ความสมบูรณ์ของ “บัณฑิต”


ผู้ที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะให้มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณ (Spiritual development)ผมหมายถึงเมื่อจบการศึกษาเป็นบัณฑิตแล้วต้องรู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่นให้มากขึ้น และรักสรรพสิ่งให้มากขึ้น เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข แต่หากคนเราขาดความสมบูรณ์ในตัวแล้ว เราก็จะหาสิ่งนอกตัวมาเติมให้เต็ม อย่างเช่น ยาเสพติด , หลุยส์วิตตอง , วอร์ซาเช่ พวกวัตถุนิยมทั้งหลาย ฉะนั้นการที่บัณฑิตมีความพร้อมที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ก็จะต้องพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม

         ผมมองว่า บัณฑิตคือ ผู้ที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะให้มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณ (Spiritual development) ผมหมายถึงเมื่อจบการศึกษาเป็นบัณฑิตแล้วต้องรู้จักตัวเอง   เข้าใจผู้อื่นให้มากขึ้น  และรักสรรพสิ่งให้มากขึ้น   เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข  แต่หากคนเราขาดความสมบูรณ์ในตัวแล้ว เราก็จะหาสิ่งนอกตัวมาเติมให้เต็ม  อย่างเช่น ยาเสพติด , หลุยส์วิตตอง , วอร์ซาเช่  พวกวัตถุนิยมทั้งหลาย    ฉะนั้นการที่บัณฑิตมีความพร้อมที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์      ก็จะต้องพร้อมทั้งด้านร่างกาย    จิตใจ   สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
        การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น ผมขอเรียนว่านับเป็นภารกิจหลักที่สำคัญมาก  นอกจากเป้าหมายเชิงความคิดแล้ว     มหาวิทยาลัยยังเน้นการผลิตบัณฑิตตามความต้องการของประเทศชาติเป็นหลัก    ทั้งสาขาแพทยศาสตร์และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพราะว่าสาขานี้ขาดแคลน  กลุ่มสังคมศาสตร์ บางสาขา เช่น ภาษา การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว การบริหารจัดการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน      และกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี      เน้นเรื่องการผลิตบุคลากรด้านไอที   พวกวิศวกรรม  ฉะนั้นการผลิตบัณฑิตในอนาคตต้องมองสิ่งเหล่านี้   ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น   ในการผลิตบัณฑิตเพื่อไปทำงานตามสถานที่ต่างๆ ถือว่าเป็นภาระสำคัญ เพราะว่าตอบสนองกับรัฐธรรมนูญเรื่องการกระจายอำนาจ เราจะต้องเตรียมบุคลากรสาขาต่างๆ เพื่อลงไปทำงานในชุมชน    ในระยะไกลๆ การสร้างศักยภาพของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นการแก้ปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง  เพราะตราบใดที่สร้างความสำคัญหรือความสามารถของบุคลากรในองค์กรระดับล่าง   ก็จะทำให้ลดปัญหาความยากจนลงได้
        ส่วนการผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงานต่างประเทศ มหาวิทยาลัยได้มุ่งเน้นและเข้มงวดในเรื่องของภาษาอังกฤษ จีน โดยจะเสริมอาจารย์เกือบเท่าตัวทางด้านภาษา  และจะมีการปรับหลักสูตรให้สอดรับต่อไป  มหาวิทยาลัยถือว่าอะไรไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของอาจารย์ เพราะว่าเป็นเหมือนแม่พิมพ์  ผมคิดว่าคุณภาพบัณฑิตจะดีไม่ได้   ถ้าคุณภาพอาจารย์ไม่ดีพอ   เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยจึงมุ่งไปที่การพัฒนาอาจารย์อย่างเข้มงวด   โดยใช้กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นตัวชี้วัด   ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีความคาดหวังและตั้งเป้าว่า    อยากจะอยู่  1   ใน 10   ของมหาวิทยาลัยในเมืองไทยที่มีอยู่เกือบสองร้อยแห่ง   องค์ประกอบในการจัดอันดับก็คงประกอบด้วย คุณภาพของอาจารย์   งานวิจัยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา คุณภาพของบัณฑิต  การได้งานของบัณฑิต สื่อการเรียนการสอน   การยอมรับของชุมชน  ความพึงพอใจและการตอบรับจากผู้ใช้บัณฑิต  รวมทั้งงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ  ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ได้ประเมินภาพรวมให้เราอยู่ในอันดับ  15 ในปี พ.ศ.2548  และ นิตยสารไทม์ในส่วนของ Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับโลก  โดยประเภทมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ บริหารธุรกิจ การจัดการ และเศรษฐศาสตร์      (Humanity and Social Science Ranging)  มีมหาวิทยาลัยไทยผ่านเกณฑ์      24 มหาวิทยาลัย ซึ่ง ม.นเรศวรอยู่ในอันดับที่ 14
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีนี้ ผมขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่พึ่งพาของชุมชนและสังคมได้  ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น     ขอให้มีหลักคิดในการทำงาน  โดยมีความตั้งใจขยันหมั่นเพียร พยายามใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ  อยู่ตลอดเวลาเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถก้าวทันสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี

                           ม.นเรศวรสัมพันธ์ : คอลัมน์"อธิการบดีสนทนา"
                                          ประจำเดือนมกราคม  2549

หมายเลขบันทึก: 89918เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • จนบัดนี้เกรดยังออกไม่ครบเลยครับ
  • ทั้งที่เลยช่วงส่งเกรดมานานมากแล้ว
  • ขอบคุณครับ

ผมอยากให้อาจารย์เน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพราะดูแล้วมน.จะเปิดสอนหลายปริญญาและสขาที่ตนไม่ค่อยถนัดและไม่มีพื้นฐานที่ดีเช่นการพัฒนาอาจารย์ การวิจัยเป็นต้น การเป็น Comprehensive University เป็นแนวคิดที่ดีแต่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพอสมควร

จะเห็นได้ว่าบัณฑิตที่จบจากมน.หางานทำยาก ไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ เพราะถามอะไรที่แม้แต่เป็นความรู้พื้นฐานสำคัญของปริญญาที่จบมาก็ไม่รู้เรื่อง จนถูกมองว่าจบจากมหาวิทยาลัยชั้นสองไม่ต่างกับพวกที่จากราชภัฏ

- เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอธิการในฐานะเคยเป็นศิษย์เก่าป.โท (บริหารการศึกษา) ในฐานะผู้ปกครอง (ลูกชายกำลังเรียนป.โท)และในฐานะครูที่มีนักเรียนที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ไปศึกษาต่อที่ มน.แต่ละปีเกือบร้อยคน

- นักเรียนที่โรงเรียนเช่นเดียวกันครับท่านอธิการที่ติดแพทย์มน.แล้วยังไม่พอใจต้องดิ้นรนไปแพทย์ที่กรุงเทพ หรือมช. ผู้ปกครองมักจะแนะนำให้ลูกเรียนในมหาวิทยาลัยที่เปิดมานานแล้วมากกว่า ทั้งๆที่ขณะนี้คณะแพทย์ของมน.เองก็มีชื่ออยู่ในระดับต้นๆของประเทศก็ตาม คงต้องใช้เวลาบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท