น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง สู่การส่งเสริมสุขภาพคนไทย (8) ... ความพอประมาณ


ความพอประมาณ ดูได้อย่างไร ... ถ้าจะดูความพอประมาณ ความหมายอันแรก ก็คือ เรื่องของการที่เราทำอะไร หนึ่ง ไม่น้อยเกินไป สอง ไม่มากเกินไป ... โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

 

หลักเศรษฐกิจพอเพียงในบันทึกนี้ ก็จะเป็นเรื่องของ ความพอประมาณค่ะ ลองเรียนรู้ดูนะคะ 

ความพอประมาณ ดูได้อย่างไร ... ถ้าจะดูความพอประมาณ ความหมายอันแรก ก็คือ เรื่องของการที่เราทำอะไร หนึ่ง ไม่น้อยเกินไป สอง ไม่มากเกินไป ... โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

อยากจะเรียนว่า ความพอประมาณ ถ้าจะเอาว่า มีเครื่องมืออะไรบ้าง ผมอาจให้รายละเอียดสัก 3 เรื่อง

  • อันแรก ความพอประมาณ เป็นสิ่งที่จะชักจูงประเด็นให้เรามองโดยยืดกรอบการมองให้ยาวขึ้น ยาวขึ้นนี้ คือ มองไปในอนาคตมากขึ้น ... สิ่งที่ไม่ได้เป็นเศรษฐกิจพอเพียงมากเท่าไร คือ เวลาเราเกิดเหตุการณ์ณ์อะไรขึ้นมาบางอย่าง และเราใช้มุมมองการวิเคราะห์อย่างสั้นๆ มองอนาคตแค่ปี 2 ปี บางครั้งเรามองอนาคตน้อยเกินไป จะทำให้เราติดสินใจในสิ่งที่อาจจะมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ยกตัวอย่าง บางจังหวัด ที่ต่างจังหวัด จะมีการสร้างสนามบินในจังหวัดเล็ก สร้างเสร็จแล้ว เวลาผ่านไปไม่กี่ปีก็ปิด ปิดใช้บริการ แล้วก็ทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณเยอะ หลายร้อยล้าน
    ...  เพราะฉะนั้นประเด็นคือ เวลาเราลงทุนสร้างอะไร ถ้ามองแค่กรอบสั้นๆ เช่น อาจมีนักท่องเที่ยวเริ่มไปนิดหน่อย  พอเห็นว่าน่าจะไปไหว โดยไม่ได้มองการณ์ไกล ก็ไปลงทุนสร้างอะไรไว้ใหญ่โต แต่พอไปดูยาวๆ เข้าจริงๆ ก็ไม่มีคนมามากนัก บางจังหวัดมีเครื่องบินไปลง สัปดาห์ละ 1 เที่ยวบินเท่านั้น แล้วไปสร้างสนามบินทำไม เพราะฉะนั้น เวลากรอบการมองสั้นเกินไป ก็ทำให้เราลงทุนในสิ่งที่อาจจะมากเกินไป หรือน้อยเกินไป
    ... ผมอาจจะตั้งข้อสังเกตให้เราดูตัวอย่างของสนามบินที่สร้างเพิ่งเสร็จ คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้ไปได้ปีเดียว สนามบินเต็มแล้ว เพราะว่ากะไว้คนมาปีละ 40 ล้านคน ตอนนี้ก็ 35 ล้านคนไปแล้วปีเดียว และก็อีก 5 ปีก็แน่น อยู่ไม่ได้แล้ว อันนี้ก็อาจเป็นเพราะว่าเล็กเกินไปหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องกระจายบางส่วนมาใช้ที่ดอนเมือง เพราะฉะนั้นการที่ ถ้าเราทำงาน สามารถยืดกรอบมองการณ์ให้ไกลขึ้น จะทำให้เราสามารถวางแผนอะไรให้เกิดความพอดีขึ้นได้ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
    มิติที่สอง ที่จะเชิญชวนให้วิเคราะห์ความพอประมาณนี่นะครับ ก็คือ เมื่อกี้เรามองเรื่อง การยืดเวลาให้ยาวขึ้น
  • อีกมิติหนึ่ง คือ การยืดการวิเคราะห์ให้กว้างขึ้น เวลาเราจะวิเคราะห์ประเด็นอะไรประเด็นหนึ่ง อย่าไปมองอะไร เช่น ยกตัวอย่างด้านสุขภาพ ผมอาจจะขออนุญาติ ถ้าพูดผิดขอประทานโทษ เพราะว่าไม่ใช่สายวิชาชีพนี้ ... การกระทำอะไรให้พอประมาณไม่มากไม่น้อยเกินไป นอกจากวิเคราะห์ให้ครอบคลุมเรื่องสุขภาพแล้ว ท่านอาจต้องวิเคราะห์ให้ครอบคลุมถึงมิติอื่นๆ เรื่องครอบครัว เรืองการศึกษา รวมเข้าไปด้วย เพราะว่าความรู้ความเข้าใจ การศึกษาของคน หรือสถานครอบครัว ก็อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ
    ... เพราะฉะนั้น เมื่อเราทำกิจกรรม และมองมิติเรื่องของสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ช่วยให้แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำนี้ ไม่ไปขัดกับมิติอื่นๆ ก็จะทำให้กิจกรรมของเรามีความพอดีๆ ไม่มีอะไรที่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
  • อันที่ 3 ที่เกี่ยวกับความพอประมาณนี้ โยงไปถึงประเด็นถัดไปอีกอันหนึ่งก็คือ เรื่องความไม่แน่นอน เวลาที่เราจะลงทุนทำอะไรบางอย่าง ความไม่แน่นอนในอนาคตมันมี ... ตัวอย่างง่ายๆ เราจะเล่นเรื่องรณรงค์เรื่องเหล้าบุหรี่ เพราะว่าตอนนี้กรมฯ อยากทำ เราก็ทุ่มงบประมาณเต็มที่ เพราะอยากทำ ให้เกิดความสำเร็จ ปรากฎว่า เวลาผ่านไป เดือน ตค. มีการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เขาไม่เล่นนโยบายนี้ด้วย เขาไปเล่นเรื่องอื่น ก็กลายเป็นว่า ลงทุนไปก็อาจจะสูญเปล่า เพราะรัฐบาลใหญ่เขาไม่เล่นด้วย ไปถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ของนโยบายภาครัฐนี้ เวลากรมจะเล่นประเด็นอะไร อาจจะอย่าทุ่มที่ตัวใดตัวหนึ่งมากนักครับ อาจจะต้องทำหลายเรื่องที่หลากหลาย และแต่ละเรื่องก็ทำในระดับพอประมาณ เพราะเราไม่แน่ใจว่า อนาคตจะเกิดอะไรขึ้น
    ... เพราะฉะนั้น ความไม่แน่นอนก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่เราไม่อยากทำกิจกรรมที่มีความสุดโต่งมากเกินไป
    ด้วย 3 เหตุผล คือ มองการณ์ไกลๆ มองเรื่องให้รอบคอบ คือ มองกว้างๆ เอามิติทางด้านสังคมวัฒนธรรมมาร่วมด้วย และคำนึงถึงความไม่แน่นอนในอนาคต ก็จะทำให้เราจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ทำโครงการก็อย่าให้ใหญ่เกินไป และอย่าให้เล็กเกินไป เป็นต้น

รวมเรื่อง น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง สู่การส่งเสริมสุขภาพคนไทย

 

หมายเลขบันทึก: 92616เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณค่ะ   ขออนุญาตเก็บเกี่ยวด้วยนะคะคุณหมอ

  • เต็มใจอย่างยิ่งเลยค่ะ คุณ (หนิง)
  • สิ่งดีดีเช่นนี้ ช่วยกันฟัง ช่วยกันใช้ได้เลยละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท