ความขัดแย้ง (Conflict) กรณีตัวอย่างที่ 2


เมื่อพี่เขาได้ยาสำหรับลูกที่ป่วยแล้ว (เหมือนเดิมทุกอย่าง) ก่อนออกไป ก็เดินไปหาน้อง จนท.ที่อยู่อีกห้องหนึ่ง โดยแกล้งพูดว่า “จ๊ะ ๆ หน่อยลูก (ไหว้) ขอบคุณน้าเขา” และแกพูดเองว่า “พี่ขอโทษนะ” ส่วนน้องเขาก็ออกมาจับเล่นกับเด็กว่า “ให้หายไว ๆ นะ” “ไม่เป็นไรครับพี่” “มีอะไรก็มาเรียกนะ”

     ต่อจากกรณีที่ 1 ความขัดแย้ง (Conflict)  ที่พอจะเป็นกรณีตัวอย่าง กรณีที่ 2 ได้อีกเรื่อง เอาเข้ามาใกล้ ๆ การจัดบริการสาธารณสุขของเราเสียหน่อย เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคราวผมทำงานได้ 1 ปี ก็มีรุ่นน้องจากผมถัดไป 6 เดือน มาบรรจุใหม่ที่สถานีอนามัยเดียวกัน วันที่เกิดเรื่องนั้นช่วงบ่ายผมออกไปติดตามเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามนัดหมาย 3 คน ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากสถานีอนามัยไป เพราะวันที่ให้บริการมีฝนตกเป็นพัก ๆ ก็จัดเตรียมวัคซีนไปด้วย เมื่อภารกิจเรียบร้อย และไม่ต่อเนื่องมากนัก (ไม่เหมือนการไปทำงานชุมชนอื่น ๆ ที่กะเวลาตายตัวไม่ได้) ผมจึงได้กลับมายังสถานีอนามัยเร็ว และได้พบกับเหตุการณ์ที่น้องที่กำลังถูกคนไข้ต่อว่าอย่างแรง เรื่องไม่ให้ยาแก้อักเสบกับเด็กที่ป่วยและแม่พามา ขณะนั้นหัวหน้าฯ ก็ไม่อยู่แล้ว

     ด้วยเพราะขณะนั้นมีโครงการ ARIC และมีการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขว่าไม่จำเป็นไม่ต้องให้ยาแก้อักเสบกรณีที่เด็กเป็นหวัด โดยให้ใช้แผนภูมิ ARIC ประกอบในการรักษาเด็กเป็นหวัดและเด็กอุจจาระร่วง กรณีนี้ญาติยืนยันว่าถ้าไปคลินิกหมอจะได้มาทุกครั้ง (เรื่องจริง) แต่ต้องเสียเงินเยอะ น้องเขายืนยันว่าให้ไม่ได้ เพราะเด็กน้ำมูกใส ไม่มีอาการปอดบวมด้วย

     ผมมาถึงก็ได้ยินเรื่องพอปะติดปะต่อได้ และขอช่วยให้น้องเขาไปลงทะเบียนเด็กที่ผมไปฉีดวัคซีนมา ซึ่งอยู่อีกห้องหนึ่ง แล้วบอกว่า “เดี่ยวพี่จะจัดการตรวจใหม่ให้” แม่ของเด็กก็พอใจ เนื่องจากรู้จักผมดีอยู่แล้ว และเชื่อถืออยู่บ้างแล้ว น้อง จนท.คนที่ทำงานกับผม (ขอไม่เอ่ยชื่อ) พอเข้าใจ ก็ได้เดินไปบนบ้านพัก ล้างกระติกวัคซีน เอาขยะไปทิ้ง ทำอย่างอื่นที่ไม่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ หรือจะพูดว่าออกไปจากเหตุการณ์นั้นเสียให้ห่าง ๆ จริง ๆ ถ้าที่กว้าง ๆ กว่าสถานีอนามัย น้องเขาควรหลบหน้าไปเลยจะดีมาก

     ผมตรวจเด็กใหม่ อธิบายผลเสียของยาแก้อักเสบ (ปฏิชีวินะ) ในระยะยาว แนะนำวิธีการที่ทำให้เด็กไม่คัดจมูก โดยการใช้วิธีให้หายใจห่าง ๆ พอได้กลิ่นเอาไอจากการต้มน้ำกับหัวหอมแดง การให้เด็กดื่มน้ำอุ่นเยอะ ๆ น้ำมูกจะไม่เหนียว หรือการเช็ดน้ำมูกโดยไม่ให้เด็กงอแง พร้อมทั้งสัญญาว่ามาเรียกตอนไหนก็ได้ เพราะผมนอนบ้านพัก และผมจะดูแลให้เป็นอย่างดี เอาน้ำเย็นเข้าลูบ เมื่อเห็นเขากลับสู่อารมณ์ปกติ ก็พยายามบอกเขาว่า น้องจนท.แม้จะเป็นคนที่จบมาใหม่ก็จริง แต่มีความสามารถมาก เก่งมาก ทำงานดี ใจเย็น ดูข้อมูล หรือ งานจัดบอร์ดหน้า สอ.เป็นตัวอย่าง นั่นเป็นฝีมือเขาทั้งนั้น แต่อาจจะยังพูดไม่เก่ง พี่ต้องให้เวลาน้องเขาบ้าง ต่อไปหากผมจะออกไปไหน ถ้าผมพาไปเสียด้วยแล้วใครจะอยู่อนามัย ใครจะคอยบริการพี่เวลาป่วย ทุกวันนี้เราไม่ต้องปิดอนามัย เพราะเราได้สลับกันอยู่ แล้วพี่จะทำให้น้องเขาไม่กล้าอยู่คนเดียวเหรอ

     เมื่อพี่เขาได้ยาสำหรับลูกที่ป่วยแล้ว (เหมือนเดิมทุกอย่าง) ก่อนออกไป ก็เดินไปหาน้อง จนท.ที่อยู่อีกห้องหนึ่ง โดยแกล้งพูดว่า “จ๊ะ ๆ หน่อยลูก (ไหว้) ขอบคุณน้าเขา” และแกพูดเองว่า “พี่ขอโทษนะ” ส่วนน้องเขาก็ออกมาจับเล่นกับเด็กว่า “ให้หายไว ๆ นะ” “ไม่เป็นไรครับพี่” “มีอะไรก็มาเรียกนะ”

     ก็เหมือนเดิม อยากให้น้อง Mr_Jod และเพื่อน ๆ ลองจับความรู้ แล้วบันทึกต่อท้ายไว้ดีไหมครับ จะได้ช่วยกัน discuss กันต่อ และเกิดเป็นแก่นความรู้ (Core Competence) จริง ๆ

หมายเลขบันทึก: 8828เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2005 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท