Workshop KM ของสำนักงานควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น (1)


เครื่องมือจัดการความรู้ที่ใช้ประกอบด้วยAI, Dialogue, Benchmarking, BAR, DAR, AAR

                 ผมกับทีมงานประกอบด้วยคุณสุภาภรณ์(เอ้) คุณวรวรรณ (ปู) คุณวราพร (น้อย) ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรการจัดการความรู้ที่จัดโดยสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ที่มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างแกนนำและพัฒนาภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในระดับเขตและจังหวัด ในพื้นที่การสาธารณสุขเขต 10 และ 12วันที่ 26-28 มีนาคม 2550ณ ห้องประชุมโรงแรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีโดยมีผู้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองท้องถิ่นและสถานศึกษาจาก 7 จังหวัดในเขต

                    วัตถุประสงค์ของผู้จัดมีหลายประการภายในเวลา 3 วัน (จริงๆแล้วมีเวลาสำหรับทีมวิทยากรเพียง 1 วันครึ่ง) โดยต้องการให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการความรู้จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ในลักษณะการจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติจังหวัดละ 2 ชุมชน  ฝึกปฏิบัติการจัดการความรู้ของกลุ่มที่เข้าร่วมและฝึกให้เป็นคุณอำนวยเพื่อลงไปจัดทำในจังหวัดของตนเองได้ทีมของโรงพยาบาลบ้านตากมี 4 คน แต่จัดเป็น 8 กลุ่ม ผมจึงขอทีมของ สคร.ที่ได้เคยเข้าฝึกปฏิบัติจัดการความรู้กับผมเมื่อครั้งที่กรมควบคุมโรคเคยจัดเมื่อปลายปีที่แล้วมาช่วยเป็นวิทยากรกลุ่มอีก 5 คน โดยมีผมเป็นวิทยากรกลางและเป็นพี่เลี้ยงวิทยากรกลุ่มด้วย

                 มีการจัดกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1  ทีม สคร. 6  ขก  11  คน  วิทยากรอ.สุภาภรณ์ 

กลุ่มที่ 2  จังหวัดอุดรธานี + สคร 6 วิทยากร อ.วราพร

กลุ่มที่ 3  จังหวัดหนองคาย  +  สคร 6  วิทยากรอ.เสาวลักษณ์

กลุ่มที่4   จังหวัดร้อยเอ็ด  +  สคร 6 วิทยากรอ.ธวัลรัตน์

กลุ่มที่5   จังหวัดเลย  +  สคร 6  วิทยากรอ.ศรีสุนทร

กลุ่มที่6  จังหวัดขอนแก่น  +  สคร 6  วิทยากร อ.วรวรรณ

กลุ่มที่7  จังหวัดหนองบัวลำภู  +  สคร 6  วิทยากร อ.พวงกาญจน์

กลุ่มที่8  จังหวัดมหาสารคาม  +  สคร 6  วิทยากร อ.กังสดาล           

                เพื่อให้ผู้จัดได้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด ผมกับทีมงานก็ได้ออกแบบกิจกรรมใน 1 วันครึ่ง ให้มีการเรียนรู้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติคุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต การฝึกใช้เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติ

                โดยจัดตารางกิจกรรมดังนี้

1.      ทำกิจกรรมBAR (Before Action Review)

2.      ฟังเรื่องเล่า การจัดการความรู้แบบบูรณาการ

3.      กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ รู้จัก รู้ใจ

4.      กิจกรรมค้นหาสิ่งดีรอบๆตัว(AI)

5.      เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากAIและสุนทรียสนทนา

6.      กิจกรรมDAR และแต่ละกลุ่มสรุปขุมความรู้

7.      ฝึกใช้เครื่องมือชุดธารปัญญา

8.      ทำแผนจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติ

9.      นำเสนอผลงานของกลุ่ม

10.  กิจกรรมAARในส่วนของสรุปบทเรียน DAR (During Action Review) เน้นใน 4 ประเด็น คือ

       บทบาทของคุณเอื้อ,คุณอำนวย,คุณกิจ,คุณลิขิต

       ขั้นตอนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควรมีอะไรบ้าง

       ขุมทรัพย์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือบัญชีความสุข

       ข้อแตกต่างของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเวทีกิจกรรมทั่วๆไป

            เครื่องมือจัดการความรู้ที่ใช้ประกอบด้วยAI, Dialogue, Benchmarking, BAR, DAR, AAR

หมายเลขบันทึก: 92510เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ได้ผลเนอะนึกว่าคุณหมอหายไปจริงๆๆ
  • ว่าจะไปตามที่บ้านตาก
  • ฮ่าๆๆๆๆ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท