เก็บมาเล่าจากกิจกรรม CoP วิจัยฯ


จากการทำกิจกรรมครั้งแรกของ CoP งานวิจัยแพทย์ประจำบ้าน เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 50 โดยมีหัวหน้าภาควิชา หรือตัวแทน ที่เข้าร่ามกิจกรรมทั้งหมด 10 ภาค (จาก 12 ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง) คือ ศัลยฯ สูติ-นรีเวชฯ กุมการฯ ออร์โธฯ จักษุ หูคอจมูก วิสัญญีฯ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสี และ เวชศาสตร์ชุมชน ขาดไป 2 ภาคฯ คือ อายุรศาสตร์ และจิตเวช  รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่
มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น ที่ทำให้ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มีผลงานการตีพิมพ์ของ แพทย์ประจำบ้านมากที่สุด (best practice)


ประเด็นแรกก็คือ

แพทย์ประจำบ้านมีการรับทราบว่า สามารถนำผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วส่งสอบบอร์ดแทนการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้น


ประเด็นที่สอง

การสนับสนุนของภาควิชาฯ ซึ่งมีหลายอย่าง แต่ที่น่าสนใจคือการสร้างความร่วมมือระหว่าง นศ. ป โท คณะสาธารณะสุขศาสตร์ (ซึ่ง นศ. จะต้องมีประสบการณ์ให้คำแนะนำเรื่องสถิติการวิจัย) ให้มาร่วมให้คำปรึกษาเรื่องสถิติแก่แพทย์ประจำบ้าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย


ประเด็นที่สาม

การส่งเสริมของราชวิทยาลัยสูติแพทย์ฯ เป็นราชวิทยาลัยตัวอย่างที่สนับสนุนให้สมาชิกมีการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรม โดยทำความตกลงกับวารสาร จพสท ที่จะหางานวิจัย มาลงอย่างสม่ำเสมอใน section ของทางสูติฯ


นอกจากนั้น ภาควิชาฯ ยังมีการ ดูแล กำกับ และติดตาม อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านสำเร็จได้ตามเป้าหมาย


จึงนับเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง


หมายเลขบันทึก: 88464เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท