จ้างคนนอกเขียนโปรแกรม


เอาท์ซอร์สซิ่ง (Outsourcing) ในจังหวัดลำปางมีผู้ชำนาญอยู่ไม่น้อยที่สามารถรับพัฒนาระบบงาน ฐานข้อมูล เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรืออีเลินนิ่ง โดยมีค่าตอบแทนไม่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับมืออาชีพในกรุงเทพฯ
 
ศัพท์เทคนิคของการจ้างผู้มีความชำนาญจากภายนอกเข้ามาพัฒนาระบบ หรือโปรแกรมเฉพาะด้านสำหรับองค์กร คือ เอาท์ซอร์สซิ่ง (Outsourcing) ในจังหวัดลำปางมีผู้ชำนาญอยู่ไม่น้อยที่สามารถรับพัฒนาระบบงาน ฐานข้อมูล เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรืออีเลินนิ่ง โดยมีค่าตอบแทนไม่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับมืออาชีพในกรุงเทพฯ ผู้ชำนาญแบ่งได้เป็นหลายกลุ่มทั้งนักศึกษา พนักงานในองค์กรอื่น หรือโปรแกรมเมอร์อิสระ
ครั้งหนึ่งลูกศิษย์ของผู้เขียนคนหนึ่งเข้ามาขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาการรับงาน เป็นปัญหาร้ายแรงถึงขั้นต้องคืนเงินค่าพัฒนาระบบทั้งหมดที่เคยทำมากว่า 2 ปี เพราะ ใช้อารมณ์ชั่ววูบ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ขาดการสื่อสารอย่างเป็นระบบ การไม่ยึดมั่นในกระบวนการ และการไม่ให้ความสำคัญกับหลักฐานเอกสาร เมื่อผู้เขียนนำปัญหามาร่วมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ถนอม คณิตปัญญาเจริญ ที่มีประสบการณ์ในการรับงานมาหลายระบบ หลายระดับ และหลายภาษา จึงได้ข้อมูลว่าการรับงานต้องมีการเซ็นสัญญารับงาน ประกอบด้วยรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการป้องกันการบานปลายของงาน และเซ็นรับงานหลังพัฒนาเสร็จสิ้น ป้องกันปัญหาการร้องขอในภายหลังอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าต้องการเพิ่มจากที่ตกลงไว้ก็ต้องทำสัญญาใหม่ และจ่ายเพิ่ม
สำหรับผู้รับงานควรพิจารณาผู้ว่าจ้างที่มีความเข้าใจในตัวระบบ รู้ความต้องการขององค์การ และความชัดเจนในสายการบังคับบัญชา ผู้รับงานไม่ควรรับงานที่ความต้องการ และรายละเอียดยังไม่ชัดเจน ควรนำเสนอกรรมวิธี เครื่องมือ ระยะเวลา เอกสารแสดงการออกแบบระบบใหม่ ก่อนเซ็นสัญญาว่าจ้าง เพราะปัญหาจะเกิดได้ ถ้าไม่มีการกำหนดความต้องการอย่างชัดเจน ผู้ว่าจ้างอาจเพิ่มหรือเปลี่ยนรายละเอียดในระบบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ระบบอาจถูกเปลี่ยนแปลงจนบางครั้งซับซ้อนเกินกว่าจะแก้ไขจากที่ออกแบบในครั้งแรก ทำให้ผู้ว่าจ้างที่ไม่เข้าใจในกรรมวิธี รู้สึกผิดหวังต่อผลงานที่เกิดขึ้น การนำเสนอวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle) โดยมีเงื่อนไขด้านเวลา และกรรมวิธีมาเป็นเครื่องมือควบคุม จะช่วยผู้ว่าจ้างให้เข้าใจ และใส่ใจในขั้นตอนการพัฒนาระบบของตนยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ว่าจ้างควรประชุมกับผู้ใช้ในองค์การทั้งหมด จัดทำแผนตามนโยบาย และกำหนดกรอบของความต้องการให้ชัดเจนก่อนเลือกผู้รับงาน เพื่อให้ผู้รับจ้างเข้ามาจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนของงาน ศึกษาความต้องการกับผู้ใช้ทั้งหมด กำหนดรายละเอียดก่อนเริ่มต้นว่าจ้าง และบทลงโทษในกรณีมีปัญหาที่มีความยุติธรรม บนค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ผู้ว่าจ้างต้องเข้าใจว่าของถูก และดีไม่มีในโลก แล้วงาน Outsourcing ก็จะสำเร็จลงอย่างราบรื่น ผู้ว่าจ้างได้รับงานที่ถูกต้องตามแผน จากกระบวนการที่ถูกต้อง บนต้นทุน และเวลาที่กำหนด
คำสำคัญ (Tags): #outsource#จ้างคนนอก
หมายเลขบันทึก: 89796เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ในหน่วยงานเคยเจอปัญหาแบบเดียวกันเลยค่ะ แล้วเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่ ICTเขียนแทนการจ้างคนนอก ปรากฏว่าตอนนี้ ICT จะแย่แล้วเพราะปรับเปลี่ยน ปรับเพิ่มกันอยู่นั่นเอง ปีนึงแล้วยังไม่สำเร็จเลยค่ะแถมเงินเดือนเท่ากับลูกจ้างชั่วคราวทั่วไปค่ะ เลิศมั้ยค่ะ
สุขสันต์วันสงกรานต์ and สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ

ผมว่าปัญหาหลักๆ เลยคือ ผู้จ้างไม่ทราบว่าตนต้องการอะไรกันแน่

การทำสัญญาจ้างก็ดีครับ เป็นหลักประกันที่ดีให้ได้ทั้ง 2 ฝ่าย

 

อ่านบทความแล้ว...น่าสนใจดีนะคะ เพราะตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบให้กับหน่วยงานราชการที่สังกัดอยู่ ไม่แค่นั้นก็ยังต้องเขียนโปรแกรมให้หน่วยงานด้วยเช่นกัน

หน่วยงานที่ทำอยู่...ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ จากการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานจากความต้องการของบุคลากรในหน่วยงาน อย่าคาดหวังถึงค่าตอบแทนเลย ขั้นพิเศษก็ไม่เคยได้รับ แถมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ก็ต้องรออีก 6 ปี เพียงแค่เราเพิ่งมีวุฒิ ปฏิรูประบบราชการไปก็ได้แค่นี้

สิ่งที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้บุคลากรของหน่วยงานวิเคราะห์และพัฒนาโปรแกรม ก็คือเค้าจะพัฒนาได้ตรงจุดมากที่สุด และสนองต่อความต้องการของหน่วยงานเต็มที่... โปรแกรมไม่ว่าจะเป็นจากการพัฒนาของบุคลากรหรือบุคคลภายนอก ก็จะต้องมีการปรับแก้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าคุณจะวิเคราะห์ระบบมาดีแค่ไหนก็ตาม เพราะแม้กระดาษ OS ปัจจุบันที่พวกคุณใช้กัน เค้าก็ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แต่ที่คงจะเรียกได้ว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือค่าตอบแทนที่บุคคลสองฝ่ายจะได้รับนั่นเอง... ใช้บุคลากรของหน่วยงานเต็มศักยภาพของเค้าแล้ว อย่าลืมหันไปมองปากท้องเค้าบ้าง ไม่งั้นองค์กรของรัฐจะไม่มีคนมีฝีมือเหลืออยู่อีกเลยนะคะ

ขอแก้ข้อความนิดนะคะ โพสไปผิดนิดหน่อยคะ 

อ่านบทความแล้ว...น่าสนใจดีนะคะ เพราะตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบให้กับหน่วยงานราชการที่สังกัดอยู่ ไม่แค่นั้นก็ยังต้องเขียนโปรแกรมให้หน่วยงานด้วยเช่นกัน

หน่วยงานที่ทำอยู่...ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ จากการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานจากความต้องการของบุคลากรในหน่วยงาน อย่าคาดหวังถึงค่าตอบแทนเลย ขั้นพิเศษก็ไม่เคยได้รับ แถมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ก็ต้องรออีก 6 ปี เพียงแค่เราเพิ่งมีวุฒิ ปฏิรูประบบราชการไปก็ได้แค่นี้

สิ่งที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้บุคลากรของหน่วยงานวิเคราะห์และพัฒนาโปรแกรม ก็คือเค้าจะพัฒนาได้ตรงจุดมากที่สุด และสนองต่อความต้องการของหน่วยงานเต็มที่... โปรแกรมไม่ว่าจะเป็นจากการพัฒนาของบุคลากรหรือบุคคลภายนอก ก็จะต้องมีการปรับแก้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าคุณจะวิเคราะห์ระบบมาดีแค่ไหนก็ตาม เพราะแม้ขนาด OS ปัจจุบันที่พวกคุณใช้กัน เค้าก็ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แต่ที่คงจะเรียกได้ว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือค่าตอบแทนที่บุคคลสองฝ่ายจะได้รับนั่นเอง... ใช้บุคลากรของหน่วยงานเต็มศักยภาพของเค้าแล้ว อย่าลืมหันไปมองปากท้องเค้าบ้าง ไม่งั้นองค์กรของรัฐจะไม่มีคนมีฝีมือเหลืออยู่อีกเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท