องค์กรเรียนรู้ กศน.หน้าตาเป็นอย่างไร ?


ผมคิดว่าการบรรจุองค์กรแห่งการเรียนรู้ดีเด่นขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งนั้นเป็นความคิดริเริ่ม ความกล้าหาญ และความมุ่งมั่นที่ดีของ กศน.ที่จะพยายามทำตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้ทุกคนในองค์กรเป็นเพื่อนเรียนรู้ ก่อนที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป ลงมือเปลี่ยนแปลงตนเองโดยเริ่มต้นเรียนรู้ที่ตัวเราเองเสียก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ติดอยู่ตรงที่ทำเพื่อประกวดประขัน แต่ทำเพื่อการพัฒนาตนเอง งาน องค์กร โดยแท้ ถาวร ยั่งยืน

สืบเนื่องจากบันทึกที่แล้ว แนวการคัดเลือก Best practice ของ กศน.2550  ซึ่งมีประเด็นที่ผมสนใจอยากจะบันทึกต่ออยู่เรื่องหนึ่งคือการคัดเลือกองค์กรแห่งการเรียนรู้ดีเด่น ว่าที่จริงแล้วมีสิ่งน่าสนใจอยู่มากมายหลายเรื่อง แต่ที่หยิบยกเรื่องนี้มาบันทึกเพราะเห็นว่าเป็นพัฒนาการของ กศน.ที่ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพิ่มเติมเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ไปในทิศทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นอย่างมาก ปีที่แล้วไม่มีเรื่องนี้ เช่นเดียวกับชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง  ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ซึ่งน่าสนใจยิ่งเช่นกัน

องค์กรแห่งการเรียนรู้  หมายถึง  สถานศึกษาระดับอำเภอ/ เขต ที่สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่มีการจัดการความรู้โดยการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกทุก ๆ คน อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีที่หลากหลาย

ลองพิจารณาดูองค์ประกอบและตัวชี้วัดขององค์กรแห่งการเรียนรู้นะครับ

องค์ประกอบ
ตัวชี้วัด
 1. การบริหาร  การจัดการภายในองค์กร
1. แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้
2. วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / เป้าประสงค์ร่วมกัน
3. การจัดทำระบบฐานข้อมูลความรู้
4. จัดทำแผนปฏิบัติการ
5. การสร้างความเข้าภายในองค์กร
6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
7. การสำรวจความคิดเห็น
8. โครงสร้างองค์กร
9. อื่น ๆ โปรดระบุ....
 2. การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
1. การจัดประชุมชี้แจง
2. จัดกิจกรรมเปิดตัว
โครงการ
3. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นสพ.
4. การจัดทำ Wed  Site
5. วารสาร
6. Poster / แผ่นพับ
7. อื่น ๆ โปรดระบุ....
 3. การนำเทคโนโลยีมาใช้
1. มี Computer  ที่มีประสิทธิภาพสูงพอเพียงกับการใช้
2. ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ท
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการบริการ เช่น
CD,  VCD
4. มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศกับหน่วยงานอื่น
5. อื่น ๆ โปรดระบุ....
 4. การพัฒนาบุคลากร
1. มีแผนพัฒนาบุคลากร
2. จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน
3. การส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม
4. การสับเปลี่ยนงาน
5. การศึกษาดูงาน
6. การจัดอบรมประชุมสัมมนา
7. อื่น ๆ โปรดระบุ....
 5. การส่งเสริมและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
1. จัดมุมการเรียนรู้
2. การสร้างแรงจูงใจ
3. กิจกรรมสร้างความ
สัมพันธ์ เช่น สภากาแฟ
4. บุคลากรมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
5. มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง
6. อื่น ๆ โปรดระบุ....
 6. การวัดผลประเมินผล
1. สรุปผลการทำงาน
2. จำนวนโล่/เกียรติบัตร/ คำชมเชยต่างๆ
3. การประเมินผลกิจกรรม
4. สมาชิกมีความพึงพอใจ
5. อื่น ๆ โปรดระบุ.... 

ผมคิดว่าการบรรจุองค์กรแห่งการเรียนรู้ดีเด่นขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งนั้นเป็นความคิดริเริ่ม ความกล้าหาญ และความมุ่งมั่นที่ดีของ กศน.ที่จะพยายามทำตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้ทุกคนในองค์กรเป็นเพื่อนเรียนรู้ ก่อนที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป ลงมือเปลี่ยนแปลงตนเองโดยเริ่มต้นเรียนรู้ที่ตัวเราเองเสียก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ติดอยู่ตรงที่ทำเพื่อประกวดประขัน แต่ทำเพื่อการพัฒนาตนเอง งาน องค์กร โดยแท้ ถาวร ยั่งยืน

หากสงสัยหรือจะเสนอแนะเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับ  นางสร้อยทิพย์  อุจวาที และนางฉวีวรรณ  พุ่มคง  เบอร์โทรศัพท์  02 280 1746 กลุ่มงานส่งเสริมปฏิบัติการ กศน. 

หากสถานศึกษา กศน.ทำ 6 องค์ประกอบนี้แล้ว ท่านคิดว่า สถานศึกษา กศน.แห่งนั้นจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้หรือไม่ ขอได้โปรดช่วยกันเติมเต็มนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 93727เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
อดไม่ได้เลยครับครูนง "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ต้อง "งานได้ผลคนเป็นความสุขด้วยปัญญา" ครับ น่าจะวัดความสุขของคนที่ได้ทำงาน และคนที่มาใช้บริการ เป็น Outcome Indicators ด้วยไหมครับ
  • ตามอาจารย์ชายขอบมาครับ (ห่างๆ)
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน ขอนำไปประยุกต์ใช้ต่อนะครับ

น้องชายขอบ น้องบ่าวที่นับถือ

            โอ! เป็นเกียรติอันสูงส่งที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยม พร้อมคอมเม้นที่ี่มีคุณค่ายิ่ง ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ขาดให้ ชอบมากครับกับข้อความ "งานได้ผลคนเป็นความสุขด้วยปัญญา"

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

           ถือว่านำมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ
 

            
 

ครูนงค่ะ

  • องค์กรแห่งการเรียนรู้น่าจะเป็น
  • ที่ซึ่งบุคคลในองค์กรมีอิสระในการเรียนรู้ และใช้การทำงานเป็นฐานการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • ที่ซึ่งเป็นแหล่งเสริมสร้างให้คนในองค์กรเป็น   ผู้มีวินัย ทั้ง 5 ของ Peter M. Senge.ไงล่ะ

อ.แอ๊ว ครับ

           ขอบคุณครับ อ.แอ๊ว ที่ช่วยกันเติมเต็มคำว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท