ได้ทุกเรื่อง


                     ระหว่างรอภรรยาประกอบอาหารมื้อค่ำ ๆ นี้ เวลาคลาดเคลื่อนมา เพราะภรรยาพาบุตรสาวไปทำฟัน  ได้รับข้อหารือจากน้อง ๆ เกี่ยวกับกิจกรรม

                     ได้บอกไปว่า สำหรับพี่ได้ทุกเรื่อง ขอให้ตั้งอกตั้งใจทำงาน  ไม่ชอบจด ๆ จ่อง ๆ และขอให้บันทึกการทำงานไว้ด้วย งานด้านมนุษยวิทยา ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนา ฯลฯ

                     ขึ้นชื่อว่างาน ฯลฯ  แน่นอนยอมมีผู้รู้  ผู้ทรงภูมิความรู้หลาย ๆ ด้าน ได้พูดไปในที่ประชุมเมื่อ 5 เม.ย.ศกนี้ ว่า ดีใจที่ได้รับการสนับสนุน แต่จะเสียใจหากผู้รับผิดชอบเกรงผิด โดยไม่ยอมลงมือทำงานใด ๆ  ( ไม่ทำอะไรไม่ผิด ) หากมีเราเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว จะไม่สบายใจอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องต่อว่า และให้มีการขับเคลื่อน

                     เร็วก็ไม่ดี ช้าก็ไม่ดี ที่ดีคือพอดี ทางสายกลาง โดยมีกรอบความคิด แนวทางปฏิบัติภายใต้ความตั้งใจดี ปรารถนาดีต่อกัน  ภายใต้เรื่องราวในชีวิตของพวกเราอันที่จริง  ทุกวันต่างเดียวด้วยหลาย ๆ เรื่อง  เราไม่ต้องไปกังวลอะไร  ได้ทุกเรื่องครับ  

หมายเลขบันทึก: 89604เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • การขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยความถ่อมใจและอดทน  ก็จำเป็น
  • แน่ชัดในเป้าหมายยิ่งจำเป็น  หมายความว่ารู้ข้อมูลพื้นฐานมาเต็มที่แล้ว
  • งานทางสังคมนั้นผมว่าเราต้องช่วยกันทำ  ไม่ใช่มาแบกคนเดียว
  • นั่นหมายความว่าการสื่อสารก็มีความจำเป็นเช่นกันครับ  เพื่อจะให้หลายคนช่วยกันทำ
  • ความโปร่งใส  สัตย์ซื่อ  เรื่องเงินทองก็สำคัญครับ
  • แล้วผลสำเร็จะออกมาแบบว่า
  • "เป็นความสำเร็จของพวกเรา"
  • งานแบบนี้จึงไม่มีศิลปินเดี่ยวครับ

              ยินดีครับกับการมาทักทายและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเต็ม เพราะจำเป็นอย่างยิ่ง

              การเป็นศิลปินเดี่ยวที่กล่าว  ทำให้นึกถึงข้อคิดสะกิดใจที่เอกอัครราชฑูตไทยประจำญี่ปุ่นเคยให้ไว้แล้วหนังสือ สารคดี เอามาตีพิมพ์

               ผมสนใจคำกับคำว่า เป็นความสำเร็จของพวกเรา  แบบนี้ไม่มีผู้นำตบอก  ทำอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็บอกว่า เพราะข้าฯ นี่ล่ะ แล้วแสดงอาการตบอกให้คนอื่นชม  ตบบ่อย ๆ จะช้ำใจตาย ( เคยพูดหยอกล้อ เพื่อสติสังคม )

  • โอ๊ย! เจ็บอกหมดเลย
  • อีกสาเหตุ
  • อาจจะอกหักซ้ำซากก็ได้  ใครจะไปรู้ ฮา...
ชัดเจนครับ

                  นั่งรับประทานอาหารกับพี่สุเมษ เมื่อเที่ยงวานนี้ ได้ข้อคิดมากมาย  สารพัดเรื่องราว

                  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว ใครช่วย เข้าตอนนี้อยู่ที่ไหน ที่ส่งข้าวขึ้นไป นำข้าวมาเปลี่ยน ๆ แล้วอยู่ที่ไหน  รับภาระกันไปหมด

                   เรื่องน้ำก็ไม่ธรรมดา หากเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในพื้นที่บอกว่า ไม่รู้จะทำไปทำไม  ที่ผ่านมา เขาก็ป่วยแบบนี้  ถือเป็นเรื่องธรรมดา วางเฉยหรือที่เรียกว่า เกียร์ว่าง   แล้วพวกที่ดิ้น ๆ อยู่  คงเป็นพวกประหลาด  

http://www.m-society.go.th/news/mbdetail.php?id=M0201440

     
ข่าววันที่ : 2/05/2007  เวลา 17:31 น.
     
หัวข้อข่าว : "พม. จัดเวทีประชาคม “เหลียวหลังแลหน้าสืบทอดพลังกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนาสังคมไทย”"   
       
 

           วันนี้ (2 พ.ค.2550)  ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว  จ.เชียงใหม่  นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เป็นประธานเปิดเวทีประชาคม “เหลียวหลังแลหน้าสืบทอดพลังกลุ่มชาติพันธ์เพื่อการพัฒนาสังคมไทย”  เพื่อเป็นเวทีในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการหาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์  โดยมีผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ กลุ่มชุมชนบนพื้นที่สูง  ส่วย  ภูไท  บรู  ไทยซ่งดำ  มอญ  เขมร  และกลุ่มชุมชนมอร์แกน เข้าร่วม
           นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กล่าวว่า  จากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เมื่อปี 2545  พบว่ามีการกระจายตัวของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ บนพื้นที่สูง 20 จังหวัดในประเทศไทย จำแนกเป็นกลุ่มชาวเขา ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง  แม้วหรือม้ง  เย้าหรือเมี้ยน  อีก้อหรืออาข่า  มูเซอหรือลาหู่  ลีซอหรือลีซู  ล๊วะ  ถิ่น  ขมุ  และ มลาบรีหรือตองเหลือง กระจายตัวในพื้นที่ 3,429 กลุ่มบ้าน จำนวน 164,637 หลังคาเรือน  186,413 ครัวเรือน  923,257 คน  กลุ่มชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ปะหล่อง  ตองสู้  ไทยลื้อ  จีนฮ้อ  ไทยใหญ่  เขมร  จีน  มอญ  พม่า  ลาว  และจีน  มีการกระจายตัวในพื้นที่ 210 กลุ่มบ้าน 11,802 หลังคาเรือน  13,221 ครอบครัว  จำนวน 67,172 คน  และกลุ่มคนไทยพื้นราบที่อาศัยทำกินบนพื้นที่ราบสูง ในพื้นที่ 847 กลุ่มบ้าน  จำนวน 50,257 หลังคาเรือน  52,945 ครอบครัว  รวม 212,720 คน  ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวต่างก็มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษาพูด และรูปแบบการแต่งกาย เป็นลักษณะเฉพาะตัวเอง แตกต่างอย่างชัดเจนกับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ในสังคม  โดยสถานะภาพของกฎหมายแล้วถือว่าเป็นพลเมืองไทยคนหนึ่ง มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลายพึงได้รับการปฏิบัติ คุ้มครองจากกฎหมายเช่นเดียวกัน 
           นายแพทย์พลเดช  กล่าวต่อไปว่า  อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศที่เน้นภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก  รวมทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ  ก่อให้เกิดการอพยพเข้าสู่สังคมเมือง  การเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว  บางชุมชนประเพณี วัฒนธรรม หรือแม้แต่วิถีชีวิตของคนในอดีตบางอย่างได้ถูกเลือนหายไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงต้องมุ่งให้เกิดความสมดุลและความยั่งยืนในทุกชุมชน โดยให้ทุกชุมชนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รู้ที่จะเลือกผสมผสานระหว่างความทันสมัยเข้ากับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์  โดยมิให้ความเป็นเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแม้แต่ความภาคภูมิใจในอดีตของตนเลือนหายไป  ซึ่งการจัดเวทีประชาคมครั้งนี้ ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการหาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนการสืบสานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
           “ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีศักยภาพจะต้องเป็นชุมชนที่เข้มแข็งอันเกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชน มีการร่วมคิดร่วมเรียนรู้บนฐานทรัพยากร ความรู้ และภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน  เพิ่มพูนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทางสังคมระหว่างคนในชุมชน  รวมทั้งสามารถบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากทุนทางเศรษฐกิจ  ทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละกลุ่มชาติพันธ์  โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้สนับสนุน”  นายแพทย์พลเดช  กล่าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท