CoP เคมีบำบัด : Knowledge sharing ครั้งที่ 2 /2550


CoP เคมีบำบัด : Knowledge sharing ครั้งที่ 2 /2550

วันที่ 26 มกราคม 2550  ครั้งที่ 2 เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่มและเตรียมประชุมวิชาการของงานบริการพยาบาล เรื่อง Excellence nursing :บทบาทที่ท้าทายวิชาชีพในวันที่ 7-9 มีนาคม 2550  และดิฉันซึ่งเป็น Facilitator ได้ไปอภิปรายร่วมในที่ประชุมครั้งนั้นด้วย  

เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์  ของพยาบาล OPD 4  หอผู้ป่วย 5จ 6ข และ 3ก(Story Telling/ Experience Sharing) เรื่อง การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง  

คุณคณิตา ชาดี  (พยาบาลประจำ OPD4) มีคลินิกมะเร็งเต้านม เช้าวันศุกร์     พยาบาลจะสอนความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมแก่ผู้ป่วยและญาติ  และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หลังจากสอนเสร็จ จะมีการสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยใช้หุ่น และให้ผู้ป่วยฝึกตรวจเต้านมด้วย นอกจากนี้มีการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์แพทย์ โดยการประเมินอาการข้างเคียงในการใช้ยาทางโทรศัพท์ หลังผู้ป่วยจำหน่าย 1 สัปดาห์ 

คุณนาถอนงค์  น้อยน้ำคำ (พยาบาล 3ก)            การนัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมครั้งแรก จะมีการสอนผู้ป่วย  เรื่องยาเคมีบำบัด และอาการข้างเคียง การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงในการรับยาเคมีบำบัด  และมีการทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนทุกวันพุธ (บ่าย2)และประเมินความพึงพอใจในการเข้ากลุ่มและประโยชน์ในการเข้ากลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยพึงพอใจมาก และอยากให้จัดทุกวัน นอกจากนี้มีการวางแผนจำหน่าย โดยการทบทวนความรู้และการปฏิบัติตัวที่บ้าน การดูแลท่อระบาย  การออกกำลังแขนทุกวันๆละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันแขนบวม ผู้ป่วยจะต้องออกกำลังแขนตลอดชีวิต   

คุณอุบล  จ๋วงพานิช  (พยาบาล5จ)            ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารักษาในหอผู้ป่วย 5จ ส่วนมากจะมีปัญหาซับซ้อน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะต้องดูแลทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจและจิตวิญญาณ แบบองค์รวม 

  • ผู้ป่วยส่วนมากจะมีปัญหาอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด  
  • มีความวิตกกังวลสูง  
  • การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์     
  • มีปัญหาครอบครัว  และปัญหาเพศสัมพันธ์ 

      ดังนั้นพยาบาลจะต้องดูแลเพื่อลดความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นทั้งกรณี ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวด การดูแลเพื่อป้องกันคลื่นไส้  อาเจียน การดูแลเพื่อป้องกันการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก (mucositis) การดูแลเพื่อป้องกันอาการเหนื่อยล้า (fatigue) การดูแลผู้ป่วยกรณีมีปัญหามีความคิดจะฆ่าตัวตาย (Suicidal idea)  การดูแลผู้ป่วยที่ให้การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) และ การดูแลเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง   

หมายเลขบันทึก: 91605เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • จาการ KSในวันนั้น
  • เรามีโอกาสพัฒนาหลายเรื่อง
  • แต่สิ่งแรกที่จะไปดำเนินการคือ การทำสมุดประจำตัวของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • แบบเดียวกัน
  • โดยใช้แบบเดียวกันทั้งโรงพยาบาล
  • นอกจากนี้เราจะทำเฉพาะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วย
  • รอชมนะคะ

 

  • การเตรียมผู้ป่วยเพื่อฟังผลการวินิจฉัยโรคว่าเป็นมะเร็งเป็นสิ่งจำเป็น
  • เพราะผู้ป่วยหลายคน จะรู้สึกว่าทำไมต้องเกิดขึ้นกับฉันด้วย
  • ฉันจะมีชีวิตนานเท่าไหร่
  • จะอยู่อย่างไร
  • ดังนั้นพยาบาลจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลาผู้ป่วย

 

  • การเตรียมผู้ป่วยก่อนให้ยาเคมีบำบัดเป็นสิ่งสำคัญ
  • ผู้ป่วยจะได้เตรียมพร้อมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากยาเคมีบำบัด
  • และมีคุณภาพชีวิตที่ดีระหว่างให้ยาเคมีบำบัด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท