ปลาทูขยายพันธุ์แล้วในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ 1)


การใช้การจัดการความรู้ในระบบการศึกษา

                ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ ระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2550 ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากทาง สกว. การรายงานครั้งนี้นำทีมมาโดย ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ผศ.ดร.ทัศนีย์ ไพฑูรย์พงษ์ และทีมนักวิจัย แต่การมาครั้งนี้ไม่ใช้เป็นเพียงการมารายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการเท่านั้น ยังมีผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่ (ดร.ปัญญา แก้วเหล็ก จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1) และโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ และ โรงเรียนปรียาโชติ) ที่ได้นำ KM ไปใช้ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอีก


สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นคือได้พบว่า ปลาทู ขยายพันธุ์อีกแล้วในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ....ทั้ง 4 หน่วยงานที่มานำเสนอนั้นได้ใช้ โมเดลปลาทู ที่ทาง สคส.ได้แนะนำไว้แต่ที่บอกว่าขยายพันธุ์ คือ เห็นได้ชัดเจนว่าทั้ง 4 หน่วยงานนั้น ไม่ยึดติดกรอบทฤษฎี จนแข็งทื่อ แต่มีการปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมและบริบทของหน่วยงานที่เดียว รายละเอียดเป็นอย่างนี้ครับ...


                   หัวปลา (KV=Knowledge Vision) คือ การกำหนดหัวข้อที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยทั้ง 4 หน่วยงานมีการพิจารณาทั้งโครงสร้างองค์การ การแบ่งกลุ่มงานต่างๆ เพื่อใช้ KM เข้าเนียนกับเนื้องาน บางหน่วยงานนำ KM ไปในเรื่องของการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานอีกด้วย โดยการทำ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์ตนเอง และเชื่อมโยง KM ให้ถึง Vision ของหน่วยงาน และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการทำงานต่อไป

                 ตัวปลา (KS = Knowledge Sharing) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แน่นอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นต้องเป็นคุณกิจ ตัวจริง หากเราคิดถึงสถานศึกษา หรือโรงเรียน แน่นอน คุณครู และ นักเรียน ต้องมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จึงมีการจัดให้มี ลปรร.แบบในกลุ่มสาระ หรือ ระดับชั้นบ้าง เรื่องการผลิตสื่อการเรียนการสอน หรือแม้กระทั้งการวิจัย แน่นอนผลที่ได้ก็ช่วยพัฒนาคุณครูให้มีความสามารถมากขึ้น ส่วนนักเรียนมีการให้มาเล่าเรื่องเทคนิค หรือวิธีการเรียนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ทำให้สามารถช่วยให้เพื่อนๆ เรียนเก่งมากขึ้น แต่ที่ผมชอบคือ มีการจัดให้มี ลปรร. ในหมู่ผู้ปกครองด้วยเพื่อหาวิธีการเลื้ยงลูกที่ดี เป็นการขยายผลจากโรงเรียนไปสู่บ้าน และแพร่กระจายเชื้อ KM ได้ดี

                หางปลา (KA = Knowledge Assets) การเก็บคลังความรู้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป จุดเด่นที่น่าสนใจคือ ทางโรงเรียนปรียาโชติ มีการจัดเก็บเรื่องเล่าลงใน E-Book ที่สามารถเผยแพร่ให้เด็กๆได้ดูกันอีกด้วย และมีการจัดทำเป็นป้ายนิทรรศการตกแต่งอย่างสวยงาม พร้อมเรื่องเล่าและรูปภาพของคนเล่า น่าดึงดูดมาก นอกจากนั้นทางโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ได้ผลผลิตของ KM ออกมาเป็น นิทานคณิตศาสตร์ บันทึกรักการอ่าน การพับกระดาษประกอบการเล่านิทาน เป็นต้น

                เห็นแล้วน่าสนใจมากับความพยายามของคุณครูทั้งหลายที่นำ KM ไปใช้ในโรงเรียน....

หมายเลขบันทึก: 90202เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2007 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

"Real Love are not for Love somebody, It for Everybody & Nobody”

 

สุขสันต์วันแห่งครอบครัว

 

รักคุณบุญรักษา ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท