การจัดอบรมตรงกับความตัองการจริงหรือ?


ความต้องการฝึกอบรม และพัฒนาของบุคลากรในภาครัฐ

....เมื่อวานนี้ (29 มี.ค.50) ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปคุยเรื่องแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของคณะแพทยศาสตร์ กับท่านรองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนา (ผ.ศ.ศิริเกษม  ศิริลักษณ์)  ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้เขียนเอง...อะแฮ่ม ๆ ...บางท่านอาจจะคิดว่าเวลาก็ล่วงเลยมาครึ่งปีงบประมาณแล้วทำไมเพิ่งมาวางแผนกัน

....ต้องบอกว่าจริง ๆ  แล้วก็เป็นการคุยเกี่ยวกับงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในเวลาที่เหลืออีก  6  เดือนนี้....สิ่งที่วางแผน ก็คือ เราจะเข้าไปทำงานเชิงรุกเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คณะแพทยศาสตร์เองมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารงานในคณะใหม่

...ตัวผู้เขียนเองจากเดิมที่ทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ตอนนี้ก็ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรทั้งหมดของคณะแพทย์ ซึ่งก็เป็นงานหนักพอสมควร..แต่โชคดีที่มีทีมที่เข้มแข็งคาดว่าตัวเองจะทำงานได้สำเร็จตามที่ได้วางแผนไว้ อย่างน้อยใน  6  เดือน เราก็มีแผนแล้ว 

....งานหลัก ๆ ที่ HRD อย่างเราต้องทำก็จะมีอยู่ประมาณ 3  เรื่อง  ด้วยกัน ก็คือ 1. งานด้านการฝึกอบรมและพัฒนา   2. งานด้านพัฒนาอาชีพ  และ 3. ทางด้านการพัฒนาองค์การ  

.......สำหรับเรื่องการฝึกอบรมและพัฒนานั้นก็เป็นงานแรกที่เราสามารถทำต่อไปได้เลย หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่นี้  แต่สิ่งสำคัญที่คิดว่ายังเป็นจุดอ่อนก็คือ เรื่องของการวิเคราะห์หาความต้องการการ ฝึกอบรมและพัฒนาของบุคลากรอย่างแท้จริง....ซึ่งผู้เขียนเองแม้จะเคยมีประสบการณ์ (อันน้อยนิด) ในการทำงานด้าน HRD ในองค์การในภาคเอกชนมาบ้าง..แต่สำหรับในภาครัฐนั้นมันเป็นเรื่องที่ตนเองรู้สึกว่ายากจริง ๆ เพราะมีข้อจำกัดอยู่หลายประการด้วยกัน...สำหรับท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างคะ...            

คำสำคัญ (Tags): #traing needs#training
หมายเลขบันทึก: 87554เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับน้องวันดี
  • น้องเคยผ่านการฝึกอบรม TOT มาก่อนหรือเปล่าครับ  เอาเอาว่าน่าจะผ่านแล้วนะครับ
  • การทำงานด้านนี้ต้องเป็นคนมีบุคลิคพิเศษ คือมีประสบการณ์บ้าง มีพื้นฐานการจัดการด้าน HRD มีความกระตือรือล้นที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ไขว่คว้าประสบการณ์จากที่อื่นมากๆ เป็นนักแสดงไปในตัว ช่างพูด และพูดมีหลักการ มีอารมย์ขัน มีมุข และ ฯลฯ
  • น้องคงจะบอกว่าโอยเอาเทวดามาทำดีมั๊ยเนี่ยะ  ไม่หรอกครับเราเรียนรู้ได้ และเรารู้ตัวเราเองว่าเราถนัดอะไรไม่ถนัดอะไร หากไม่ถนัดอะไรและคิดว่าฝืนเต็มที่แล้วก็ต้องหาคนอื่นที่ถนัดด้านนี้มาช่วยครับ
  • การทำงานภายใต้ระบบราชการนั้นมีข้อจำกัดมากกกก
  • เอาไว้เอารายละเอียดมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ  พี่พอมีประสบการณ์บ้างครับ
  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณค่ะ แล้ววันหน้าจะไปขอคำแนะนำดี ๆ แน่นอนค่ะ

 

การพัฒนาบุคลากรมีเครื่องมือช่วยหลายเรื่องครับ ขอแชร์ข้อมูลเป็นตัวอย่าง ดังนี้ครับ

การกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยพิจารณาสามองค์ประกอบพร้อมๆ กัน คือ Structure - System - People

โครงสร้าง คือ ดูว่าโครงสร้างองค์กร-ผังบริหาร-อำนาจหน้าที่-อำนาจการสั่งการ  ฯลฯ ทำให้คนมี"ศักยภาพ" ในการพัฒนาตนเองได้มากมายเพียงใด  มีจุดไหนที่ต้องปรับเพื่อให้คนมีการพัฒนาขีดความสามารถมาก  ตัวอย่างเช่น โครงสร้างการบริหารปัจจุบันได้มีการกำหนดให้มีผังบริหารที่ผู้ปฏิบัติงานที่เป็น front line เช่น พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต้องมีการรายงานกับ ตำแหน่ง xxx  เมื่อเกิดอะไร...  เสมอ ๆๆ โดยไม่มีการคิดที่จะปรับโครงสร้าง เพื่อให้ไม่จำเป็นต้องรายงานก็ได้  ซึ่งก็จะช่วยให้การพัฒนาตนเองของพยาบาลมีขีดความสามารถมากขึ้นในความรับผิดชอบ..อะไรซักอย่าง

System ระบบงาน...การพัฒนาบุคลากรชัดเจนไหมว่า ใครต้องมี Competency อย่างไร และวิธีการพัฒนาจะทำอย่างไร อันนี้ไม่ต้องอธิบายมาก

People คน .. ถ้ามองสามด้านตามหลัก Competency ก็ไล่ดูเลยว่า  Knowledge, Skill , Attribute  เป็นไงมั้ง ที่สำคัญนะผมเห็นว่างานด้านการรักษาพยาบาลในภาครัฐต้องดู Attribute ในเรื่อง Service mind และ วัฒนธรรมด้าน learning

ร่วมด้วยช่วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท