IQ,EQ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


"คน" เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเติบโตขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจ การพัฒนาบุคคลากรจึงมุ่งที่จะพัฒนาให้คนประสิทธิภาพงานและคนสูงขึ้น

       ช่วงนี้ผมทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องๆที่เป็นนักศึกษา มาฝึกงานด้าน HR  ผมจึงพาน้องๆมาร่วมเรียนรู้ในโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วย ซะเลย  น้องๆเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ครับ จะมีคำถามมาถามผมวันล่ะหลายๆคำถาม เหมือนอย่างวันนี้ หลังจากเสร็จสิ้นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้ว  ผมก็ได้คุยกับน้องเพื่อสอบถามความเข้า ใจของน้องๆ แต่กลับถูกน้องๆถามซะก่อนครับ ว่า  ทำไมต้องพาพนักงานไปปฏิบัติธรรม  พร้อมทั้งคุยกันถึงแนวทางการพัฒนาพนักงาน ที่ต้องพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ..ตามสไตล์ผมครับ ใครถามคนนั้นก็ต้องเป็นคนหาคำตอบ...จึงให้น้องไปช่วยกันค้นหาคำตอบ แล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 

        พอตอนบ่ายผมก็ได้นั่งคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องๆ ซึ่งก็พอสรุปประเด็นจากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดังนี้ครับ.... 

     ......เราคงคุ้นกับคำว่า "IQ" (Intelligence Quotient)  เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาวัดว่าคนนี้ คนนั้น มีความสามารถในการเรียนรู้  หรือมีสติปัญญาฉลาดหรือโง่ขนาดไหน?  ในการสรรหาคัดเลือกบุคคลากร ก็มักจะหาเครื่องมือมาวัดหรือ ทดสอบ IQ ซึ่งเป็นการวัด ในเชิงทักษะความสามารถ ของคน หรือที่เราเรีกกันว่า คนเก่ง  ซึ่ง เป็นเรื่องที่แต่ละองค์กรมีความต้องการกันมากที่อยากจะได้คนเก่งมาร่วมงานด้วย 


               แต่พอ เอาเข้าจริงคนที่ IQ สูง บางครั้งกลับไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นได้ หรือบางทีก็ไม่สามารถเอาตัวรอดได้จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงหรือพลิกผันอย่างรวดเร็ว เราจึงจะเห็นข่าว ต่างที่ออกมา หลายๆเรื่องที่เป็นเรื่องที่เราคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้ เพราะต้นเหตุของข่าวนั้นเกิดขึ้นโดย บุคคลที่มีระดับ IQ สูงมาก..

          อาจมีความเข้าใจผิดๆ เรื่องความสำเร็จในอาชีพเสมอๆ ว่า คนที่มีระดับสติปัญญาหรือ IQ สูง จะต้องประสบความสำเร็จหรือก้าวหน้าในอาชีพได้เร็วกว่า แต่ความเป็นจริงมักพบว่าคนที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งก่อนไม่ใช่คนที่ทำงานเก่งสุดขั้ว กลับเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ และเข้ากับคนอื่นได้ดี ซึ่งเห็นชัดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของผู้นำ    ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันหลายๆองค์หันมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนา ทางด้านจิตใจ หรือ ทางด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) กันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เกิดขึ้นในตัวของพนักงานเอง  "คนเราหากเป็นคนที่รู้จักมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กับสถานการณ์รอบข้างได้ดี คนๆ นั้นจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีความสุข เพราะสิ่งที่สำคัญคือเราไม่สามารถเลือกว่าจะมีสิ่งใดมากระทบกับตัวเราบ้าง คือ เราไม่สามารถเลือกสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมได้ตลอด แต่สามารถเลือกได้ว่าจะมีปฏิกิริยาตอบรับได้อย่างไร ซึ่งแนวคิดของ EQ” 

         "คน" เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเติบโตขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจ  การพัฒนาบุคคลากรจึงมุ่งที่จะพัฒนาให้คนประสิทธิภาพงานและคนสูงขึ้น  หลายองค์กรได้นำพนักงานไปปฏิบัติ ซึ่งใช้เวลาหลายวัน หากเป็นในอดีตก็จะมองว่าการให้พนักงานหยุดงานนั้นจะทำให้องค์กรขาดรายได้ ประสิทธิผลของงานจะน้อยลง ซึ่งเป็นการมองที่มุ่งหวังแต่ผลสำเร็จทางธุรกิจในระยะสั้นเท่านั้น แต่หาได้เกิดผลต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนไม่  

         การนำพนักงานไปฝึกปฏิบัติธรรม ผลที่เปลี่ยนแปลงคือพนักงานมีความนิ่ง มีสติในการทำงานมากขึ้น แม้ว่าสภาวะแวดล้อมของงานไม่ได้เปลี่ยนไปแต่ใจจะเย็นและสงบขึ้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนภายใน เมื่อเข้าปฏิบัติธรรมแล้ว คนจะปล่อยวางมากขึ้น พนักงานจะใกล้ชิดและกล้าเดินเข้ามาคุยกับหัวหน้าแล้วช่องว่างของการสื่อสารจะน้อยลง  ผลที่เห็นได้ชัดเจนคือ เรื่องงานที่ได้ผลขึ้น พนักงานได้บริหารจิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งในอนาคตอาจจะประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น 

          ฉะนั้นการที่จะทำให้องค์กรพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่ ตัวบุคคลากร ขององค์กร ทั้งการพัฒนาทางด้านทักษะ ความรู้ความสามารถ (IQ) และทางด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (EQ) ไปพร้อมๆกัน ดังที่กล่าวกันว่า องค์กรจะต้องมีทั้ง คนเก่ง และคนดี  พูดง่ายว่า มีคนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีคนดี ด้วย .....

      ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้อง นักศึกษาฝึกงาน จะถูกหรือผิดอย่างไร ก็กรุณาชี้แนะ หรือเพิ่มเติม เพื่อเป็นความรู้ให้ด้วยนะครับ ..          

หมายเลขบันทึก: 89998เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ คุณ ภูคา

  • ดิฉันชอบบันทึกนี้มากค่ะ  และชอบที่กล่าวว่า

"เราไม่สามารถเลือกสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมได้ตลอด แต่สามารถเลือกได้ว่าจะมีปฏิกิริยาตอบรับได้อย่างไร ซึ่งแนวคิดของ EQ” 

  • จริงอย่างที่บอกค่ะ   ฉันเห็นคน(ที่คิดว่าตัวเอง)เก่ง...ทำท่าว่ารู้ดี  รู้มากกว่าผู้อื่น  ดูถูกความคิดผู้อื่น...แต่ดูเหมือนเขาจะเข้าสังคมยาก...ไม่ค่อยมีใครคบ...น่าสงสารคนเก่งเหล่านั้นค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆค่ะ
มาชอบบันทึกนี้เช่นกันค่ะ....ขอบคุณค่ะขออ่านอีกหลายๆรอบนะคะ

อ่านแล้วทำให้นึกถึง ท่านพุทธทาส ที่เคยพูดถึง การพัฒนาคนเพื่อเข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ค่ะ เคยบันทึกไว้ที่นี่

 

ขอบคุณทุกท่านครับ

  • คุณ กฤษณา สำเร็จ ปัจจุบันคนเก่งมีมาก แต่ก็ปรับตัวได้ยาก เพราะต่างคนต่างเก่ง ทำให้ต่างคนก็ต่างความคิดที่ ไม่สามารถหาข้อยุติได้ สุดท้ายแล้ว เราต้อง สร้างคนให้มีทั้งความเก่ง และความดี ครับ..
  • คุณ เมตตา ..ขอบคุณมากครับ
  • คุณ พัชรา ผมเองก็ใช้แนวคำสอนของท่านพุทธทาส เป็นแนวคิดในการออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาพนักงานเช่นกันครับ เพราะเรามีแนวทางการพัฒนาที่ มุ่งเน้นการพัฒนาที่ "ใจ" ก่อนครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท