ประวัติศาสตร์ตัดตอน : เครื่องมือของรัฐและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ตอนจบ)


นี่เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ ที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่มันยังส่งผลถึงสถานการณ์และความเป็นไปของบ้านเมืองในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะมีส่วนกำหนดอนาคตที่เราจะฝันร่วมกันด้วย สิ่งที่ผมพยายามรวบรวม ก็คือว่า ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกทำให้เป็นเครื่องมือของตนเอง โดยมักจะตัดตอนบางส่วนของประวัติศาสตร์ มาสร้างให้เกิดความรู้สึกร่วมกันของคน และสร้างภาพให้กลัวคนอื่นที่แตกต่างจากเรา

รัฐปัตตานี หรือ ปตานี ได้ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีแทนชื่อ ลังกาสุกะ ใน พุทธศตวรรษที่ 18 โดยนักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ การเป็นราชอาณาจักรมลายู-อิสลามปตานี ระหว่างพ.ศ.2043-2351  การล่มสลายของอาณาจักรมัชปาหิต เมื่อ พ.ศ.2021 ทำให้นักการศาสนาอิสลามเผยแพร่แนวคิดของศาสนาอิสลามได้สะดวกมากขึ้น เมื่อ พ.ศ.2043 พญาอินทิรากษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีวังสา ทรงเปลี่ยนพระนามเป็นสุลต่านอิสมาอีล ซาฮฺ ซิลลุลลอฮฺ ฟิล อาลัม ต่อจากนั้นปตานีจึงเป็นที่รู้จัก และยอมรับกันในนามปตานีดารุสซาลาม หรือ ปตานี นครแห่งสันติภาพ

สำหรับประชาชนนั้น บางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามก่อนกษัตริย์ประมาณ 300 ปี การที่กษัตริย์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนั้น ทำให้ประชาชนสนใจที่จะเข้ารีดนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น การกลายเป็นอิสลาม ทำให้โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมมลายูที่แฝงไปด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิมของชวาและฮินดู-พุทธ เป็นสังคมมลายูที่เกาะติดกับวัฒนธรรมอิสลาม การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งเสริมให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้าน โดยเฉพาะการค้ากับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ และประเทศในยุโรป การปกครองปตานีนั้น มีราชวงศ์ที่ผลัดกันขึ้นครองอำนาจ คือ ราชวงศ์ศรีวังสา และราชวงศ์กลันตัน

 

อย่างไรก็ตาม ปตานีในยุคนี้ต้องเผชิญกับปัญหาการจลาจลภายใน และการรุกรานจากภายนอก ซึ่งเป็นสงครามระหว่างประเทศหลายครั้ง โดยเฉพาะกับสยาม ใน พ..1991-2031 ปตานีมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในปี พ..2054 โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู

ใน พ..2034-2072 พระราชาธิบดีที่ 2 ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วย ทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้าของพ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้น ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม         ใน พ..2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือประกอบด้วยเรือหย่าหยับ 200 ลำ ไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีแก่พม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป

ต่อมาใน พ..2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในระหว่าง พ..2231-2245 สมัยพระเพทราชา เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ..2301 ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี

               

เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์รัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2329 ที่สยามสามารถปราบปตานีได้สำเร็จ สงครามครั้งที่ 2 คือ เมื่อ พ.ศ.2334 ที่เป็นสงครามกอบกู้เอกราช แต่ก็ไม่สำเร็จ ในพ.ศ.2351 ก็เกิดสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง หลังการพ่ายแพ้ของปตานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีพระบรมราโชบายโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเมืองปตานีเป็นเจ็ดหัวเมือง

           

ในช่วงการตกอยู่ภายใต้การปกครองสยาม แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

± การเป็นหัวเมืองปตานี ระหว่างพ.ศ.2351-2444  หลังสงครามเมื่อ พ.ศ.2351 มีการแบ่งแยกหัวเมืองปตานี เป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ ราห์มัน สายบุรี หนองจิก แต่ละเมืองเป็นเมืองระดับ 3 ขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา เจ้าเมืองแต่ละเมืองต้องได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯ เมืองใดที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธก็ส่งเจ้าเมืองที่เป็นพุทธไปปกครอง และเมืองใดที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมก็ส่งเจ้าเมืองที่เป็นมุสลิมไปปกครอง

ในช่วงนี้ฝ่ายสยามได้ย้ายชาวพุทธเข้าไปอยู่ในหัวเมืองทั้งเจ็ด เพื่อสร้างสมดุลแห่งอำนาจ และป้องกันการคุกคามจากชาวพื้นเมืองที่ไม่พอใจสยาม ในช่วงนี้เกิดความขัดแย้งขึ้นหลายครั้ง ในพ.ศ.2374-2375 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดสงครามกอบกู้เอกราชปตานี โดยความร่วมมือจากหัวเมืองทั้งเจ็ดและสุลต่านอัหมัด ตาฌุดดีน แห่งเคดาห์ และได้รับการสนับสนุนด้านกำลังทหารจากเมืองกลันตันและตรังกานู

หลังสงครามครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ใน พ.ศ.2382 พระองค์ทรงบัญชาให้แบ่งไทรบุรี หรือ เคดาห์ ออกเป็น 4 เขต ได้แก่ เมืองเปอร์ลิส สตูล ไทรบุรี และกูบังปาสู ให้ขึ้นตรงต่อนครศรีธรรมราช และกษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองทุกคน ส่วหัวเมืองทั้ง 7 นั้น ก็ให้ขึ้นตรงต่อเมืองสงขลา

± การเป็นมณฑลปตานี ระหว่างพ.ศ.2444-2475  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.. 2435 เป็นต้นมา ได้จัดการปกครองเป็นแบบ 12 กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอมและทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมือง ทั้ง 7 หัวเมือง ในภาคใต้ทรงโปรดฯ ให้จัดแบ่งเป็น 4 มณฑล ได้แก่ มณฑลภูเก็ต จัดตั้งในปี พ.. 2437 มณฑลชุมพร จัดตั้งในปี พ..2439 มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งในปี พ.. 2439 มณฑลไทรบุรี จัดตั้งในปี พ.. 2440

มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมือง 10 เมือง โดยรวมเอาบริเวณ 7 หัวเมืองเข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ มีผู้ว่าราชการเมืองดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ปี พ.. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง 7 ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่ง จังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ จังหวัดยะลารวมเมืองรามันห์

นอกจากนี้ยังแยกท้องที่อำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรัง และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก 2 อำเภอ

คือ อำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระขึ้นกับจังหวัดปัตตานี

 ± การปกครองเป็นจังหวัด ระหว่าง พ.ศ.2475-ปัจจุบัน  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.. 2475 รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.. 2476 เป็นต้นมา

จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด มีพระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว

ใน พ.. 2499 และ 2505 และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2476 มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก การเลือกตั้ง ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และไม่มีผู้ที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ในพ..2480 และ พ.. 2481 ที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งทั้งหมด

ด้านความขัดแย้งต่างๆ นั้นก็ยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการศึกษาภาคบังคับ การใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่างๆโดยเฉพาะระหว่างปี พ.. 2482 – 2485 ชาวมลายูมุสลิมมีความไม่พอใจมากขึ้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศใช้นโยบาย รัฐนิยม เพราะนโยบายหลายข้อขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูมุสลิม

ในปี พ.. 2491 หะยีสุหลงถูกรัฐบาลไทยจับกุม ความตึงเครียดระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับรัฐบาลไทยจึงปะทุขึ้น มีการปราบปรามและปะทะกันด้วยอาวุธ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน รัฐบาลไทยเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า กบฏดุซงยอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับพันคนอพยพลี้ภัย บางส่วนไปอาศัยอยู่อย่างถาวรในรัฐต่างๆ ตอนบนของสหพันธรัฐมาเลเซีย

ผลกระทบที่สืบเนื่องต่อมา คือความรู้สึกต่อต้านและความหวาดระแวงต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้นำชาวมุสลิม บางครั้งก็มีการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่าย การต่อต้านรัฐได้ปรากฏเป็นขบวนการเคลื่อนไหวชัดเจนขึ้นทันที เมื่อผู้อพยพจากเหตุการณ์ที่ปัตตานี ระหว่าง พ.. 2490 – 2491 ได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่งจัดตั้ง ขบวนการประชาชาติมลายูปัตตานีหรือ GAMPAR (Gabogan Melayu Pattani Raya) มีศูนย์กลางอยู่ที่โกตาบารู และมีเครือข่ายในกลันตัน เคดะห์ สิงคโปร์ และปีนัง ส่วนที่ปัตตานีมีการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวปัตตานี หลังจากนั้นในปี พ.. 2502 ได้มีการรวบรวมผู้นำและสมาชิกจากปัตตานีและ GAMPAR จัดตั้งเป็นขบวนการใหม่ คือ ขบวนการแนวหน้าแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยปัตตานี หรือ BNPP (Barisan National Pembebasan Pattani)

ปี พ.. 2503 มีการจัดตั้งขบวนการปฏิวัติแห่งชาติหรือ BRN (Barisan Revolusion Nasional) มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องบริเวณเขตรอยต่อชายแดนไทย มาเลเซียแถบจังหวัดยะลา และสงขลา ในพ.ศ.2511 มีขบวนการปลดแอกสาธารณรัฐปัตตานี หรือ PULO (Pattani United Liberation Organization) เกิดขึ้น องค์กรนี้มีบทบาทสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว มีการโฆษณาผลงานปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ จนได้รับความเชื่อถือจากองค์กรในต่างประเทศที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (PKT : Parti Komunis Thailand) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมลายา (PKM : Parti Komunis Malaya) เคยมีบทบาทเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มีหลักฐานชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และยุยงให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล

ในช่วง พ.. 2516 ขบวนการนักศึกษามีบทบาทโดยตรงต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวร่วมสหพันธ์นักศึกษามุสลิมเป็นแกนนำสำคัญ หนังสือพิมพ์เสียงนิสิต (SUARA SISWA) เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อการเผยแพร่อุดมการณ์ของแนวร่วมนักศึกษามุลิมในยุคนั้น โดยมีหัวหน้ากองบรรณาธิการในขณะนั้นดำเนินการอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนที่โกตาบารู รัฐกลันตันได้มีการรวมตัวจัดตั้งขบวนการ GIP (Garakan Islam Pattani) หรือพรรคอิสลามก้าวหน้าแห่งปัตตานี ขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซีย

การเคลื่อนไหวก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ที่มีอยู่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนบทบาทของอุดมการณ์ที่มาจากประเทศในตะวันออกกลางและการฟื้นฟูสำนึกในอิสลาม รัฐบาลไทยเคยใช้นโยบายปฏิบัติการทางทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันไปกับการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์และทัศนคติระหว่างข้าราชการกับชาวมุสลิมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์ประสานงาน และดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

ในช่วง พ.ศ.2545 รัฐบาล โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาระดับพื้นที่ ที่ไม่ได้รุนแรงถึงระดับการแบ่งแยกดินแดน จึงได้ยุบ ศอ.บต. และใช้การบริหารงานแบบบูรณาการ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) แทน ต่อมาในต้นปี 2547 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คืนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 มีการปล้นอาวุธปืนในค่ายทหารในจ.นราธิวาส การสังหารเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการต่อสู้กันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มคนร้าย ในเหตุการณ์วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2547 ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานีและอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดสงขลา มีผู้เสียชีวิต จำนวน 108 ศพ เหตุการณ์สำคัญอยู่ที่มัสยิดกรือเซะ และการชุมนุมประท้วงของประชาชน เพื่อทวงถามถึงผู้ต้องหาที่ถูกตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบจับกุมตัวไป จนมีการสลายกรชุมนุม และจับกุมตัวผู้ชุมนุมไปนับพันคน และระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมจำนวนมากนั้น ทำให้ผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ จนเสียชีวิตไป 86 ศพ ต่อมารัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) และปัจจุบันหลังการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัฐป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต.

นี่เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ ที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่มันยังส่งผลถึงสถานการณ์และความเป็นไปของบ้านเมืองในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะมีส่วนกำหนดอนาคตที่เราจะฝันร่วมกันด้วย สิ่งที่ผมพยายามรวบรวม ก็คือว่า ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกทำให้เป็นเครื่องมือของกลุ่มตนเอง โดยมักจะตัดตอนบางส่วนของประวัติศาสตร์ มาสร้างให้เกิดความรู้สึกร่วมกันของคนในขบวนการ และสร้างภาพให้กลัวคนอื่นที่แตกต่างจากเรา 

สันติภาพคงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากคนในชาติยังยึดประวัติศาสตร์ของตนเองเป็นสรณะ ไม่ได้ฝันร่วมกันว่าเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรในอนาคต หากจะเปลี่ยนจาก ปัตตานี : ดินแดนแห่งอาณาจักรลังกาสุกะ ที่ไม่โหยหาอดีต และเปลี่ยนเป็น ปัตตานี: ดินแดนแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ให้เป็นภาพแห่งอนาคตที่เรากำหนดได้ น่าจะดีกว่า ส่วนผู้ก่อความไม่สงบจะเปลี่ยนมาใช้วิสัยทัศน์เดียวกันก็คงดีไม่น้อยนะครับ  

บรรณานุกรม

สุจิตต์ วงษ์เทศ (มปพ) ประวัติศาสตร์ไทย ไล่ฆ่าแขก สาระสังเขปออนไลน์ ค้นคืนวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2548 จาก http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod.php?sectionid=0303&searchks=''&sk=''&s_tag=03col07011147&day=2004/11/01&show=1 

รัตติยา สาและ.(2547) ปตานี ดารุสสะลาม (มลายู-อิสลาม ปตานี) สู่ความเป็น จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส”. ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ(บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์ ปกปิดของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐปัตตานีใน

หมายเลขบันทึก: 88130เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มาทักทายก่อนครับ ... ยังไม่มีเวลาพอที่จะอ่านบันทึกครับ
  • แต่เรื่องราวน่าสนใจมาก  เดี๋ยวจะกลับมาอ่านนะครับ  อ.หนุ่ม
เชิญแนะนำได้ตามอัธยาศัยครับ

จุใจ จุใจจริงๆครับ สำหรับประวัติศาสตร์ปัตตานีที่เชืื่อมโยงสู่บัจจุบัน

ขอบคุณ อาจารย์ภีรกาญจน์ มากครับ 

ขอบคุณครับ ยาวไปหน่อยครับ แต่หากศึกษาดูแล้ว เราจะพบพื้นที่นี้เต็มไปด้วยพลวัตรมาอย่างต่อเนื่อง และเราจะเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้นด้วยครับ

ว้านึกว่าผู้เชี่ยงชาญเรื่องตานี คนไหน น้องหนุ่มเรานี่เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท