดีหรือไม่ต่อการพัฒนาศักยภาพ หรือความก้าวหน้าของบุคลากรที่ต้องอยู่ในระเบียบนี้จริงหรือ?

ข้อสรุปในการคุยกันคือ ถ้าเปลี่ยนจาการใช้กรอบนี้ มาเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำน่าจะดีกว่า การกำหนดโค้วต้าของคนในละแต่สายงาน เช่น งานนี้ ผู้ทำจะเป็นชำนาญการ หรือ เชี่ยวชาญได้ ต้องมีเพียง 2 คนเท่านั้น ถ้าคนที่จะมาเป็นต่อไปต้องรอก่อน

ทำให้หลายๆคนที่จะต้องเข้าคิวๆต่อไปหมดกำลังในการทำผลงาน หรือสร้างสรรค์งาน

สรุปง่ายๆ ก็คือ ไม่ใช้วิธีอิงกลุ่ม แต่ใช้ อิงเกณฑ์น่าจะมีผลดีกว่า

นี้เป็นข้อสรุปในวงการคุยกันแบบไม่เป็นทางการของผมกับผอ.กองฯท่านหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

คุณกัมปนาท อาชา (แจ๊ค)

  • เรื่องกรอบเป็นข้อขัดข้องประการหนึ่งของหลายหน่วยงาน (บางหน่วยงาน)
  • และได้มีการพยายามผลักดันให้ยกเลิกกรอบมานาน...ซึ่งปัจจุบันก็ดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ เพราะผู้กำหนดน่าจะขึ้อยู่กับระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น(เดิมขึ้นกับ ก.ม. นะ)
  • แต่ก็ยังมีหลายหน่วยงานที่ผู้บริหารมีการวางแผนพัฒนางาน และวางแผนบุคลากรที่ดี ทำให้บุคลากร สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นขั้น ตอนที่สมควร และเหมาะสม ทำให้ยังมีกรอบที่ว่างอยู่ ...และมีศักยภาพที่จะขอเพิ่มกรอบได้ในอนาคต
  • แต่เรื่องกรอบนี้เป็นเรื่องของหน่วยงาน และผู้บังคับบัญชา...อยู่นอกเหนือการควบคุมของพวกเรา (อย่ากังวลมากนัก...จะหมดกำลังใจซะเปล่า)
  • แต่เราต้องพัฒนางานในหน้าที่ให้เจริญก้าวหน้าให้ปรากฎ...และบันทึกเอกสารการปฏิบัติงาน และเอกสารวิชาการต่าง ๆที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ให้พร้อมที่จะเสนอเมื่อถึงโอกาส และเวลาที่เหมาะสม
  • อย่าเห็นกรอบแล้วค่อยลงมือนะ...จะช้าไป และไม่ทันเขานะ
  • ส่วนพนักงานก็เช่นเดียวกันครับ ทำตนให้เป็นคนที่มีคุณภาพและผลงานปรากฏเห็นไว้...สักวันหนึ่งฟ้าสีทองจะผ่องอำไพ
  • หรือไง...ครับ

 

ขอบคุณท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ สำหรับความคิดเห็นที่ดีๆ และเป็นกำลังใจสำหรับคนทำงานครับ

ผมขอเป็นคนรัก ม. อีกคนหนึ่งนะครับ

ตอนนี้กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะทำงานรับราชการดีมั้ย แต่ไม่ทราบว่าข้อดีของการรับราชการดีกว่าทำงานเอกชนอย่างไร เพราะรู้สึกว่าเงินเดือนที่ได้รับน้อยเหลือเกิน แต่ดูทำไมใครๆหลายๆคนก็อยากที่จะทำและแย่งกันสอบบรรจุ ไม่ทราบว่าท่านพอจะมีคำตอบและแจกแจงข้อดีของงานราชการให้หน่อยได้ไม่ค่ะ

ขอพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท