โรคอาหารเป็นพิษ



      ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด (โดยเฉพาะจังหวัดตากของเรา) อาจทำให้เกิดโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคท้องร่วง ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ จึงควรดูแลสุขภาพอนามัย ระมัดระวังการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม เอจะได้ปลอดภัย ห่างไกลความเจ็บป่วย    

 โรคอาหารเป็นพิษ

สาเหตุของการเกิดโรค

     เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียหรือสารพิษ (toxin) ที่สร้างจากตัวแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้อาจเกิดจากสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือพิษจากธรรมชาติ เช่น เห็ด เชื้อรา เป็นต้น   มักพบในอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จากเนื้อสัตว์ ไข่ นมที่ปนเปื้อนเชื้อรวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นอกจากนี้ยังพบในอาหารที่ค้างและไม่ได้แช่เย็น ซึ่งถ้าก่อนรับประทานไม่อุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนก็อาจทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้

อาการของโรค

     โรคอาหารเป็นพิษมักจะเกิดอาการตั้งแต่หนึ่งชั่วโมงถึง 8 วันหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป มักจะพบว่าในหมู่คนที่กินอาหารร่วมกันจะมีอาการพร้อมกันหลายคน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคลและปริมาณที่กิน

     อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน ตามด้วยอาการมีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วงมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อนจนถึงรุนแรงอาจถ่ายมีมูกเลือดปนได้

รู้จักอาหาร รู้จักป้องกัน

     มารู้จักวิธีสังเกตและป้องกันตนเองจากอาหารที่อาจเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ โดยแยกอาหารออกเป็น ประเภทดังนี้

อาหารประเภทแป้ง

อาหารประเภทแป้ง ได้แก่ ข้าวผัด ขนมจีน ขนมปัง ขนมเอแคร์ ฯลฯ เป็นต้น ที่ปรุงทิ้งไว้นานหรือหมดอายุ อาจจะมีสารพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

การป้องกัน

  • ขนมจีน ควรนึ่งก่อนรับประทาน
  • ขนมปัง ขนมเอแคร์และเบเกอรี่ต่าง ๆ ควรเลือกรับประทานใหม่ ๆ ไม่หมดอายุ ไม่มีรา
  • ควรเก็บอาหารที่ยังไม่รับประทานไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 Ċ
  • ข้าวกล่องและอาหารที่เตรียมสำหรับคนจำนวนมาก ไม่ควรเตรียมไว้นานข้ามมื้อควรเน้นความสะอาดเวลาปรุงและเลือกรายการอาหารที่ไม่บูดง่าย
  • ข้าวผัดปู ควรนึ่งเนื้อปูเพื่อฆ่าเชื้ออีกครั้งก่อนใส่ในข้าวผัด

อาหารทะเล 

อาหารทะเล เช่น ปลาหมึก กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เตรียมไม่สะอาด ปรุงไม่สุกหรือปรุงสุกไม่ทั่วถึงกัน อาจจะมีเชื้อแบคทีเรียก่อโรคหลายชนิด

การป้องกัน

  • อาหารทะเลควรเลือกซื้อที่สดและสะอาด
  • รับประทานอาหารทะเลที่มั่นใจว่าปรุงสุก
  • หอยแมลงภู่ควรดึงเส้นใยออกรับประทาน
  • ปูเค็ม ปูดอง และหอยแครง ควรทำให้สุกก่อนรับประทาน
  • ไม่ควรวางอาหารที่ปรุงสุกปะปนกับอาหารดิบ

อาหารประเภทเนื้อสัตว์

อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อทุกชนิด เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ รวมทั้งนมและไข่ ซึ่งมักปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคหลายชนิด

การป้องกัน

  • ควรแยกเขียงที่ใช้กับอาหารดิบและอาหารสุก
  • เลือกซื้อเนื้อ นม และไข่ที่สดและสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสอาหารโดยตรง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อลงในอาหาร ทั้งนี้รวมทั้งผู้จำหน่ายผู้ปรุงและผู้บริโภค
  • ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดมีดเขียง ที่วางเนื้อสัตว์จำหน่าย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทเนื้อที่สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย

น้ำดื่ม 

น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตแต่ในขณะเดียวกันหากบริโภคน้ำ หรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาดและปลอดภัยเพียงพออาจทำให้ป่วยด้วยโรคอุจจาระจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนได้

การป้องกัน

  • ดื่มน้ำต้มสุก
  • ควรบริโภคน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
  • เลือกรับประทานน้ำแข็งที่สะอาดไม่มีตะกอน
  • ไม่ควรดื่มน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงที่ยังไม่ผ่านการบำบัด
  • ผักและผลไม้  

ผัก ผลไม้ อาจมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่หรืออาจมีเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและ/หรือไข่พยาธิปนอยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังมีเห็ดพิษที่บริโภคไม่ได้

การป้องกัน

  • เลือกซื้อผัก ผลไม้ที่สดสะอาด ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ก่อนนำมารับประทาน โดยการเด็ดใบ คลี่ใบล้างผ่านน้ำให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบ
  • เลือกซื้อและรับประทานเห็ดที่ไม่เป็นพิษและเห็ดที่รู้จักจริงเท่านั้น

อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ผักกระป๋อง แกงกระป๋องผลไม้กระป๋องที่เก็บไว้นาน ๆ จนเป็นสนิมหรือกระป๋องบุบ หากนำมาปรุงรับประทานอาจทำให้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องที่หมดอายุหรือกระป๋องเป็นสนิม บุบบวมหรือโป่งพองออกมา
  • เลือกซื้ออาหารที่บรรจุในกระป๋องที่สภาพดีควรดูวันหมดอายุทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน
  • อุ่นอาหารให้เดือดเพื่อทำลายสารพิษ

รักษาอาการเบื้องต้น  

ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ มักมีการอาเจียนเป็นอาการเด่น การรักษามักรักษาตามอาการ คือ

-ถ้าผู้ป่วยยังพอรับประทานได้ ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่

-ถ้าอาเจียนมาก รับประทานไม่ได้ ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ ควรนำส่งโรงพยาบาล

                            

ที่มา : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

หมายเลขบันทึก: 88093เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แม่หนูป่วยอยู่จะลองนำวิธีที่บอกไปใช้ดูนะคะ

ของคุณครับผมทำงานเสร็จเลยดีจัยมากๆครับมีอะรัยแอดเมลมาคุยได้คับ

ขอบใจที่บอก

-*-

กวนตี้ โรจน์  แช้มป์  ทุ่ง  นัท 

โรงเรียนวัดคลองโป่ง (ธรรมภาณบำรุ่ง) จาก คนที่รักโรงเรียน มากๆ โรงเรยนวัดคลองโป่ง ได้ไป ทะเล จังหวัดกรุงเทพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท