เคล็ดลับ ทำไมบางองค์กรจึงใช้ KM เก่ง


   
    วันที่ ๓๑ มี.ค. ๕๐ นั่งรถไปกับ อ. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำและ ดร. วัลลา ตันตโยทัย โดยมีสามีของ อ. ไพฑูรย์ เป็นสารถี   เราจึงคุยกันเรื่องการเอา KM ไปใช้โดยหน่วยงานต่างๆ    ได้รับรู้เรื่องความสำเร็จของ รพ. พิจิตร    ที่วิธีคิดและวิธีการ ลปรร. เพื่อการพัฒนางานประจำ    ช่วยให้ผ่านการรับรองของ พรพ. (HA) เมื่อเร็วๆ นี้

     เจ้าหน้าที่เห็นคุณค่าของกระบวนการ ลปรร. ถึงขนาดนัดมาจัดวง ลปรร. กันในวันหยุดเสาร์อาทิตย์    เขาไม่คิดว่าเป็นการเสียเวลา แต่เห็นว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้    เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และต่องานของตน    น่าชื่นชมจริงๆ   

    รพ. อยุธยา กำลังจะไปดูงานที่ รพ. พิจิตร  

    เราคุยกันเชิงเล่าเรื่อง ตีความ ปรึกษา และนินทา ไปพร้อมๆ กัน    เพื่อหา KSF (Key Success Factors) ของความสำเร็จ  ในการเอา KM ไปใช้พัฒนางาน

     KSF อย่างหนึ่งคือการมี "ผู้นำ" (champion) คนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง   ที่ปิ๊ง KM    เข้าใจ KM ลึกในระดับที่รู้ว่า เป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ใฝ่ฝัน   จึงตีความ KM เข้ากับสภาพความเป็นจริงขององค์กร

      ผมมองว่า "ผู้นำ" เหล่านี้ทำ mapping องค์กรของตนเพื่อเตรียมใช้ KM โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว    เป็นการทำ Mapping Phase ของการประยุกต์ KM อย่างผู้ชำนาญ    คือทำอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้จิตสำนึก

     ผมตีความต่อว่า หลายองค์กรที่ผู้บริหาร หรือทีมแกนนำ ต้องการเอา KM ไปใช้    แต่ไม่สำเร็จ    น่าจะเป็นเพราะไม่ได้ทำ Mapping Phase    จึงไม่สามารถออกแบบกระบวนการที่จะ "กำซาบ" KM เข้าไปในงานประจำ    กิจกรรม KM จึงมีสภาพเป็นงานหรือภาระที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง     ผู้คนภายในองค์กรก็จะปฏิเสธ KM 

    KSF สองตัวแรก คือ "ผู้นำ" (champion)   กับการทำ Mapping Phase ของระบบนิเวศความรู้ขององค์กร

วิจารณ์ พานิช
๓๑ มี.ค. ๕๐
ม. บูรพา  บางแสน

คำสำคัญ (Tags): #kmวันละคำ
หมายเลขบันทึก: 88541เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท