โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประสบการณ์ fammed ตอนที่ 1


นศพ.น้อยกับเวชศาสตร์ครอบครัว

เมื่อ 8ปีก่อน ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ที่คณะแพทย์แห่งหนึ่ง ในช่วงที่เป็น นศพ. ปี3 ได้เรียนในภาคเวชศาสตร์ชุมชน(พ.ศ.2539) มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้นำหัวข้อเกี่ยวระบบสุขภาพที่ในประเทศต่างๆมาให้เราได้เรียนรู้ เพื่อนๆหลายคนถกเถียงกันในประเด็นว่าประเทศไทยควรมีระบบสุขภาพแบบประเทศใดดี{เพราะระบบเรายังไม่ค่อยได้เรื่อง :)ผมในขณะนั้นสนใจระบบสุขภาพของประเทศอังกฤษที่มีแพทย์ GP ที่เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของชุมชนค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกันมีการวิเคราะห์ว่าระบบprimary care ของประเทศอังกฤษมีความเข้มแข็งจึงนำซึ่งผลดังกล่าว 

หลังจากนั้นผมก็เริ่มหาข้อมูลว่าถ้าอยากจะทำงานด้าน primary careต้องเรียนอะไร ก็ได้คำตอบว่าเป็นหมอ fammed จะได้ทำงานนี้ ผมนำเรื่องนี้ปรึกษาอาจารย์รหัสที่เป็นหมอสูติว่าจะเรียน Fammed ท่านแนะนำให้ผมคิดทบทวนดีๆ เพราะงานนี้ "ขาดอนาคต เรียนจบก็คงไม่มีที่ทำงาน คงต้องไปตรวจ GP เท่ากับหมอที่จบ 6 ปี ไม่สามารถเติบโตได้"  ผมเริ่มดูผู้ป่วยบน ward ไปตาม ward ต่างๆ สิ่งที่เห็นคือ

1.มีความรู้ต่างๆให้เรียนมากจนเรียนไม่ไหว อาจารย์ก็เก่งมาก(และดุพอสมควรจนผมรู้สึกว่าตัวเองโง่เหลือเกิน)

2.เห็นแต่ผู้ป่วยนอนบนเตียง ทุกคนเรียนคนไข้ด้วยชื่อเตียง/ชื่อโรค ถ้าย้ายเตียงก็จะทำให้เดือดร้อนมากเพราะจะลืมประวัติเวลาที่อาจารย์มา round มีน้อยคนที่จำชื่อผู้ป่วยได้

3.ทุกคนสนใจในสาขาความเชี่ยวชาญของตนเองจนเมื่อพบปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ก็โยนแผนกอื่นทันทีถึงแม้ปัญหานั้นๆจะเป็นปัญหาที่ธรรมดามากสามารถแก้ได้ไม่ยากก็ตาม

4.ในผู้ป่วยบางรายที่ต้องมีแพทย์ดูแลหลายสาขา ก็จะเกิดสภาวะ "หมด condition ทาง.........." เมื่อแพทย์ทุกคนที่ดูแลคิดว่าหมดภาระแต่ผลลัพธ์คนไข้ก็ยังไม่หายและไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของไข้ตัวจริง

และเมื่อผมลงจาก ward มาขึ้นแผนก fammed ปี 2541 สิ่งที่ผมพบคือต้องไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ตอนนั้นผมเบื่อมากเพราะไม่มีใครบอกผมเลยว่าเยี่ยมทำไม (ช่วงนั้นการเรียนการสอนยังไม่ค่อย work) ผมไม่เห็นหมอ fammed มีอะไรดี ผมเริ่มไม่มั่นใจว่าทางที่ผมอยากเดินจะเป็นทางที่ถูกต้อง พอผมขึ้นปี 6 ผมตัดสินใจไปดูงานที่ เวชศาสตร์ครอบครัวที่เชียงใหม่ ผมพบอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความเป็นแพทย์ที่พิเศษ ทุ่มเทการสอน นศพ. พาผมไปเดินสลัมและทำให้ผมแปลกใจคือ คนส่วนใหญ่รู้จักอาจารย์และให้ความนับถือ  ผมถามอาจารย์ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น อาจารย์ตอบผมว่า "การทำงานแล้วยกผลงานให้คนอื่น การดูแลคนโดยไม่หวังผลตอบแทนจะช่วยให้น้องทำงานสำเร็จ" ผมไม่เข้าใจเท่าไหร่แต่ก็ประทับใจอาจารย์มาก เขาคนนั้นเป็นต้นแบบของผมมาตลอด

จากที่ผมเล่าให้ฟังมาทั้งหมดผมมองย้อนไปในอดีตว่าทำไมไม่ค่อยมี นศพ.สนใจ Fammed

1.การเรียนการสอนแพทย์เน้น tertiary care ทำให้ไม่เห็นภาพprimary care

2.การเรียนการสอนของ fammed ในขณะนั้นขาด model ที่ดีและหลักสูตรก็ยังมีความไม่ชัดเจน ทำให้ นศพ. ที่สนใจงานด้านนี้ไขว้เขว่และเลิกสนใจไป

3.attitude ต่อ Fammed ในตอนนั้นยังไม่ดีเนื่องจาก ไม่มีบนบาท(ที่ยืนในระบบสาธารณสุข) ทำให้คนทั้ง รร.แพทย์พูดกันว่าไม่น่าเรียน

พอเขียนมาถึงตอนนี้ก็ขอให้ติดตามอ่านในตอนต่อไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 93279เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรกเลยเหรอครับเนี่ย

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับเหตุผลทั้ง3ข้อครับ เนื่องจากเป็นสาขาใหม่ก็แบบนี้ล่ะครับพี่ เมื่อดูในระดับโลกก็ถือว่ายังใหม่อยู่ดี  คาดว่าตอนที่เริ่มวางระบบการแพทย์ของไทยในขณะนั้นยังไม่น่าจะมีประเทศไหนที่มีfammed เลยทำให้เราเคยชินกับspecialist(ทั้งหมอและคนไข้)

มีตัวอย่างของผมคือ วันหนึ่งไปงานแต่งงานเพื่อนคนหนึ่งกับเพื่อนๆresident สาขาต่างๆ เช่น neuromed ได้ไปนั่งโต๊ะร่วมกับญาติเจ้าบ่าวคนหนึ่งซึ่งเป็นเด็ก7-8ขวบ หลังจากคุยกันจนสนิทสักพัก น้องคนนี้ก็หันมาถามเพื่อนผมที่ไปด้วยกันว่าเป็นหมออะไร ถามไล่มาแต่ละคน ต่างคนก็ตอบว่า เป็นหมอสมอง หัวใจ ทางเดินอาหาร...(ย่อยไปกว่าอายุรกรรมอีก)   จนถึงผมเป็นคนสุดท้าย น้องคนนี้ก็ถามว่า "แล้วพี่ล่ะ เป็นหมอรักษาอวัยวะอะไร" เป็นคำถามที่ทำให้ผมอึ้งเล็กน้อย ก่อนตอบว่า "พี่เป็นหมอครอบครัว ไม่ได้รักษาอวัยวะ" ซึ่งก็ทำให้น้องคนนั้นและแม่ของเค้าที่นั่งด้วยกันก็ทำหน้างงๆและเริ่มสอบสวนโดยถามคำถามที่ผมตอบมาไม่รู้กี่สิบครั้งแล้วว่า "แล้วหมอครอบครัวทำอะไร ใช่วางแผนครอบครัวหรือเปล่า" ซึ่งทำให้ผมลำบากใจทุกครั้ง เพราะไม่สามารถหาคำจำกัดความของ family doctor ที่สั้นและกระชับชนิดที่พูดมาแล้วทุกคนร้องอ๋อได้เลยสักครั้ง

มองดูๆแล้วมันเหมือนวงจรอุบาทว์(vicious cycle) อยู่เหมือนกันครับ ซึ่งพอจะเขียนได้ดังนี้

ขาดmodel(เนื่องจากความใหม่)-->ความไม่คุ้นเคย(จากกรอบความเคยชินเดิม)-->ความคลุมเครือไม่ชัดเจน-->มองดูไม่มีอนาคตไม่มีที่ยืน-->ไม่มีคนเรียน(ถึงหลงมาเรียนก็มักทนไม่ไหว)-->ขาดmodel--> -->...

ซึ่งจะแก้ไขด้วยการกำจัดวงจรแบบนี้ที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่นสร้างmodelที่ดีออกมามากๆ ก็น่าจะทำให้วงจรนี้สิ้นสุดลงได้ แม้ว่าจะไม่สามารถสิ้นสุดลงได้ในเพียงรอบเดียวแต่ผมเชื่อว่าจะเป็นไปได้ในอนาคตไม่รอบใดก็รอบหนึ่ง ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลต่อไปจะไม่สนับสนุนก็ตาม แต่ก็น่าจะมีสักรัฐบาลหนึ่งค้นพบสัจธรรมถึงความสำคัญของprimary care และ family medicine เหมือนดังที่หลายๆประเทศได้เห็นไปก่อนหน้าเราแล้วหลายสิบปี

 

ในปัจจุบันระบบบริการทางการแพทย์เริ่มประสบปัญหาหลายอย่างเนื่องจากขาดสมดุลระหว่าง technology กับจิตใจ ,ระบบสุขภาพขาดมิติความเป็นมนุษย์ ขาดน้ำใจ (โดยที่ไม่ตั้งใจ) ใช้วิทยาการทดแทนความเห็นอกเห็นใจ (ซึ่งทดแทนกันไม่ได้) ทำให้เกิดความขัดแย้ง-เสียค่าใช้จ่ายอย่างฟุ่งเฟือยกับ technology ที่ไม่เกิดประโยชน์ และผลสุดท้ายทั้งผู้ป่วย-คนในระบบการแพทย์เริ่มเหินห่างกันมากขึ้น (ทั้งที่จริงๆอยากจะใกล้ชิด) สิ่งที่จะแก้ไขตรงนี้คือต้องปรับทั้งระบบการศึกษา-บริการ-นโยบาย ซึ่งผมจะเรียบเรียงความเห็นของผมลงเขียน note ต่อไป

ผมชอบคำว่า หมอประจำบ้าน จะได้ตอบได้ว่าผมเป็นหมอประจำบ้านนั้นบ้านนี้ ให้ความรู้สึกที่มีขอบเขตดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท