ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ
ทพญ. ฉลอง ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ เอื้องสุวรรณ

เมื่ออุบัติเหตุฟันหลุดออกมาจากกระดูกจะทำอย่างไรดี


หากฟันหลุดออกมาแล้ว ให้รีบเก็บฟันเอาไว้ ห้ามเช็ดดูเนื้อเยื่อบริเวณรากฟันออกโดยเด็ดขาด เพราะบริเวณรากฟันมีเนื้อเยื่อปริทันต์เกาะติดอยู่

                              วันนี้มีผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยนรีเวชส่งมาปรึกษา เนื่อง่ จากอุบัติเหตุจากการใส่ท่อช่วยหายใจ แล้วทำให้ฟันโยกหลุดไปจากเบ้ากระดูกหนึ่งซี่ และฟันข้างเคียงโยกสองซี่ ทางโรงพยาบาลบอกว่าช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายว่าประมาณเท่าใด ทางโรงพยาบาลจะชดใช้ค่าเสียหายให้ น่าชื่นชมในความรับผิดชอบครั้งนี้มาก
                           คนไข้ได้นำฟันที่หลุดไปมาด้วย แต่เสียดายว่า เวลาผ่านไปประมาณ 5 วันแล้ว ฉันไม่สามารถใส่กลับเข้าไปในกระดูกได้ ปกติแล้ว หากเราได้รับอุบัติเหตุด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม แล้วมีฟันหลุดออกมาจากเบ้ากระดูก ไม่ต้องตกใจกลัวหรือเสียขวัญ ขอให้ตั้งสติดี ๆ และปฏิบัติตามดัง่นี้
                      1. หากฟันหลุดออกมาแล้ว ให้รีบเก็บฟันเอาไว้ ห้ามเช็ดดูเนื้อเยื่อบริเวณรากฟันออกโดยเด็ดขาด เพราะบริเวณรากฟันมีเนื้อเยื่อปริทันต์เกาะติดอยู่จะช่วยในการยึดอยู่ 
                      2. หากไม่มีที่เก็บฟันก็ขอให้อมไว้ในปาก แต่หากสามารถซื้อนมจืดที่บริเวณใกล้ ๆ ได้ก็ให้แช่ไว้ในนมจืดเย็น ๆ แล้วนำมาให้ทันตแพทย์
                   3. ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฟันว่า เกิดอุบัติเหตุอย่างไร เมื่อใด แบบใด อุไรเป็นสาเหตุ เพราะการตอบคำถามนี้ได้ จะทำให้ทันตแพทย์ทราบตำแหน่งของอวัยวะที่มีการบาดเจ็บได้
                 4. รีบนำมาพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะยะยเวลาที่สั้นที่สุด ส่งผลให้ผลการรักษาให้ได้รับผลดีที่สุด อย่างช้าคือภายใน 48 ชั่วโมง

ทันตแพทย์จะให้ตรวจรักษาอย่างไรบ้าง


1. ซักประวัติโดยละเอียด เพื่อประกอบการวินิจฉัยว่าเกิดความเสียหายต่อกัน และอวัยวะรอบ ๆ ตัวฟันอย่างไรบ้าง รวมทั้งประวัติโรคทางระบบของผู้ป่วยด้วย


2. ตรวจในช่องปาก โดยดูสภาพแผลที่ได้รับอุบัติเหตุ ทั้งภายในและภายนอก ดูสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจจะติดอยู่ภายในเนื้อเยื่อบาดแผล และเอาออกให้เรียบร้อยก่อน


3. ตรวจดูฟันข้างเคียงว่า โยกหรือเจ็บไหม กัดฟันได้เหมือนเดิมหรือเปล่า มีอาการปวดไหม มีการทะลุโพรงประสาทฟันหรือเปล่า เพื่อจะได้วางแผนการรักษาได้ถูกต้อง


4. การเคาะ ซึ่งทำโดยใช้ด้ามของเครื่องมือเกาะที่ตัวฟัน  หากเคาะแล้วเจ็บก็แสดงว่ามีการทำลายของเนื้อเยื่อปริทันต์รอบ ๆ ตัวฟัน และอาจจะมีการอักเสบร่วมด้วย
                  ถ้าเสียงเคาะทึบ แสดงว่าฟันเคลื่อนไปติดกระดูก
                   ถ้าเสียงเคราะโปร่ง แสดงว่าฟันเคลื่อนไปทางด้านข้าง


5. การตรวจบริเวณขากรรไกร เพื่อดูว่ามีการแตกหักของกระดูกขากรรไกรร่วมด้วยหรือไม่


6. ตรวจดูรอยร้าวที่ฟัน ซึ่งมักจะตรวจด้วยการดูด้วยตาเปล่า หรือถ้าให้ดีก็ให้ใช้เครื่องฉายแสงส่องมาจากด้านลิ้นของฟัน และมองดูทางด้านหน้าบนตัวฟัน ให้สังเกตว่า รอยร้าวนั้นอยู่บนผิวเคลือบฟันหรือเนื้อฟัน และให้ตรวจดูว่ามีรอยหักพาดผ่านโพรงฟันหรือไม่


7. การสบฟัน หากไม่สามารถสบฟันได้ เช่นปกติ แสดงว่ามีการหักของขากรรไกรหรือกระดูกที่ฟันยังอยู่ หรือมีการเคลื่อนของฟันจากที่เดิมไปแล้ว


8. สีของฟัน บางครั้งอุบัติเหตุเกิดรุนแรง อาจจะทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือด และอาจจะมีการซึมของเลือดเข้าภายในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อฟันได้ ทำให้ฟันมีสีชมพู ภายในระยะเวลา 2-3 วัน หรืออาจจะเป็นสีเทาอมฟ้า ภายใน 2 อาทิตย์ แต่ขั้นนี้ฟันอาจจะยังไม่ตาย และอาจจะเปลี่ยนกลับมาเป็นสีปกติได้ หากเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก็แสดงว่าฟันมีการตายของเนื้อเยี่อในตัวฟันแล้ว


9. การตรวจความมีชีวิตของฟัน ไม่ควรตรวจในวันแรกของฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ แต่ควรตรวจภายหลังได้รับอุบัติเหตุแล้วประมาณ  2 อาทิตย์ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป อีกอย่างในวันที่เกิดอุบัติเหตุอาจจุเกิดการช็อคของฟัน ผลการตรวจจะยังไม่ชัดเจนเชื่อถือไม่ได้


10. การตรวจทางรังสี โดยการเอกซเรย์ฟัน เพื่อดูว่ามีการแตกหักของรากฟันหรือไม่ เพื่อดูสภาพของรากฟันว่ามีการสร้างปลายรากเสร็จสมบูรณ์หรือยัง หรือมีการเคลื่อนไปของรากฟันมากน้อยแค่ไหน ไปทิศทางใด ทั้งนี้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป


หลักในการรักษาฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ


1. รีบทำโดยด่วน โดยให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการปฐมพยาบาลต่อฟันด้วย
2. ลดความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยมากที่สุด และเร็วที่สุด เช่น หากมีการทะลุโพรงประสาทก็ควรดึงประสาทฟันออกทันที
3. ยึดฟันให้เข้าสู่ที่เดิมโดยเร็วที่สุด ไม่ควรรอให้นาน ควรได้รับการรักษาภายใน 48  ชั่วโมง   เพราะฟันจะเปลี่ยนที่และไม่สามารถกลับที่เดิมได้   และหากนานกว่านี้ผลการรักษาอาจจะไม่ค่อยจะได้ผล
4. ทำให้กระดูกที่ได้รับอันตรายได้รับการซ่อมแซมโดยเร็วที่สุด
5. หากมีการเสียหายเฉพาะบนตัวฟัน ไม่มีการทะลุโพรงประสาทฟัน หรือไม่มีอาการเสียวฟันก็อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยรีบมาอุดฟัน แต่หากมีการบาดเจ็บอย่างอื่นมาก ๆ ก็ให้รักษาอาการนั้นให้ดีก่อน แล้วค่อยมาอุดฟันก็ได้

 

คำสำคัญ (Tags): #ฟันหลุดจากเบ้า
หมายเลขบันทึก: 93257เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่างนี้น่าจะมีการวางแผนกรณีฉุกเฉินอย่างนี้เพิ่มเติมไว้ในแผนการใส่ท่อช่วยหายใจบ้างนะคะ เพราะอาจจะช่วยรักษาให้ฟันยังยึดกับกระดูกได้ทันท่วงที (แต่คิดถึงอัตรากำลังของร.พ.แล้ว ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากนะคะ)

ขอบคุณคุณหมอหลองที่เอาความรู้ดีๆมาฝากพวกเรานะคะ มีประโยชน์จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท