วิธีการกันกรองข่าวสารในอิสลาม


อิสลามให้ความสำคัญกับการรับฟังข่าวสารเป็นพิเศษ เพื่อลีกเลี่ยงความผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม

            การรับฟังข่าวสารตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุหรือหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าข่าวสารเหล่านั้นจะจริงหรือเท็จ ต่างก็ให้ผลกับชีวิตความเป็นอยู่ในทางลบหรือทางบวก อิธิพลของข่าวสารสามารถที่จะสร้างสังคมนิยม  อำนาจของข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ทางสื่อต่างๆสามารถที่จะสร้างรความเป็นหนึ่ง หรือสร้างความแตกแยกในสังคม มีคดีนับไม่ถ้วงต้นเหตุมาจากข่าวลือที่ไม่มีมูลที่เป็นจริง กว่าจะรู้ว่าเป็นแพะรับบาปก็สายเกินที่จะแก้ สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องในการกันกรองข่าวสาร หรือความรีบร้อนในการที่จะแสดงผลงาน 

           อิสลามให้ความสำคัญกับการรับฟังข่าวสารเป็นพิเศษ เพื่อลีกเลี่ยงความผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ด้วยเหตุนี้อิสลามได้วางเงื่อนไขในการรับฟังและยอมรับข่าวสาร ซึ่งมี 5 เงื่อนไขหลักดั่งนี้ 

1.     มีความต่อเนื่องในการรับฟังข่าวสาร ข่าวสารที่ถูกเผยแพร่จำเป็นที่จะต้องรับฟังจากสื่อโดยตรง ไม่ขาดสาย จากคนแรกที่รับฟัง หรือดูเหตุการจนคนสุดท้ายต้องมีความต่อเนื่อง หากช่วงไหนช่วงหนึ่งขาดไปถือว่าข่ารสารดั่งกล่าวมีความน่าเชื่อถือน้อยนิด ต้องมีพยาน หรือบุคคลอื่นมาให้การยืนยันว่าเป็นจริงถึงจะรับได้

2.     สื่อหรือคนที่เผยแพร่ข่าวสารต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของสื่อหรือคนที่เผยแพร่ข่าวสารจำเป็นอย่างยิ่ง หากมีความบกพร่องในส่วนนี้ เช่นเคยเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นเท็จ หรือเคยเผยแพร่ข่าวสารที่กรุขึ้นมาเอง ข่าวสารที่ออกมาจากแหล่งดั่งกล่าวถือว่าโมฆะรับไม่ได้เลย

3.     ไม่มีความผิดพลาดในการเผยแพร่ข่าวสาร ตัวบุคคลหรือสื่อนั้นจะต้องไม่เคยผิดพลาดในการเผยแพร่ข่าวสาร สมมุติบุคคลคนหนึ่งรับฟังข่าวสารจากแหล่งที่เผยแพร่  แต่ไปผิดพลาดในการเผยแพร่ ซึ่งแหล่งเดิมว่าอย่าง แต่ไปเผยแพร่อีกอย่าง หากมีการผิดพลาดบ่อยครั้ง ข่าวสารที่มาจากสื่อหรือบุคคลดั่งกล่าวไม่สามารถที่จะรับได้ จนกว่าจะมีการยืนยันจากสื่อหรือบุคคลคนอื่นที่น่าเชื่อถือว่าจริงจึงจะรับได้

4.     ไม่ขัดกับสื่อหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือกว่าในการเผยแพร่ข่าวสาร การรับฟังข่าวสารจากหลายๆแหล่ง ยิ่งแหล่งเหล่านั้นมีความขัดแย้งกัน แต่เผยแพร่ข่าวสารเดียวกันที่ไม่มีการขัดแย้งซึ่งกันและกัน แสดงให้เห็นว่าข่าวสารดั่งกล่าวมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก แต่หากสื่อใดสื่อหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีการขัดแย้งในการเผยแพร่ข่าวสารกับสื่อหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือกว่า ข่าวสารดั่งกล่าวถือว่าโมฆะรับไม่ได้เลย

5.     มีเหตุบางอย่างที่ทำให้ข่าวสารไม่สามารถที่จะรับได้  ข่าวสารที่ถูกเผยแพร่โดยสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เคยผิดพลาด ไม่มีการขัดแย้งกับสื่อที่มีความน่าเชื่อถือกว่า ถูกเผยแพร่มาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่มีเหตุใด้เหตุหนึ่งมากีดกั้นความน่าเชื่อถือของข่าวสารดั่งกล่าว หากมีเหตุบางอย่างที่ทำให้ข่าวสารไม่สามารถที่จะรับได้ เราก็จะไม่รับข่าวสารนั้นๆ เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือในตัว สมมุติว่าข่าวหนึ่งข่าวใดถูกเผยแพร่จากแหล่งหนึ่ง แต่พอไปตรวจสอบจริงๆปรากฎว่าผู้คนที่ทำงานภายในแหล่งข่าวสารดั่งกล่าวมีการขัดแย้งในการให้การ ทั้งๆที่ข่าวสารมาจากแหล่งเดียว นี้เป็นเหตุหนึ่งที่บงบอกว่าข่าวสารดั่งกล่าวไม่น่าเชื่อถือ 

       เงื่อนไขทั้งห้าที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเงื่อนไขที่นักวิชาการอิสลามใช้ในการกันกรองข่าวสารเพื่อรับรองถึงความน่าเชื่อถือของข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ หากขาดเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดข่าวสารนั้นก็จะขาดความน่าเชื่อถือทันที่และไม่สามารถที่จะรับได้ โดยเฉพาะหากข่าวสารเหล่านั้นเกียวกับคำพูด การกระทำ การยอมรับ คุณลักษนะ และประวัติของท่านศานฑูต เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของศาสนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกันกรองมาอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 88380เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท