ทำนาซิ่งกับการเลี้ยงโค


วิธีการทำนาดำเปลี่ยนมาเป็นการทำนาหว่านที่ใช้เวลาเพียงน้อยนิดก็เสร็จแล้ว รวมทั้งฤดูการทำนาก็เริ่มเร็วมาก กล่าวคือไม่มีการปักดำ มีแต่การหว่านจึงต้องหว่านข้าวเร็ว เมื่อหว่านเร็วก็ทำให้ไม่พื้นหรือทุ่งนาใช้เลี้ยงโค

     ในวันที่อบรมเกษตรกรจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคามนั้น เกษตรกรท่านหนึ่งได้พูดถึงปัญหาการเลี้ยงโคที่กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างนี๊ว่า  โคกำลังจะอดตายเพราะใคร ๆ ก็พากันทำนาซิ่ง

       อย่างเพิ่งงง! ค่ะ  ทำนาซิ่งนี้เป็นการเปรียบเปรยวิธีการทำนากับหมอลำซิ่งที่มีท่วงทำนาและลีลาที่รวดเร็วฉับไว  การทำนาซิ่งก็เหมือนกับหมอลำซิ่งที่ทำนาเสร็จรวดเร็วทันใจเพียงไม่กี่วัน  เพราะการทำนาทุกวันนี้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นรถไถนาตั้งแตเดินตามจนถึงนั่งตามนอนตาม  เกษตรกรจึงใช้เวลาทำนาน้อยมากในรอบหนึ่งปี  บางคนถึงกลับพูดว่า  การทำนาทุกวันนี้เหมือนกับฝัน เพราะทำนาแป็บเดียวก็เสร็จแล้ว  ก็ที่พบเห็นในปัจจับันนี้เกษตรส่วนใหญ่จะใช้เวลานำนาจริงในหนึ่งรอบประมาณ  3-4  วัน  คือ  ไถ หว่าน 2  วัน  ใส่ปุ๋น  1 วัน เกี่ยวและเก็บ  1 วัน

     จากที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เวลาทำนาสั้นลง เสร็จเร็วยิ่งขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงโคเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้พื้นในการเลี้ยงโคลดลงอย่างรวดเร็ว  จนถึงขั้นขาดแคลนได้ ซึ่งแตกต่างจากอดีตมากพอสมควร เนื่องจากอดีตนั้นเมือ่ถึงฤดูทำนา  เกษตรกรก็ไม่ได้ทำนาเสร็จรวดเดียวภายใน 3-4  เพราะต้องอาศัยปัจจัยด้านแรงงานเป็นหลัก 

       เมื่อฤดูฝนมาถึง  ชาวนาก็จะเริ่มเตรียมหว่านกล้า และไถดะที่นารอรับการปักดำ  ในช่วงที่รอให้ต้นกล้าเจริญเติบโตจนกว่าจะปักดำได้ก็ประมาณ  1  เดือน ในช่วงนี้ยังมีพื้นสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้

       แต่เมื่อมาถึงยุคนี้ วิธีการทำนาดำเปลี่ยนมาเป็นการทำนาหว่านที่ใช้เวลาเพียงน้อยนิดก็เสร็จแล้ว รวมทั้งฤดูการทำนาก็เริ่มเร็วมาก กล่าวคือไม่มีการปักดำ มีแต่การหว่านจึงต้องหว่านข้าวเร็ว  เมื่อหว่านเร็วก็ทำให้ไม่พื้นหรือทุ่งนาใช้เลี้ยงโค

       แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร  เกษตรกรบอกว่า ก็เลี้ยงไปแบบตามมีตามเกิด  ให้กินฟางข้าว หรือฟางข้าวราดกากน้ำตาลเป็นหลัก คิดว่ากากน้ำตาลคงช่วยให้โคอ้วนได้

       บางรายดีหน่อยมีแหล่งน้ำก็ปลูกหญ้าให้โคกินได้

        บางรายมีเงินมากหน่อยก็ให้กินหัวอาหาร

        เมื่อถามว่าถ้าจะเลี้ยงโคให้อ้วนในช่วงนี้จะเลือกใช้วิธีไหนจากที่กล่าวมาทั้งหมด

       เกษตรกรหลายรายบอกว่าเลือกให้โคกินฟางและฟางราดน้ำตาล สะดวกที่สุด

        ส่วนการปลูกหญ้านั้นไม่รู้จะปลูกยังไง  ปลูกพันธุ์อะไรจึงจะดีและยิ่งหัวอาหารยิ่งไม่รู้จัก  เพราะเคยรู้แต่ว่าหัวอาหารมีไว้เลี้ยงไก่ กับเลี้ยงหมู ไม่นึกว่าจะมีหัวอาหารสำหรับโคด้วย

       จากคำที่ว่า ไม่รู้จะปลูกหญ้าอะไร ปลูกอย่างไร และไม่รู้จักหัวอาหาร นี้จึงเป็นปัญหาใหญ่ของคนเลี้ยงโคเป็นอย่างมาก  เพราะนอกจากชาวบ้านทำนาซิ่งแล้วทำให้พื้นที่เลี้ยงตามธรรมชาติลดลงเร็วขึ้นแล้ว  เกษตรกรผูเลี้ยงโคเองยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอาหารโคด้วย

       จากสาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลต่อผลผลิตหรือคุณภาพของโคที่เกษตรกรเลี้ยงด้วย ทำให้โคซูบผอม ไม่ได้ขนาด ขายไม่ได้ราคา ความยากจนจึงยังคงอยู่คู่กับเกษตรกรไม่รู้จักจบสิ้น

 

หมายเลขบันทึก: 93127เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับอาจารย์พันดา 

  • ปลูกข้าวโพด ได้ไหมครับ
  • ฝักอ่อนเก็บขาย  ต้นและใบใช้เลี้ยงโค
  • ต้นทุนก็ไม่สูงนะครับ ขอให้มีน้ำรดอย่างเดียว

สวัสดีครับ

  • จากความไม่รู้จึงไม่เข้าใจในบางจุดครับ
  • จากผู้ไม่รู้ครับ  บางจุดอ่านแล้วงงๆในการใช้ภาษาครับ  ทำให้ไม่เข้าใจนิดนึงด้นการแปลความ)
  • ขอเปนกำลังใจน้อยๆให้ครับ  จากที่เคยเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ครับ
  • สู้ ๆ ครับ

น้องเอก 

สวัสดีค่ะ การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆตามมาเป็นพรวน

ดีใจที่เกษตรกรมองเห็นการกระทำของตัวเอง (ทำนาซิ่ง)ทีนี้ก็ต้องมาคิดกันต่อว่าจะแก้ปัญหาที่ตรงไหน อย่างไรกันดี

ขอเป็นกำลังใจให้ช่วยเกษตรกรต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ  พี่สมนึก

          อากาศทางกรุงเทพ เป็นไงบ้างค่ะ  อยู่บุรีรัมย์ร้อน แล้งมาก จะตายทั้งคนและโคค่ะ

          พอแล้งมาอาหารโคก็หมด  ชาวบ้านก็ความรู้ไม่พอใช้  โคที่เลี้ยงคุณภาพก็ไม่พอขายหรือขายก็ไม่ได้ราคา คนเลี้ยงคนก็ยังจนไม่หาย

         ถ้าจะให้ชาวบ้านหาอาหารอย่างอื่น เช่น ปลูกข้าวโพดมาเลี้ยงโค ชาวบ้านก็ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ไม่กล้าทำ ไม่กล้าเสี่ยง เพราะไม่เคยทำ และความรู้มีไม่พอ รวมทั้งเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ จะหาคนปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์นี้มีน้อยมาก

        จึงเป็นโจทย์ที่ยังต้องหาคำตอบในการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำของชาวบ้าน  ด้วยการหาตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการหาอาหารมาเลี้ยงโคในช่วงขาดแคลนมาเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรเลือกใช้ตามความเหมาะสมของตัวเอง 

       ถ้าหาคำตอบที่ว่าได้คงพอช่วยเกษตรกรที่มีความตั้งใจจะเลี้ยงโคให้ประสบความสำเร็จได้ค่ะ

        ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์  พันดา

  •  2-3 วันมานี่ที่กรุงเทพฯ มีฝนตกทุกวันครับ หนักบ้าง เบาบ้าง  ช่วยลดอุณหภูมิภายนอกและภายในร่างกายได้บ้าง  ถ้าตกอย่างนี้แถวสวนป่าพ่อครูบาฯ คงได้ออกจับกบจับอึ่งกันบ้างแหละ
  • อาหารโคเลี้ยง  ที่บอกมาว่าให้ปลูกข้าวโพด  เพื่อใช้ลำต้นและใบเลี้ยงโคนั้น เพราะว่าเคยเห็นแถวจึนทึก-ปากช่องเขาทำกันนะครับ  ทุกแห่งถ้ามีน้ำอย่างเดียว  อะไรก็สมบูรณ์ครับ  ดังนั้นเราต้องมีแหล่งน้ำไม่ว่าจะเจาะบาดาลหรือขุดสระเก็บน้ำ  เพื่อทำเกษตรให้ได้ก่อน  พืชตระกูลถั่วก็ใช้เป็นอาหารโคได้และยังช่วยบำรุงดินด้วย
  • ผมยังสงสัยว่าแถวๆก่อนถึงบุรีรัมย์ ทำไมเขาปลูกแตงโม ,แตงแคนตาลูปได้ผลดีจรัง

  ขอบคุณครับ

ขอบคุณนะครับ

วันที่ 6 เมย.  ได้นั่งรถท่านว่าที่ดร.ศักดิ์พงษ์ เข้าสวนป่าฯ พร้อมๆกับ อ.แป๋ว และน้องเอก   เจอวัวฝูงใหญ่มากค่ะ  ท่านว่าที่ ดร.ศักดิ์พงศ์เล่าให้ฟังว่า เป็นฝูงวัวรับจ้าง  เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในนาอ่ะค่ะ  เจอ อ.ดาทีไรว่าจะถามต่อยอดก็ลืมอ่ะค่ะ  งั้นขอถามไว้ในนี้เลยนะคะ

ทำนาชิ่งมันทำให้หมดท่เลี้ยงวัวเร็วค่ะ น้องเอกเป็นไงบ้างสบายดีนะค่ะไม่เห็นส่งข่าวเลยได้ข่าวว่าอยู่เม็กดำ  จากพี่กิ่งค่ะ

วันนี้ว่าจะเข้าไป ลปรร กับว่าที่ดร.ศักดิ์พงศ์ค่ะ  แต่หลานสาวคนเล็กตกกระไดบ้าน  เลยอดไปอ่ะค่ะ  ต้องอยู่ดูแลทางนี้ก่อนค่ะ  แย่จังเลย  โอกาสดีดีแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยๆเนอะ

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านว่าที่ดร.ศักดิ์พงศ์อยู่ทางนี้นะคะ

สวัสดีค่ะพี่สมนึก

       การปลูกข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์หรือเลี้ยงคนนี่เป็นสิ่งที่ดีและน่าส่งเสริมให้ชาวบ้านทำกันมาก ๆ  แต่วิธีคิดของชาวบ้านยังไม่เปลี่ยน เนื่องจากยังติดอยู่กับวิธีคิดวิธีการเดิม ๆ ที่ว่า  เลี้ยงด้วยหญ้าหรือฟางก็ทำให้วัวอยู่ได้  แต่เขาไม่คิดต่อว่า การอยู่ของวัวนั้นอยู่อย่างไร สมบูรณ์พร้อมหรือไม่ เพราะการที่วัวสมบูรณืหรือไม่สมบูรณ์นั้นมีผลต่อการให้ลูกของวัวได้

       แถวปางช่องนั้นมีการปลูกข้าวโพดเยอะ ด้วยมีปัจจับแวดล้อมเหมาะสมทั้งดิน น้ำและความชื้นในอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด อีกทั้งเกษตรกรก็มีพื้นความรู้เดิมอยู่พอสมควร  แต่เกษตกรภาคอีสานนั้น  ปัญหาเรื่องดินไม่อุ้มน้ำ และดินไม่อุดมสมบูรณ์เป็นปัญหาหลักที่แก้ได้ในบางแห่ง แต่บางแห่งมีน้ำก็ทำอะไรไม่ได้เพราะเป็นน้ำเค็ม  ที่สำคัญชาวบ้านไม่รู้และไม่เห็นความสำคัยที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะคิดว่าพอถึงฤดูฝนวัวก็จะกลับมาอ้วนเอง

      ซึ่ง ณ เวลานี้ก็มีเกษตรกรหลายรายที่พยายามเอาชนะความแห้งแล้งและภาวะการขาดแคลนอาหารเลี้ยงวัวกันบ้างแล้ว  มีการปลูกหญ้า และพืชอาหารสัตว์ รวมทั้งทั้งใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแต่ก็ยังมีน้อย

        ในช่วงการทำวิทยานิพนธ์นี้ก็พยายามแนะนำและทำความเข้าใจในเรื่องนี้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็สนใจคิดว่าอีกไม่นานวิกฤติการขาดอาหารเลี้ยงโคในฤดูแล้งน่าจะดีขึ้นค่ะ

       ขอบคุณค่ะ

P
สวัสดีค่ะ น้องเอก
               ไม่แน่ใจว่าน้องเอกงง! กับคำว่า ทำนาซิ่งหรือเปล่าค่ะ
               การทำนาซิ่งคือการทพนาหว่าน ที่ทำอย่างรวดเร็ว  ยกอย่างเช่นแถว ๆ ทุ่งกุลา  จะหว่านข้าวเสร้จตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมแล้ว  ซึ่งในช่วงเดือนพฤาภาคมนี้เป็นช่วงต้นฝนหย้าได้รับน้ำฝนจะแทงยอดชูช่อเป็นอาหารเลิศรสของวัว แต่วัยังไม่มีโอกาสได้กินด้วยซ้ำเพราะชาวนาไถนาทำนาหว่านหมดแล้ว  วัวก็ต้องกลับไปฟางแห้งอีกตามเคย
             ซึ่งต่างกับการทำนาสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาในการทำนาดำที่ต้องรอให้ต้นกล้าโตเต็มที่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน  ในช่วงหนึ่งเดือนนี้ต้นหญ้าต่าง ๆ ก็มีเวลาเจริญงอกงามเป็นอาหารวัวได้อีกยาวนานพอสมควร  วัวก็จะเจริญเติบโตได้ดีเหมาะแก่การผสมพันธุ์เพื่อที่จะให้ลูกอีกในปีต่อไป
            ซึ่งวิธีการทำนาแบบนี้ในปัจจุบันหาแทบได้แล้ว  คนเลี้ยงวัวจึงต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาทดแทนอาหารที่สูญปกับการทำนาซิ่ง  ไม่งั้นคนเลี้ยงวัวจะลำบากไปอีกนานค่ะ
          ขอให้ประสบผลสำเร็จในการทำเตาเผาขยะนะค่ะ
P
         สวัสดีค่ะ  อาจารย์ยุวนุช
                    ยอมรับค่ะอาจารย์ว่าการทำนาซิ่งนี้ส่งผลกระทบมากมายไม่ใช่แต่กับวัวหรือคนเลี้ยง คนทำนาเท่านั้น 
                   ผลกระทบแรกคือ ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นของเกษตรกร  ผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของโค  กระทบต่อประเพณีวัฒนาธรรมที่ดีงามเดิม ๆ ที่เคยมีมาเช่น ประเพณีการลงแขกทำงาน ซึ่งเป็นประเพณ๊ที่บ่งบยอกถึงความเอื้ออาทรของคนในชุม
              ที่แย่หน่อยก็คือปริมาณผลผลิตขข้าวที่ได้ที่ ได้น้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้กลายเป็นหนี้สินพัวพันที่ไม่รู้จบ ความยากจนจึงไม่เคยหายไปจากเกษตรรายย่อยสักที่
              
         ขอบคุณค่ะ 

สวัสดีค่ะ  อาจารย์หนิง

            ตอนนี้กำลังร่วมเรียนรู้กับท่าน ผอ.ศักดิพงษ์  หอมหวล  อยู่ค่ะ  เข้มข้นดีมาก  อาจารย์ท่านก็น่ารักมาก

           ส่วนฝูงวัวรับจ้าง  เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในนาที่อาจารย์หนิงพบนั้น  เกษตรจะรับจ้างคนมีกะตังค์ที่อยากเลี้ยงวัว แต่ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ จึงให้ชาวบ้านร้บจ้างเลี้ยแบ่งแบบปล่อยทุ่งหากินเองตามธรรมชาติ  เมื่อวัวคลอดลูกก็แบ่งลูกกันคนละครึ่ง  โดยเฉพาะวัวพื้นเมืองที่กินเก่ง กินน้อย แต่ให้มูลมากก็จะส่งผลต่อเกษตรกรในการลดต้นทุนด้านปุ๋ยมากพอสมควร

    วิธีเลี้ยงก็ง่าย ๆ  ปลอ่ยให้หากินเอง  ตัวไหน คุณภาพไม่ดีก็ส่งเขียงในตลาด

    ขอบคุณค่ะ

อาจารย์หนิง ค่ะ 

      ขอให้หลานสาว หายไว ๆ  นะค่ะ

      ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท