จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 14 (30 เม.ย.50)


เวลาหยุดพักคือเวลาทำงาน (อีกแบบหนึ่ง)

                สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมยังคงมีวาระงานค่อนข้างมากทุกวัน โดยมีเรื่องสำคัญๆหลายเรื่องให้พิจารณาและดำเนินการ เช่น การประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนสนับสนุนกีฬา การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองงานเสนอ ครม. การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การประชุมคณะกรรมการการป้องกันแก้ไขโรคไข้หวัดนก และปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ

                วันพฤหัสบดีที่ 26 มีเหตุกระทันหันต้องไปพบหารือเจ้าของที่ดินซึ่งฟ้องและแจ้งให้ตำรวจจับคนชุมชนแออัดแห่งหนึ่งไปหลายคนฐานบุกรุกที่ดินแล้วไม่ยอมย้ายออก โดยนัดพบกันตอนค่ำที่โรงแรมแห่งหนึ่ง

                วันศุกร์ที่ 27 กลับถึงบ้าน 5 ทุ่ม โดยยังไม่ได้ทานอาหารค่ำ เนื่องจากกลุ่มทำงานมาหารือเรื่องการแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรแล้วหารือติดพันไม่จบจนดึก

                วันเสาร์ที่ 28 เดิมคิดว่าจะให้เป็นวันหยุดพักสัก 1 วัน แต่ได้ตัดสินใจชวนทีมงานวงเล็ก 7 คนมาหารือถึงสถานการณ์ล่าสุดและแนวดำเนินการระยะต่อไป

                หารืออยู่จนบ่าย กลับบ้านแล้วออกไปเข้าเฝ้าถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่พระราชวังสวนจิตรลดา เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส

                วันอาทิตย์ที่ 29 ไปจังหวัดชัยนาท เป็นประธานเปิดบ้านดินที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ พบเยาวชนที่เข้าโครงการค่ายเยาวชน ตามรอยอาจารย์ป๋วย และพบผู้เข้าประชุม คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคม จังหวัดชัยนาท ก่อนเดินทางไปเยี่ยมศึกษากิจกรรมพัฒนาที่ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่ง อบต. ที่นั่นได้รางวัลผลงานดีเด่นมากมายจนนับไม่ถ้วนกลับถึงกรุงเทพฯก็ตกค่ำ

                สรุปแล้ว ทั้งสัปดาห์แทบไม่ได้หยุดพัก แต่กิจกรรมวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นไม่หนักเท่าใด จะถือว่าเป็นการหยุดพักกลายๆก็คงพอได้

                ซึ่ง การหยุดพัก นั้น ที่จริงเป็นโอกาสให้สมองได้ผ่อนคลาย แล้วเลยเกิดความคิดดีๆผุดขึ้นได้โดยสะดวก แม้ไม่ได้พยายาม

               จึงกล่าวได้ว่า “เวลาหยุดพักคือเวลาทำงาน (อีกแบบหนึ่ง) แถมยังสามารถเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพได้อีกด้วย

                                                                                      สวัสดีครับ

                                                                                               ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

คำสำคัญ (Tags): #รองนายก
หมายเลขบันทึก: 93360เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

งานท่านหนัก แต่ทำให้ผมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาทั้งหมดของไทย จะต้องผูกไว้ที่ผู้นำ สิ่งที่ขาดหายไป คือการแก้ปัญหาที่เกิดจากกลไกที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั่นๆ ดังนั้นเราจึงเห็นเทศกาลปัญหาบ่อยมาก คือ การประท้วง ผลไม้ราคาตกก็ประท้วง หมูถูก็ประท้วง ทุกอย่างครับ ประท้วงได้ทุกเรื่อง

และที่ผมเห็นวิธีการแก้ไขคือ ต้องให้ผู้ใหญ่ลงไปทำเอง ตัดสินเอง ไม่งั้นแก้ไม่ได้

เมื่อไรชุมชนไทยจะเข้มแข็งสักที

สัวสดีค่ะท่านรองนายกฯ 

ภารกิจมากขนาดนี้  ท่านอย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะคะ  (ขออนุญาต)เป็นห่วงค่ะ และเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

ท่านเข้ามาดูแลประชาชน จริงใจหรือเปล่า หรือแค่เข้ามาเพื่ออยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านอธิบายเกี่ยวกับกับทฤษฎีพอเพียงหน่อยซิ ท่านเคยเป็นผู้บริหารธนาคารออมสิน ท่านเข้ามาเพื่อให้ประชาชนมีความสุข แต่ในขณะนี้เดียวกัน คณะรัฐมนตรีเร่งให้ประชาชนกู้เงินออกมาใช้ ไหนพวกท่านเคยบอกว่าพอเพียง ประชาชนต้องพอเพียง แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งการให้ประชาชนกู้เงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไหนบอกว่าทฤษฎีพอเพียงคือการไม่เป็นหนี้ อยู่กินอย่างพอดี คณะรัฐมนตรีพยายามกู้เงินฝรั่งญี่ปุ่นมาสร้างหนี้สร้างโครงการเมคกะโปรเจค สร้างรถไฟฟ้า5สาย ทำไมไม่เอาเงินไปสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานเรียนฟรี สร้างโรงพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน ปรับปรุงรถเมล์ รถไฟที่แย่สุดๆๆๆ ให้ดี ทำกับพูดคนละเรื่อง แล้วจะเชื่ออะไรดีล่ะ พอเพียงสองมาตรฐาน ก็ไม่ต่างกันหรอก เข้ามาเพื่อผลประโยชน์

อยากฝากให้ท่านย้อนรำลึกนึกถึง

1. ก่อนวันที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้  มิตรสหายที่อยู่ข้างกายท่าน มีใครบ้าง  กี่คน

2. หลังจากท่านเข้ามาเป็นรัฐมนตรี มิตรสหายข้างกายท่าน มีใครบ้าง เพิ่มขึ้นกี่คน 

3. ท่านลองเปรียบเทียบระหว่าง

มิตรสหายคู่ใจเดิม    มิตรสหายคู่ใจใหม่

แล้วท่านจะรู้สึก และคิดอะไรดีๆ ได้อีกเยอะ

รักและเคารพ

คนทำงานใกล้ๆตัวท่านนั่นล่ะ
ไม่มีใครบังคับให้ท่านเป็นนี่ครับ ท่านมีสิทธิ์ปฎิเสธได้ แต่ท่านไม่ทำเอง ดังนั้นการจะมาโอดครวญขอความเห็นใจใดๆนั้น เป็นสิ่งที่ส่อถึงนิสัยหน้าไหว้หลังหลอกครับ
ส่วนใหญ่พวกทำงานราชการไม่ได้ทำงานทุกวัน แบบหามรุ่งหามค่ำ พอได้ทำก็บ่น ทั้งๆที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่มีการแข่งขันสูง
อย่าลืมนะครับว่าท่านเองมีชนักติดหลังมากมาย โครงการในอดีตตั้งแต่เรียนจบปริญญาที่อังกฤษ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ทำธุรีกิจอะไรก็เจ๊งหมด ดีแต่สร้างภาพไปวันๆ ทำตลาดหุ้นก็ไม่ขึ้น อย่าลืมด้วยว่าท่านจบอะไรมา ถนัดอะไรจริงๆบ้าง ไม่ใช่ไปยุ่งเรื่องการเมืองการปกครอง ออกพระราชบัญญัติแก้ไขไม่ถูกจุด เรื่องที่ยุ่งอยู่แล้ว ก็ยิ่งบานปลายไปใหญ่ เวลาแต่งตั้งที่ปรึกษา ก็เอาแต่พวกหมอ ทั้งที่ไม่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารมหภาคเลย
ผมรู้ดีว่าท่านทำมาหากินอะไรไม่ได้แล้ว เลยมุ่งบรรยายในสายสังคม สายคุณธรรม และการจัดการความรู้  เพราะเรื่องพวกนี้ใครๆก็พูดได้ จบอะไรมาก็ทำได้ แต่สุดท้ายแล้ว ก็ได้แต่พูด ทำจริงๆ ไม่เป็นซักอย่าง
ผมจะเฝ้ารอดูผลงานท่านต่อไป ว่าจะมีน้ำยาแค่ไหนกัน ฝากถึงหมอคนอื่นๆ ที่หันไปบรรยาย KM ด้วยนะครับ ว่าอย่าดีแต่ปาก ด พูดได้ แต่ตัวเองยังทำไม่ได้เลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท