สัมมนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ....1


แผนชีวิต .....แผนแม่บทชุมชน

วันที่ 27-28 เมษายน นี้ ผมต้องไปจัดการสัมมนาเรื่องศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เพื่อแก้ไข้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ที่โรงแรมแม็กซ์   ถนนพระราม9 ห้องเอเชีย  ผู้เข้าร่วมจะมาจากตัวแทนชาวบ้านของแต่ละศูนย์ฯจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน อีก 25 ท่านจากทั่วประเทศเหมือนกัน  มาช่วยกันระดมความคิด เพื่อขับเคลื่อนศูนย์ฯให้ปฏิบัติงานได้จริง

จากการสัมมนา 2 ครั้งที่ผ่านมา อย่างน้อย เราพอจะเข้าใจว่าที่เราคุยกันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นั้นเราไม่เข้าใจตัวปรัชญา  ตัวนี้ ทำให้ต้องเสียเวลาในการอธิบายว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นอย่างไร?

ผมไม่อาจจะบอกว่าผมเข้าใจทั้งหมด  แต่เพราะผมอยู่กับ ดร.เสรี พงศ์พิศ  ผมจึงเข้าใจว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นอย่างไร?  แล้วจะทำให้เกิดศูนย์ได้อย่างไร?  ชาวบ้านจาก 76  จังหวัดจะนำไปใช้อย่างไร? ผู้คนส่วนใหญ่เข้าปรัชญา"เศรษฐกิจพอเพียง" แค่ องค์ประกอบ 3 ประการคือ พอประมาณ , มีเหตุมีผล,มีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไข 2 ประการคือ  ของการศึกษา , ของคุณธรรม  แล้วจะทำอย่างไร?ให้เกิดขึ้น

ระดับปัจเจกต้องมีต้องมีแผนชีวิต....และการปฎิบัติที่แปรจากแผนชีวิตเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชุมชน ต้องมีแผนแม่บทชุมชน ส่วนการปฎิบัติมีการจัดการทุนในชุมชน และระบบการเรียนรู้ โดยการแปรจากแผนแม่บทชุมชนเป็นกิจกรรมอีกต่อหนึ่ง  จึงจะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และหลักของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน

ซึ่งเงื่อนไขของการศึกษา(สิกขา)นั้นหมายถึงขั้นต้น คือการจัดระเบียบชีวิตใหม่  จัดระเบียบครอบครัวใหม่ จัดระเบียบชุมชนใหม่ (ให้มีพอประมาณ,มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน)

 ขั้นกลาง คือการรักษาศีลครบ 5ข้อ ศีลข้อที่หนึ่งไม่ทำปาณาติปาต(รังแกทุกสิ่งจนถึงทำลายถึงชีวิตทุกสิ่ง) สำหรับศีลข้อหนึ่งท่านว่าให้วิรัติ(งด หรือห้ามกระทำ)  ศีลข้อที่สองอาทินนาทาน(ไม่ถือเอาของทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตน)  ศีลข้อที่สามกาเมสุมิจฉาจารา(ไม่ประพฤติผิดทางเพศ) ศีลข้อที่สี่ มุสาวาทา (พูดมุสา(เพ้อเจ้อ,คำหยาบ,ส่อเสียดและเท็จ))  ศีลข้อที่ห้า สุราเมระยะมัชปมาทัชฐานา (สิ่งเสพติดและของมึนเมา)  ตัวที่เป็นศีลคือเวรมณี สิกขาประทัง สมาทิยามิ ต่างหาก (วิรัติหรืองดเว้นเสีย)

ขั้นสุง คือ การประพฤติและปฎิบัติธรรม  การประพฤติธรรมคือการทำกุศลกรรมบท 10  การปฏิบัติธรรม คือ การทำกัมมฐาน ซึ่งแยกเป็นสมถะกัมมฐาน (อุบายเพื่อให้ใจสงบ) และวิปัสสนากัมมฐาน (อุบายที่ทำให้เรืองปัญญา)

เมื่อกระทำได้ครบ 3 ขั้นตอนแล้ว จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  ได้ตั้งแต่ ระดับปัจเจกชน ระดับครอบครัว ระดับชุมชนหมู่บ้านจนถึงตำบล ครับ

หมายเลขบันทึก: 92587เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท