อัตลักษณ์ของสังคมไทย


อัตลักษณ์สังคมไทย
ที่จริงผมได้อ่านถึงความห่วงใยในเรื่องพระพุทธศาสนาและประเทศไทย  ความห่วงใยหนึ่ง เป็นเรื่องของอัตลักษณ์ซึ่งผมก็เห็นด้วยและ นั่นคือประเด็นจริง ๆ ส่วนเรื่องศาสนาพุทธเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของสังคมไทย

            ผมเห็นด้วยอีกกับการที่ประเทศอิสลาม มีรัฐอิสลามใช้กฎหมายศาสนา  แต่นั่นก็เป็นลักษณ์อัตลักษณ์ของสังคมนั้น ๆ ความเป็นมาและเป็นไปของผู้คนในดินแดนนั้นในภูมิอากาศเช่นนั้น

             ผมเคยเสนอให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นบรรจุมาตราหนึ่งลงในรัฐธรรมนูญแต่ไม่ทราบท่านเหล่านั้นจะได้จดจารไว้หรือไม่   ว่า

             ตอนนี้ประเทศ สังคมของเราเป็นอย่างท่านพระมหาท่านว่ามา  ดังนี้เราสูญเสียความเป็นตัวตนของคนไทยไปแล้ว ผมขอให้บรรจุมาตราว่าด้วย ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ของชาติลงไปเลย  แล้วสภาวัฒนธรรมก็ต้องมาจากตัวแทนประชาชน ผู้มีการศึกษา มีความรู้ทางวัฒนธรรม ที่รวมเอาทั้งท้องถิ่น เมือง ภูเขา ป่าไม้ ทะเล แม่น้ำ  เหล่าล้วนบ่อเกิดแห่งการเป็นอยู่ของชาติไทย สังคมไทย แน่นอนว่าพุทธศาสนาก็ต้องอยู่ในการบูรณาการของ เจตนารมณ์แห่งมาตรานี้ 

               ผมว่ามองอย่างองค์รวม เราไม่ได้แค่สูญเสียความเป็นพุทธสังคม  เรากำลังเสียทั้งวัฒนธรรมอื่นด้วย จารีตเราก็พัง  ขนบเราก็ลืม ธรรมเนียมเราก็ละเลย เราต้องกู้คืนมาทั้งหมดครับ  ยกตัวอย่างเช่นการเคารพผู้ใหญ่ ที่เราเคยมีเอกลักษณ์ก็กำลังเสียไป  การอยู่ก่อนแต่ง  ก็ทำธรรมเนียมที่ดีเสีย  การรักนวลสงวนตัว  การบวช  ฯลฯ ทุกสิ่งเราต้องยกกระบวนการมารื้อฟื้นกันใหม่ครับไม่เพียงพุทธศาสนา

             อาจารย์จากมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งให้ความเห็นไปก่อนผมว่า  มาตราที่ว่าด้วยความเป็นท้องถิ่นของสังคมไทยซึ่งจะทำให้สังคมไทยให้ความสำคัญกับท้องถิ่นชีวิตคนส่วนใหญ่มากขึ้น นี่ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจและจะน้อมนำมาสู่การเป็นสังคมแห่งอัตลักษณ์ไทยที่ไม่จำเป็นต้องเอาอย่าง รัฐใด ๆ ในโลกนี้

คำสำคัญ (Tags): #อัตลักษณ์
หมายเลขบันทึก: 93529เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
ถ้าใครเข้าไม่ได้กับอัตลักษณ์ที่รัฐ หรือคนส่วนมากกำหนด ก็ต้องหนีออกนอกประเทศไป? หรือว่าทำไงดี ต้องก้มหัวให้คนส่วนมาก?

คุณสุมิตรชัย: มาเคาะประตูขอเยี่ยมบ้านหน่อยนะคะ ขอนำเข้า planet ด้วย

วีร์: ในเมืองไทยก็มีคนกลุ่มน้อย ที่คิดไม่เหมือนรัฐ หรือ คนส่วนมาก พวกเค้าก็ยังรักเมืองไทย พยายามช่วยกันทำให้คนส่วนมากได้ยินเสียงของเขา 
มันเป็นงานยาก แต่วีร์มีหวังนะ มีเพื่อนด้วย

การเปลียนแปลงมีอยู่เสมอๆ มองให้เห็นว่าเป็น flux จะได้ไม่หมดกำลังใจนะ

 

  • มาทักทาย
  • และขอบคุณ
  • จะชวนไปบ้านพ่อครูบาสุทธินันท์ด้วยกัน
  • ไปไหมครับ
P  ขอบคุณบ่าววีร์ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
               ตอนนี้ผมทำงานอยู่ในบ้านนอกแห่งหนึ่ง คุณเชื่อมั้ยครับว่าบางทีผมกลายเป็นคนส่วนน้อยสำหรับสังคมที่คิดในเรื่องทุน เงิน ผลประโยชน์
                แต่ผมก็พยายามปรับปรุงความคิดและค่อย ๆ เจาะจุดความคิดด้านดีของผู้คนบางคนที่พอจะพูดเข้าใจ  เพื่อไม่ให้กระแสหลักความคิดมันกลืนลักษณะดีงามของงานด้านเสียสละมากเกินไป
                ผลที่ได้ก็คือบางทีผมก็ต้องรับผลประโยชน์ที่ไม่ค่อยยุติธรรมบางอย่าง แต่ผมก็ใช้วิธีแจกจ่ายออกไปให้กลุ่ม  ไม่ได้รับอยู่คนเดียว
               ผมไม่ได้ก้มหัวให้คนส่วนใหญ่หรอกครับ   แต่ก็เคารพในความคิดของคนส่วนใหญ่และดูว่ามีจุดเล็ก ๆ ตรงไหนที่ผมจะแสดงจุดยืนของคนส่วนน้อย
                ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นนะครับเดี๋ยวผมจะเข้าไปแลกเปลี่ยนกับคุณบ่าววีร์บ้างครับ
                
P
                   ขอบคุณอาจารย์มัทนามากๆ ครับ    แนวทางของการประณีประนอมอย่างมีเหตุผลและ  ชนะ ชนะ เป็นสิ่งที่สังคมไทยเราขาดอย่างชนิดที่ว่าแร้นแค้น   ผมเองก็พยายามอยู่ที่จะลดทิฐิลงบ้าง เพราะบางทีผมเองก็มีลักษณะของ  การประดาบเลือดเดือด ซึ่งไม่ดีเลย อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วผมว่า เหมือนสายน้ำนิ่ง ไหลเอื่อยและชุ่มเย็น
P

อาจารย์ขจิต ครับ  ผมอยากไปมาก ๆ ไว้ใกล้วันนะครับหากผมไม่ต้องกลับบ้านที่นครนายก

             ขอบคุณครับ

  ....มองให้เห็นถึงเหตุ และ และสิ่งที่เกิดจากเหตุ  อย่ามองว่าเป็นการสูญเสีย ไม่ใช่สูญเสียแน่นอน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง ต้องพยายามทำความเข้าใจกับคำว่า"เปลี่ยนแปลง" ...แล้วท่านจะเห็นความจริง 

  .... (เรากำลังถูกกลืนโดยประเพณี และสิ่งที่สังคมบอกว่าถูกต้องและเหมาะสม)

กระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย น่าจะเกิดตังแต่สองปีที่แล้วครับ แต่ไม่ทราบว่าทำไมจึงถูกดองอยู่ตั้งนาน

  • เห็นด้วยที่ควรบรรจุมาตราว่าด้วย ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ของชาติลงไปครับ

 

P
       ผมเห็นด้วยครับและการใช้คำสูญเสียคงบ่งบอกอารมณ์เกินไป  จริง ๆ แล้วก็เปลี่ยนแปลงนั่นล่ะครับอย่างที่คุณว่าถูกแล้ว
        และเรากำลังถูกกลืนครับ   แล้วเราก็กำลังอยู่ในสภาวะ
             กลืนไม่เข้าคายไม่ออก บอกไม่ถูก  จริง ๆ ครับ
               ขอบคุณนะครับ
P
         ยินดีที่ได้พบกับ man in flame  บุรุษในเปลวไฟ
ชื่นชมในบทความของคุณ  "คนพุทธกลัวการเป็นพุทธ"     แต่ก็ด้วยความอยากมองให้กลางที่สุด  เห็นด้วยในบางประเด็นของคุณครับ
         ขอบคุณมาก ๆ ในความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญครับแต่ผมก็ยังไม่เห็นความหวังเลย เราต้องช่วยกันเขียนครับ  วันนั้นได้คุยกับคุณประพันธ์  คูณมีนิดเดียว ท่านก็ว่าเห็นด้วย เพราะตอนนี้รัฐธรรมนูญเราก็เอาแต่ความเป็นต่างชาติเข้ามา  ไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นไทยเลย

คุณบ่าววีร์ครับ  ที่เข้าไปตอบในบันทึกเรื่องอัตลักษณ์ของประเทศไทย  ผมคิดอยู่นาน  ที่จริงเรื่องบรรจุศาสนาพุทธโดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยเลย  แต่คนอีกครึ่งหนึ่งหรืออาจจะมากกว่านี้ในประเทศไทยก็จุดกระแสนี้ขึ้นมา  ผมห่วงเรื่องนี้พยายามเขียนพูดออกไปกับผู้คนมากมาย แต่ก็ระวังเรื่องการโต้แย้ง

         บันทึกของผมจึงพยายามหาทางออกว่าเราบัญญัติในเรื่อง ขนบธรรมเนียมจารีต วัฒนธรรมก็ได้ รวมไว้ทั้งหมดทุกศาสนาด้วย  เพราะประเด็นจริง ๆ ผู้คนห่วงเรื่องความเป็นตัวตนของประเทศ(อัตลักษณ์)มากกว่า  ซึ่งเรื่องวัฒนธรรมประเพณีน่าจะตอบความห่วงใยนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องพุทธศาสนาอย่างเดียว

         เรียนมาชี้แจงครับขอโทษที่ไม่เข้าใจในข้อคิดเห็นเรื่องคนส่วนมากและส่วนน้อย 

       ด้วยความเคารพในเพื่อนร่วมชาติ ถึงต่างศาสนาวัฒนธรรม ผมไม่เคยคิดแบ่งแน่นอนครับ ความกลมเกลียวและกลมกลืนมีอยู่ได้แน่นอน  ขอโทษที่อาจกระทบต่อเพื่อนทางใต้ด้วย  ผมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นเลย ผมได้แลกเปลี่ยนกับคุณ man in flame ไปแล้วในเรื่องนี้ลองไปดูบันทึกของคุณ man ดูได้ครับ        ขอบคุณอีกครั้ง

P ผมจะยืนหยัดต่อสู้ต่อไปครับ :-P
P

เราไม่ได้แค่สูญเสียความเป็นพุทธสังคม  เรากำลังเสียทั้งวัฒนธรรมอื่นด้วย จารีตเราก็พัง  ....

เห็นด้วยอย่างที่เขียนเลยค่ะ ....ออกจะชิน..

สวัสดีค่ะคุณสุมิตรชัย

  • จริง ๆ ราณีคิดว่าการที่ศาสนาอะไรเป็นศาสนาประจำชาติไม่สำคัญ
  • ขอเพียงตนเองรู้ว่าตนเองเป็นอย่างไรก็พด  (อย่าเพิ่งสรุปนะค่ะ)
  • แต่พอมองไปลึก ๆ ถึงวันข้างหน้า ตัวเราไม่เท่าไร ถ้าวันหนึ่งลูกหลานเราก็ไม่รู้จักพุทธศาสนาดีพอ หรือไม่เข้าใจอย่างแท้จริง
  • ตัวเราก็งู ๆ ปลา ๆ  จะสอนลูกสอนหลานอย่างไรค่ะเนี่ย
  • เมื่อศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาประจำชาติแล้ว พุทธศาสนาก็ไม่ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ต่อไปก็ไม่มีการสวดมนต์หน้าเสาธงอีกแล้วหรือ มันจะค่อย ๆ เลือนหาย หรือหดหายไป  
  • แล้ว เราจะพูดคำว่าชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้อย่างเต็มภาคภูมิอย่างไรค่ะ  ถึงแม้ราณีจะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม  แต่ห่วงจริง ๆ ค่ะ เพราะมันบอบบางที่จะพูดถึงจริง ๆ
P เปิดโรงเรียนสอนศาสนาแยกไปต่างหากได้หรือเปล่าครับ? ใครอยากให้ลูกเรียนศาสนาก็พาไป
P พอศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ คำก็จะพูด "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ได้ไม่เต็มปากอยู่ดี  แต่ก็ผมนึกว่า ศาสน์ เป็น ศาสนาอะไรก็ได้ พอระบุว่าเป็นศาสนาพุทธ คนศาสนาอื่นก็ถูกกันออกไปเลย
P การสนับสนุนสิ่งดีงามเป็นเรื่องที่ดี ถ้าไม่ไปรุกล้ำอัตลักษณ์ของคนอื่น
P         แน่นอนครับคุณบ่าววีร์  ผมอยู่ข้างความหลากหลาย แน่นอน   หากผมมีโอกาสเสนอข้อความอยากจะใช้ข้อความว่า
                 "ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยึดมั่นในหลักธรรมแห่งศาสนา การกระทำการบิดเบือน เปลี่ยนแปลง อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งและกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดี จะกระทำมิได้  ผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายบัญญัติ"
         
         "ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา  มีหน้าที่ทำนุบำรุงศาสนา และศาสนาทุกศาสนาย่อมได้รับคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้"
          "ผู้ใดแสดงออกถึงการดูหมิ่นเหยียดหยาม กีดกันหรือกระทำการอันไม่สมควรแก่ศาสนา  รูปเคารพ สัญลักษณ์อื่นใดอันสื่อความได้แห่งศาสนาใดๆ จะกระทำมิได้และต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายบัญญัติ"
             ผมว่าสามมาตรานี้น่าจะพอป้องกันการทำลายศาสนาและเบียดเบียนกันระหว่างผู้คนต่างความคิด  และยืนยันได้ถึงหลักธรรมที่ประเทศชาติจะต้องส่งเสริม  และนี่ผมว่าเป็นเรื่องที่หลายคนห่วงใยอยู่แต่ไม่ทราบจะใช้ข้อความไหนเป็นการเหมาะสมดี
             ผมเข้าใจในความห่วงใยของผู้คนที่ห่วงจริยธรรมและพุทธธรรมครับ
             และก็เข้าใจว่าเราต้องยอมรับหลักธรรมอื่น ๆของศาสนาอื่น ๆ ด้วย คนส่วนน้อยต้องรับรองในเสรีภาพและความเท่าเทียมกันบนผืนดินนี้ครับ
  • เรียนเชิญ ช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิดใน "คนพุทธกลัวการเป็นพุทธ" ครับ คิดเล่นๆให้เป็นจริงกันเถอะครับ
P      ขอบคุณคุณพี่ราณีมาก ๆ ครับที่ร่วมแสดงความเห็น ผมเข้าใจในความห่วงใยครับมีผู้ใหญ่หลายท่านพระสงฆ์หลายรูป  แต่ก็แปลก ๆ อยู่เหมือนกันว่าทำไมเราถึงพึ่งมาสรุปประเด็นและเรียกร้องกันตอนนี้
ความจริงเรื่องนี้ยังคิดต่อได้และหาข้อสรุปได้ในเวลาอื่นๆ  ไม่ช้าเกินไปแน่นอนครับ  (อันนี้เรื่องการเมือง)
            ส่วนเรื่องประเด็นห่วงใยลูกหลานของเรานั้นผมว่า เราบัญญัติไว้แบบครอบคลุมทุกศาสนาก็ได้นะครับผมว่า เพราะในแง่นี้ทุกศาสนาก็สอนในเรื่องจริยธรรมทั้งนั้น ผมว่าประเด็นคือคนจะไม่นับถือศาสนาล่ะมากกว่า  ดังนั้นเราก็ต้องบัญญัติป้องกันไว้ว่าประเทศไทยให้ความสำคัญต่อศาสนานะ ผู้คนมีเสรีภาพและก็มีหน้าที่ทำนุบำรุงศานาด้วย หลักธรรม หลักดีจะได้อยู่กับสังคมเราไปเรื่อย ๆ พร้อมกันนี้ก็ระวังเรื่องการขัดแย้ง  ระหว่างกัน และก็ระวังพวกบิดเบือน เจ้าลัทธิต่าง ๆ อะไรพวกนี้ด้วย
             นี่ก็น่าจะพอเป็นหลักประกันเรื่องการคงอยู่ของศาสนานะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธหรือศาสนาใด ๆ แบบเดี่ยว ๆ
          ขอบคุณนะครับ

เดี๋ยวนี้อะไร อะไร ในสังคม ก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะๆ

อาจเป็นเพราะคนอยู่ห่างไกลธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆๆ

และใช้ชีวิตลุ่มหลงกับวัตถุมากขึ้นเรื่อยๆๆ ด้วยเช่นกัน

วิ่งตามกระแสสังคมภายนอก 

จนทำให้ความเคารพในวิถีชีวิตและคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองลดลงไป

 

แต่ถ้า มองเป็นเชิงสัจธรรม(ความจริงแห่งธรรมชาติ)

ก็คงเป็นอย่างธรรมชาติที่ว่า อนิจจัง

ทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรแน่นอน ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นธรรมดาค่ะ

 

 

P

อาจเป็นเพราะคนอยู่ห่างไกลธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆๆ

และใช้ชีวิตลุ่มหลงกับวัตถุมากขึ้นเรื่อยๆๆ ด้วยเช่นกัน

               ใช่มากๆ ครับ  หลายคนห่วงเรื่องนี้มากและมีคนกลุ่มใหญ่เช่นกันพยายามแก้ไขนะครับแต่ก็ดูเหมือนทำไปแบบแยกส่วนแม้แต่ในระบบศาสนาเอง

                อย่างน้อยที่ G2K นี่ก็พยายามให้คนมารวมกันและแบ่งปันความรู้สึกและความคิด นี่ น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยดึงผู้คนให้เข้าหา หลักความจริงแห่งธรรมชาติได้นะครับ  ผมก็รู้สึกได้เช่นนั้นเหมือนกัน

                ขอบคุณมากๆ นะครับที่แสดงความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท