โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

Facilitative Leading for Optimizing Work II


อำนวยอย่างไรให้งานไม่สะดุด ภาค 2

        เมื่อวานจบลงตรงที่ได้ 5 role model ของ Facilitator วันนี้เป็นวันที่สองของการอบรมและเป็นวันสุดท้าย ไฟไม่ดับ ผู้เข้าอบรมสนุกสนานกับการแลกเปลี่ยนรูปถ่ายที่สตึกกันใหญ่       

      การอบรมเริ่มต้นด้วยการที่ท่านวิทยากรให้น้องจี๊ดผู้ช่วยวิทยากรมาเล่าว่าเมื่อวานอาจารย์นุ่นทำอะไรกับพวกเราบ้าง ฟังดูน่ากลัวจัง เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ที่เราเดินผ่านมาแล้วครึ่งทาง และวันนี้เรากำลังจะไปไหนกันต่อ พวกเราได้รับเอกสารเพิ่มเติมแต่ยังไม่ให้อ่าน เรียกว่าต้องระงับความอยากรู้อยากเห็นให้ได้ แล้วก็เพิ่งรู้ว่าเจ้า donut chart ของเรา อาจารย์เรียกว่า Thinking Wheel ที่เป็นเครื่องมือนำพาเราไปสู่การแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน       

      Role model ของ Fa ที่พวกเราช่วยกันสร้างภาพเมื่อวานนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เป็นการ์ตูนที่คนส่วนใหญ่รู้จัก เช่น โดเรมี่ ตัวเอกของกระบวนการเซ็นไต (ไม่รู้จัก ไม่เคยดู ไม่แน่ใจเขียนถูกหรือเปล่า) อีกประเภท คือ จินตนาการของกลุ่ม ออกมาเป็น ปลาหมึก ฟาฟ้า และ จิ๊กกิ้ม แต่ละ role model ได้ถูกกำหนดคุณสมบัติไว้หมดแล้วคร่าวๆ วันนี้เราต้องทำพวกเขาให้สมบูรณ์ในแบบฉบับของเขาโดยศึกษารายละเอียดของ Fa ที่ดีแล้วกำหนดเป็นทักษะ ความรู้ ความสามารถ ลักษณะนิสัยที่ต้องเป็น (competency)        

    ก่อนจะเริ่มทำกิจกรรมนี้ อาจารย์นุ่นพูดถึง 3D (Dialogue, Discussion, Debate) and 5R มีกิจกรรมเกี่ยวกับการสาธิตการทำ Dialogue ที่ต้องใช้วิธีพูดสิ่งที่เป็น fact หรือ emotion ออกมาขึ้นอยู่กับการกำหนดกติกาในรอบนั้น ให้เวลาพูดคนละครึ่งนาที ก่อนเริ่ม dialogue ต้อง destress ก่อนจะใช้วิธีใดก็ได้ที่คิดว่าเหมาะสำหรับกลุ่ม

        หลังจากนั้นก็เริ่มกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของ role model แล้วเลือก scenario ที่พวกเราแต่งไว้เมื่อวาน 2 เรื่องเพื่อเป็นเวทีทดลองเสมือนจริงให้แสดงบทบาทสมมติ ตอนบ่ายเลือกว่าใครจะเล่นตามบท แล้วใครคือ Fa 5 คนตามที่กำหนดคุณสมบัติไว้ ต้องเล่นตามบทบาทนั้น ไม่รู้ว่าโชคดีหรือร้ายเราต้องเล่นเป็นตัวจิ๊กกิ้ม และประกบคู่กับโดเรมี่ โดยต้องเล่นในกรณีแรกเป็นเรื่องของบริษัทขายวัสดุก่อสร้างที่ยอดขายสินค้าบางตัวไม่ได้ตามเป้า ต้องมาจัดงานดิสเพลย์เพื่อส่งเสริมการขาย คนเป็น Fa จะต้องทำให้การประชุมเกี่ยวกับการจัดงานบรรลุวัตถุประสงค์ 

        อาจารย์มอบหมายให้กลุ่มที่ไม่ได้แสดงในแต่ละรอบเป็นผู้สังเกตการณ์และให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งทำหน้าที่ได้ดีมากๆ เก็บรายละเอียดให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ตอนที่สองเราได้ลองเป็นคนสังเกตการณ์บ้าง จึงได้รู้ว่าเป็นกำไรที่เราได้เล่นเป็น Fa เพราะเข้าใจดีว่าในเรื่องของความอดทน หรือการควบคุมอารมณ์นั้นยังทำได้ไม่ดี  ก็น่าแปลกทำไมพวกเราเล่นแล้วมันอินกับบทมากๆ เลยจนพี่ที ที่เล่นเป็นว่าที่ MD บอกว่าเล่นบทคนร้ายง่ายกว่าคนดี 

        สรุปสิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเป็นผู้อำนวยการประชุม

    *     ควรศึกษาวัตถุประสงค์ของการประชุมให้เข้าใจอย่าง
        ชัดเจน

*     ต้องให้ความสำคัญคนที่อยู่ในที่ประชุม รับรู้ในตัวตนของเขา ไม่ทอดทิ้งแม้เขาจะเป็นตัวป่วน โดยเฉพาะถ้าเขาเป็นผู้ใหญ่

*     ควรให้คำชม ยกย่องอย่างจริงใจในสิ่งที่เขาทำได้ดี หาเรื่องชมให้ได้                                                 

     *          คุณอำนวยสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทของตัวเอง
       ให้เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละช่วง ไม่ต้องยึดรูปแบบ
       ตายตัว
     

        ระมัดระวังการใช้คำพูดที่ไม่สร้างสรรค์

*     อย่าเสียศูนย์ ตั้งหลัก ตั้งสติ อดทน ควบคุมอารมณ์ให้ได้ รู้จักใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว

Facilitator ควรเป็นผู้ยั่วให้คนอื่นเกิดความต้องการเรียนรู้แต่ต้องไม่ยอมให้คนอื่นมายั่วโมโหโดยง่าย    
คำสำคัญ (Tags): #development#facilitator
หมายเลขบันทึก: 91525เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

Facilitator ควรเป็นผู้ยั่วให้คนอื่นเกิดความต้องการเรียนรู้แต่ต้องไม่ยอมให้คนอื่นมายั่วโมโหโดยง่าย    

ประโยคนี้ถูกต้องเลยค่ะ เห็นด้วยค่ะ

ปัญหาที่ผู้เล่นเป็น FA วันนี้คือการที่ไม่รู้เขารู้เราครับ เนื่องจาก ตอนประชุมกลุ่มมีการแยกประชุมทำให้การกำหนดบทบาทของตัวละคร FA ไม่รู้ครับว่าใครเล่นเป็นใครทำให้วันนี้ทั้ง 2 case พบกับอุปสรรคคือ การที่จะเข้าถึงสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมครับ สำหรับกลุ่มที่2 จะเป็นการประชุมเกี่ยวกับมีนักศึกษามาขอเยี่ยมชมโรงงาน แต่เวลาที่ประชุมคือ 4 โมงเย็นใกล้เลิกงาน แถมเป้นการนัดประชุมด่วน โดยที่ผู้นัดประชุมเพิ่งกลับจากไปเที่ยวมาอีกต่างหาก สำหรับ FA เล่นเป็นลูกน้องของประธานในที่ประชุมครับ สำหรับตำแหน่งหน้าที่ของผู้เข้าร่วมประชุมจะอยู่ระดับเดียวกันครับ โจทยืมีอยู่ว่าผูเข้าร่วมประชุมต้องมีการเสนอความคิดเห็น และพยายามให้คนอื่นรับผิดชอบงานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องแย่งกันเสนอด้วยครับ ปัญหาที่คนเป็น FA เจอคือในช่วงแรกต้องพยายามฟังดูว่าคนไหนทำงานตำแหน่ง หน้าที่อะไร จึงทำให้เสียเวลา รวมถึงเลยหลักเล็กน้อยด้วย แต่เนื่องจากน้องเจ็ง (สาวน้อย Hyper) พูดขึ้นมา FA ก็ FA เถอะครับผู้ไม่ทันเลย 555 ถ้า FA รู้รายละเอียดมากกว่านี้ผมว่าเรื่องที่เล่นคงสนุกน่าดูยิ่งขึ้นครับ เห็นด้วยกับน้องแหลมครับที่บางครั้ง FA อาจจะต้องมีการประเมินสถานะการณ์ก่อนการประชุม ในกรณีนี้จะเลิกงานแล้ว ประชุมด่วนอีก เพื่อที่จะให้กระชับอาจจะต้องเตรียมประเด็น วาระ และรายละเอียดมาก่อนครับ จะทำให้การประชุม Smooth มากขึ้น

ดังนั้น FA รู้กลยุทธืต่างๆ ไว้ด้วยครับ อย่างวันนี้

"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง" ครับ :p

P
ขอขอบคุณพี่ sasinanda ค่ะ ที่เห็นด้วยกับ citrus ในประโยคที่ว่า Fa ต้องยั่วให้เขาอยากรู้ อยากเรียน แต่ Fa อย่ากลายเป็นคนถูกยั่วให้โมโหง่ายๆ จะพยายามจำประโยคนี้ให้ขึ้นใจค่ะ เพราะปกติจะโมโหง่ายมากเวลาลืมตัว จะต้องฝึกจิต ควบคุมสติให้ได้ดีกว่านี้ค่ะ แม้ว่าสถานการณ์ที่พบในห้องเรียนจะเลวร้ายกว่าเรื่องจริงมาก เราก็จะต้องผ่านมันให้ได้ค่ะ  
โอแม่เจ้า . พิมพ์ ๆ อยู่ก็หน้าจอก็หายไปซะงั้น สงสัยไม่อยากให้เอาลงในblogแน่เลย เจ็งเลยต้องมาพิมพ์ในword ก่อน (กันพลาด) สรุปแล้วเราได้ไป 2 tools (Faith&Fake / Thinking wheel&Role play) ตรง ๆ เอาไปใช้ได้เลย ไม่ได้เป็นการสอนแต่เป็นการบอกอ้อม ๆ  คำตอบจะออกมา กลาง ๆ บางคนก็ว่าถูก บางคนก็ว่าผิด แต่ในเมื่อมันเป็นมติรวม ข้อดีก็คือ คนที่มีเหตุผลก็คงยอมรับได้ง่ายขึ้น และคนที่ยึดในความคิดของตัวเองก็จะลดอคติลงได้ เจ็งว่าก็คล้าย ๆ กับ พวกธุรกิจขายตรง (ไม่แน่ใจว่าเคยไปฟังกันหรือป่าว) ทั้ง ๆ ที่ตอนเข้าไป มีทัศนคติที่เป็นลบ แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการเป็นสมาชิก วันที่สองนี่ รู้สึกดีขึ้นมาก เพราะได้ฟังสรุปจากคุณจี๊ดแต่เช้า .... มันจะเข้าใจง่ายกว่านี้สำหรับเจ็งถ้าคุยให้เข้าใจตั้งแต่วันแรก เพราะเจ็งคิดไปว่า Thinking wheel เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหมือนพวก ผังก้างปลา why-why ที่เคยรู้จักจาก QC story แต่สุดท้ายก็จบลงที่ว่าไม่ใช่ ..... เจ็งว่า keyหลัก ๆ อยู่ที่ Role play + Observer + Fac (จำแลง) ก็เหมือนเดิม ใช้หลักที่สรุปด้วยคนหมู่มาก และ เรื่องจริงที่เห็น ๆ อยู่มาสรุปสาระ ให้เข้าใจตรงกัน ไม่ระบุตัวตน ว่าใครคิดผิดหรือถูก เพราะ เข้าใจว่าจะเป็นการตอกย้ำมากเกินไป นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ที่เข้าร่วมทุกท่าน ฝึกให้มีการเปิดใจมากขึ้น เห็น และเคารพถึงความแตกต่างของแต่ละคน เจ็งว่าอาจารย์ก็เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะใจเย็นเหมือนกันแม้จะถูกป่วนจนปี๊ด ขึ้นมาบ้างบางครั้ง ..... จบลงแบบ happy ending

น้อง MJ คะ

ขอบคุณค่ะที่กลับมาเล่าให้ฟังอีก พี่ดีใจมากเลยค่ะที่เปิดประเด็นนี้ไว้ พี่คิดว่าแต่ละคนไปด้วย input ที่ไม่เหมือนกัน แม้จะเข้าไปอยู่ใน process เดียวกัน แต่ความพร้อมทางกายและใจของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน output ย่อมแตกต่าง พี่ยังเสียดายที่วันนั้นไม่มีโอกาสเป็นผู้ feedback จริงจัง เลยยังไม่ครบเครื่อง แต่ได้เป็น Fa จำแลงรู้สึกประจักษ์แจ้งในคำว่า No pain no gain ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท